สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่าย 4 ภูมิภาค แถลงการณ์การปฏิรูปครูยุคใหม่

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2563 ดร วีระบูล เสมาทอง ประธานสมาพันธ์สมาคมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้นำองค์กรวิชาชีพ 4 ภูมิภาค ภาคเหนือนำโดยนายธีระศักดิ์ สุวรรณปัญญา ประธานสหพันธ์ครูภาคเหนือ ดร สุเทพ ปาลสาร ผอ.สพป.แพร่ เขต 2 และนายชาญณรงค์ จันทร์ป้อม นายกสมาคมครูแพร่พร้อมผู้แทนสมาคมองค์การวิชาชีพ เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การปฏิวัติการศึกษาไทย ด้วยกลไกทางกฎหมายการศึกษา” จัดโดย กรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องประชุมคุรุสภา กรุงเทพมหานคร

โดยในวันนี้ สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) และองค์กรเครือข่าย 4 ภูมิภาคเรื่อง การปฏิรูปครูยุคใหม่: วิชาชีพชั้นสูง มาตรฐานสูง และคุณภาพสูงคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรได้จัดประชุมสัมมนา เรื่อง ปฏิวัติระบบการศึกษาไทยด้วยกลไกกฎหมายในวันที่ 15 สิงหาคม 2563 ณ หอประชุมคุรุสภา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิวัติการศึกษาไทย

สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) และองค์กรเครือข่าย 4 ภูมิภาค ในฐานะองค์กรน่าได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้ เราขอสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานในหน้าที่หลักของคณะกรรมาธิการ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของชาติ คาดว่าผลสรุปจากการจัดประชุมจะนำไปสู่เป้าหมาย คือ การปฏิวัติระบบการศึกษาไทยด้วยกลไกของกฎหมายต่อไป 23 ตุลาคม 2562 สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) ได้จัดประชุม ณ หอประชุมคุรุสภา กรุงเทพมหานคร มีมติเป็นเอกฉันท์ ที่จะดำเนินการร่วมกับองค์กรเครือข่ายทุกองค์กร 4 เรื่องสำคัญ คือ1) ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่ง คสช. ที่ 19/2560โดยให้กระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษา และให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล๒) ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 เรื่อง การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก๓) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการให้มีการสรรหาคณะกรรมการคุรุสภา/สกสค. ตามมาตรา 22 และมาตรา 64แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546โดยเร็วที่สุด) ให้นำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ นำมาปรับปรุงใช้แทนกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(แทนคำสั่ง คสช. ทุกฉบับ)

บัดนี้ระยะเวลาล่วงเลยมา 288 วันแล้ว การดำเนินการตามมติดังกล่าวมีความคืบหน้าโดยลำดับ กล่าวคือ ได้ผลักดันให้เสนอ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ…… ขณะนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาแล้วการให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี 7ตุลาคม 2562 เรื่องการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กได้มีการผ่อนปรนโดยการยุบรวมให้เป็นไปตามความเหมาะสม และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในเขตบริการเป็นหลัก/กรณีการสรรหากรณีการสรรหาคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการ สกสค.รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบยังเพิกเฉย มุ่งกระทำการที่อาจขัดกับกฎหมายหลายประการ ซึ่งองค์กรฯ ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดและเรียกร้องให้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ในส่วนของมติข้อ 4เมื่อผู้มีหน้าที่และอำนาจจัดทำกฎหมายไม่ฟังเสียงจากครู องค์กรวิชาชีพครูจึงลุกขึ้นคัดค้านและต่อต้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…… ของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ซึ่งถือเป็นร่างกฎหมายอัปยศ ที่มีเจตนาจะยกเลิกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ลดตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นครูใหญ่ และคิดวางกลไก ล้มล้างสภาวิชาชีพครู ผลการคัดค้านประสบผลสำเร็จเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้จำหน่ายร่างกฎหมายนี้ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเสนอออกจากสารบบ(ตามหนังสือของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร.0906/96 ลว.2 กรกฎาคม 2563) รัฐบาลจึงต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 261 ดังนั้น การผนึกกำลังเพื่อคัดค้านต่อต้านกฎหมายที่อยุติธรรมต่อผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจึงเป็นหน้าที่และจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปอย่างเข้มข้น

“…ลุกขึ้นสู้ !!ก็เป็นไทย ยอมต่อไปก็เป็น “ทาส” !…”สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) และองค์กรเครือข่ายขอประกาศเจตนารมณ์เพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อปวงชนชาวไทยโดยครู“วิชาชีพชั้นสูง” เราจะคงไว้ซึ่งการสร้างหลักประกันความเชื่อมั่นต่อประชาชนและสังคมที่จะปฏิรูปครูยุคใหม่ 3 สูง คือ 1) วิชาชีพครูต้องเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ควบคุมโดย สภาวิชาชีพครู“คุรุสภา”เช่นเดียวกับ แพทยสภา สภาวิศวกร และสภาทนายความ 2) วิชาชีพครูต้องมีมาตรฐานสูงทั้งมาตรฐานวิชาชีพครู และมาตรฐานคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ 3) วิชาชีพครูต้องมีคุณภาพสูงมีตำแหน่งและวิทยฐานะมั่นคง เช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงทุกวิชาชีพในสังคมการปฏิรูปครูยุคใหม่ (3 สูง) จะเป็นหมุดหมายแห่งเจตนารมณ์ของทุกองค์กรวิชาชีพครูในที่ประชุมแห่งนี้

ดังนั้น การกำหนดสารบัญญัติ และบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษาทุกฉบับที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าจะต้องคำนึงถึงคำประกาศเจตนารมณ์ฉบับนี้เป็นสำคัญ วิชาชีพครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมีตำแหน่ง เงินเดือน วิทยฐานะ ที่มั่นคงเทียบเท่าหรือดีกว่าที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันการศึกษาที่มีคุณภาพแก่ปวงชนชาวไทย การเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือน จงใจทำลายเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับคำประกาศนี้ องค์กรวิชาชีพครูจะลุกขึ้นต่อสู้และคัดค้านให้ถึงที่สุด ดั่ง อมตะวาจา ““เมื่อความอยุติธรรมกลายเป็นกฎหมาย การลุกขึ้นต่อต้านก็เป็นหน้าที่…When injustice becomes law,resistance becomes duty…”Thomas Jefferson

ร่วมแสดงความคิดเห็น