เปิดเวทีระดมความคิดเห็น ปรับผังเมือง ‘รวมเมืองลำพูน’ วันที่ 3 ก.ย.นี้

สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.ลำพูน กรมโยธาธิการฯ แจ้งว่า ได้ปิดประกาศผังเมืองรวมเมืองลำพูน ให้ประชาชนได้ตรวจสอบ โดยผู้อยู่อาศัย หรือมีที่ดิน หรือมีส่วนได้เสียอื่น ๆ ในท้องที่ ต.หนองช้างคืน, ต.อุโมงค์, ต.บ้านกลาง, ต.เหมืองง่า, ต.ประตูป่า, ต.มะเขือแจ้, ต.ริมปิง, ต.ในเมือง, ต.บ้านแป้น, ต.ต้นธง, ต.เวียงยอง, ต.ศรีบัวบาน, ต.ป่าสัก, ต.หนองหนาม, ต.เหมืองจี้ และ อ.เมืองลำพูน

ตามแผนที่จะวางและจัดทำผังเมืองลำพูน ฉบับปรับปรุงครั้งนี้ ซึ่งจะขยายเขตผังเต็มทั้งอำเภอเมืองลำพูน จะมีผัง
เมืองรวมที่เกี่ยวข้องแก้ไข เปลี่ยนแปลง 3 ผัง ได้แก่ ผังเมืองรวมเมืองลำพูน พ.ศ.2555 ผังเมืองรวมจังหวัดลำพูน พ.ศ.2560 และ(ร่าง) ผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้ ให้ไปตรวจสอบแผนผังการจัดวางใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท, แผนผังแสดงที่โล่ง, โครงการคมนาคมขนส่ง กิจการสาธารณูปการและบริการสาธารณะอื่น ๆ พร้อมข้อกำหนดใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้ที่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท. )ตามท้องที่ ซึ่งผู้นำชุมชนแจ้งรายละเอียด หรือที่ศาลากลางจังหวัด, อบจ.ลำพูน, สำนักงานเทศบาล ตามรายละเอียดที่กล่าวมาตั้งแต่บัดนี้จนถึง 1 ก.ย. 2563 จากนั้น สำนักงานฯ จะมีการเปิดเวทีประชาคม รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ จากประชาชนผู้เกี่ยวข้องในข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับการจัดวางผังเมืองรวมครั้งนี้ ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุม อ.เมืองลำพูนทั้งนี้ในการจัดทำผังเมืองรวมจ.ลำพูน ครั้งนี้พบว่ามีการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น จากประเภทที่อยู่อาศัยหนา
แน่นน้อย (สีเหลือง )เป็นหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม ) บริเวณเทศบาลเมืองลำพูน บริเวณฟากตะวันออกของทางรถไฟ ด้านเหนือสถานีรถไฟลำพูนและฟากตะวนตกของ ทล.106 เป็นต้นสำหรับผังเมืองรวมเมืองลำพูน ฉบับที่ 1 บังคับใช้เมื่อ 25 ธ.ค. 2531 มีการปรับปรุงเป็นฉบับที่ 2 บังคับใช้เมื่อ 29
ส.ค. 2540 พื้นที่วางผังกว่า 58 ตร.กม. ฉบับที่ 3 บังคับใช้เมื่อ 1 มิย.2555 พื้นที่วางผัง 103.35 ตร.กม. และสืบเนื่องจาก จ.ลำพูน  โดยเฉพาะเขตเมืองและบริเวณตำบลใกล้เคียง ตลอดจนอำเภอหลาย ๆ แห่งที่มีความเจริญ มีแผนพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขผังเมืองรวม ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ให้รองรับอนาคต สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะบริเวณเทศบาลต.ป่าสัก และเวียงยอง บริเวณเครือสหพัฒน์ จากเดิมเป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ก็มีการเปลี่ยนเป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง ) จากการสอบถามความคิดเห็นเบื้องต้น จากประชาชนชาวลำพูน ในเขตเมืองลำพูน พบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการ
ปรับปรุงผังเมือง เพราะจะเอื้อต่อการลงทุน พัฒนาจังหวัด เนื่องจากบางพื้นที่เกษตรกรรมทุกวันนี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งกระจาย หากไม่มีการออกกฎระเบียบเข้าไปจัดการประเภทการใช้ประโยชน์อาจส่งผลต่อการลงทุน ต่อทิศทางการพัฒนาความเจริญ ขณะเดียวกันจะง่ายต่อการจัดการปัญหาชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วยในขณะที่ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะเมืองลำพูน เป็นเมืองเก่าแก่ การเปลี่ยนแปลงผังเมืองรวมที่เอื้อต่อการลงทุนการใช้ประโยชน์ที่ดิน จะทำให้เสน่ห์วิถีชนบท เมื่อต่างจังหวัด ความเป็นเมืองบุญหลวงที่เงียบสงบ กลายเป็นเมืองที่มีการลงทุนมากมาย หลากหลายจนยากจะควบคุมทิศทางการขยายตัวของเมือง จะไม่แตกต่างจากเชียงใหม่หรือเมืองใหญ่ ๆ ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันเฉพาะเขตบ้านกลาง เขตนิคมอุตสาหกรรมก็น่าจะเป็นตัวอย่างของเมืองได้เด่นชัด

ร่วมแสดงความคิดเห็น