สสว.ร่วมกับ มช. จับมือกลุ่มผู้ประกอบการเหนือ ผลักดัน SME ให้เกิดขีดความสามารถ ในการแข่งขันระดับสากล

วันที่ 7 สิงหาคม 2563 นายวชิร แก้วกอ ฝ่ายประสานงานเครือข่ายผู้ใช้บริการ SME รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานข้อมูลและสถานการณ์, ดร.ภคินี อริยะ รักษาการรองผู้อํานวยการฝ่ายปฏิรูปธุรกิจ ศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผศ.ดร.นภาพร รีวีระกุล รองคณบดีฝ่ายนโยบายและปฏิรูปองค์กรวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับเปิดงาน shopping in the raun season 2 ที่เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่

โดยการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการในปีนี้ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 สสว. จะมุ่งเน้นการเข้าถึงเงินทุน การลดค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการขยายช่องทางการตลาด สสว.Connext ซึ่งงาน shopping in the raun season 2 ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกลไกตลาดของ สสว. ซึ่งจัดทำผ่านโครงการ จำนวน 3 โครงการ ในปีงบประมาณ 2563

1.โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ให้สามารถสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจได้ 2. โครงการยกระดับธุรกิจผู้ประกอบการใหม่ มุ่งเน้นการยกระดับผู้ประกอบการ โดยการนำเทคโนโลยีงานวิจัยนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยมาปรับใช้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาและยกระดับธุรกิจผู้ประกอบการ และ 3. โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเอสเอ็มอีเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ด้วยการอบรมให้ความรู้ การถ่ายภาพสินค้าให้มีความน่าสนใจ การเปิดร้านค้าออนไลน์ผ่าน Platform E-Marketplace และกิจกรรมนำร่องระบบตัวแทนดูแลผู้ประกอบการ ฯลฯ

ดร.ภคินี อริยะ รักษาการรองผู้อํานวยการฝ่ายปฏิรูปธุรกิจ ศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boost up New Entrepreneurs) กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศูนย์วัฒนธรรมและการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ปีงบประมาณ 2563 2. โครงการยกระดับธุรกิจผู้ประกอบการใหม่ ปีงบประมาณ 2563 และ 3. โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ SME ปีงบประมาณ 2563

โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้คือ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการได้ทดสอบตลาดนำเสนอโมเดลธุรกิจ และเจรจาธุรกิจกับบริษัทคู่ค้า เพื่อเชื่อมโยงสินค้า และธุรกิจของผู้ประกอบการกับคู่ค้า รวมถึงแหล่งเงินทุน

ด้าน ผศ.ดร.นภาพร รีวีระกุล รองคณบดีฝ่ายนโยบายและปฏิรูปองค์กรวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี นอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตบัณฑิต และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามความต้องการของอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อสนับสนุนกลุ่มแข่งขันอุตสาหกรรม และสนับสนุนการจัดทำระบบจัดการความรู้ เพื่อการเรียนรู้ และช่วยตัดสินใจต่อองค์กรขนาดใหญ่ กลุ่มแข่งขันที่เกี่ยวข้องและชุมชน ทั้งนี้เพื่อรองรับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนือ โดยมีศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้เป็นศูนย์กลาง ในการเชื่อมต่อระหว่างวิทยาลัยศิลปะสื่อ และเทคโนโลยี และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐ และเอกชน ผลักดันและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดโดยให้บริการด้านต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านการจัดการความรู้ การพัฒนาดิจิตัลคอนเทนท์ และแอนิเมชั่น การบ่มเพาะธุรกิจและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น

ทั้งนี้ภายใต้การดำเนินงาน 3 โครงการของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ปีงบประมาณ 2563 2.โครงการยกระดับธุรกิจผู้ประกอบการใหม่ ปีงบประมาณ 2563 และ 3.โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปีงบประมาณ 2563

ร่วมแสดงความคิดเห็น