กรมชลฯ สับขาหลอกผุดเขื่อนแก่งเสือเต้น ชูแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

เมื่อวันทึ่ 30 สิงหาคม 2563 บริเวณลานด้านหน้าเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก เจ้าพ่อหอแดง ขื่อเมืองทางทิศใต้ ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลา 09.00 น. นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการการคัดค้านการสร้างเขื่อน พร้อมผู้นำชุมชนได้นำกลุ่มชาวบ้านตำบลสะเอียบจำนวนกว่า 500 คน นัดรวมตัวประกาศเจตนาร่วมกันค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น พร้อมเสนอทางออกของโครงการสะเอียบโมเดลที่ส่อมีผลกระทบล่าช้าหลังมีคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดแพร่ที่ผ่านมาหลาย ๆ ครั้งบวกกับได้เกิดพายุฮีโกสทำให้มวลแม่น้ำหลายสาขาในจังหวัดแพร่ได้ไหลบ่าน้ำหลากพร้อมกัน จึงทำให้จังหวัดแพร่ได้รับผลกระทบน้ำในลำน้ำยมเอ่อล้นเขื่อนกำแพง ได้ท่วมบ้านเรือนในจังหวัดแพร่บางส่วนที่อยู่ตามลุ่มน้ำยม และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นา ๆ ในระบบการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก

โดยเสนอให้มีการก่อสร้างจากกลุ่มที่อยากได้เขื่อนแก่งเสือเต้นทั้ง ๆ ที่มวลน้ำในลำน้ำยมทางตอนเหนือไม่มีความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่ โดยรวมแล้วมวลน้ำจากลำน้ำหลายสาขาในจังหวัดแพร่ ที่ส่งผลกระทบที่ไหลลงสู่แม่น้ำย มแต่ไม่มีการหยิบยกมาเป็นประเด็นปัญหาในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมจังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย จากเหตุการณ์ดังกล่าวคณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำได้เสนอแนวทางการก่อสร้างฝายตามขั้นบันได ตั้งแต่อำเภอสองจนถึงอำเภอวังชิ้นนั้น ชาวตำบลสะเอียบก็มีการเห็นชอบ ถ้าหากการก่อสร้างไม่มีผลกระทบกับป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศไทย ที่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติที่ชาวตำบลสะเอียบรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติรักษาสืบไว้จนถึงปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางกรมชลประทานก็ยังได้สับขาหลอกชาวบ้านมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เข้าพื้นที่ในจุดจะก่อสร้างเขื่อนจึงสร้างความไว้ใจให้กับชาวตำบลสะเอียบ ที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและไว้ใจ ให้กับบริษัทที่รับผิดชอบศึกษาหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเสนอโครงการจนมีโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สะกึ๋น 2 ในพื้นที่บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ 6 และอ่างเก็บน้ำห้วยเป้า ในพื้นที่บ้านนาหลวง หมู่ที่ 4 ภายใต้โครงการสะเอียบโมเดลและได้สำรวจศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่กลับไม่มีแผนงานอยู่ในของการแก้ไขปัญหา ทางด้านการบริหารจัดการน้ำเลย เหมือนกับว่าชาวตำบลสะเอียบจะถูกหลอกมาโดยตลอด มีเพียงที่คณะศึกษาทางด้านน้ำจะหยิบโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมา โดยไม่สนใจในโครงการเล็ก ๆ อีกอย่างเช่นแผนงานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีบรรจุแผนงานไว้แต่ไม่มีโครงการของสะเอียบโมเดลเลยแม้แต่โครงการเดียว ชาวตำบลสะเอียบเห็นว่า ในการก่อสร้างโครงการใหญ่ ๆ ในลำน้ำยมจะส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตวัฒธรรมประเพณีของชุมชนชาวตำบลสะเอียบ ที่มีความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว และภายในชุมชนก็มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังสร้างรายได้ให้กับรัฐปีละหลายร้อยล้านบาท และการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ว่างงานจากบริษัทเลิกจ้าง กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้จากกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนที่มีความเข็มแข็ง และสร้างรายได้มาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมเสนอทางออกร่วมกับภาครัฐ โดยยืนยันใช้โครงการสะเอียบโมเดลเป็นการแก้ไขปัญหาแก้ไขเรื่องน้ำท่วมและภัยแล้งด้วย ซึ่งโครงการสะเอียบโมเดลได้ศึกษาผลกระทบและผ่านการสำรวจออกแบบไปแล้วนั้น ชาวตำบลสะเอียบก็จะประกาศเจตนารมย์ในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ แต่จะสนับสนุนโครงการเล็ก ๆ ที่ไม่มีผลกระทบกับชุมชน

พร้อมกันนี้ชาวบ้านก็ได้ยึดเหนี่ยวถือเป็นวัฒธรรมประเพณีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ใดได้หยิบยกโครงการสร้างเขื่อนขึ้นต้องมีการสาปแช่งเผาพริกเผาเกลือต่อบุคคลที่คิดทำลายต่อชาวชุมชนชาวตำบลสะเอียบ และยังยืนหยัดจะอยู่ที่นี่ตายที่นี่ และจะไม่ไว้ใจใครหน้าไหนอีกต่อไป และจะคัดค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นต่อไป จะสู้ถึงวินาทีสุดท้ายจะเหลือเป็นคนสุดท้ายก็จะสู้ จนกว่าโครงการนี้จะหายไปจากโลกนี้ และวันนี้ได้เผา 4 สหาย กระหายหิวแก่งเสือเต้นมีร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน สส.สุโขทัย, นายวีระกร คำประกอบ สส.นครสวรรค์ และนายพรมงคล ชิดชอบ กรมชลประทาน และวันนี้ยังเกิดปรากฎการณ์ที่ไม่นึกไม่ฝันว่า แม้แต่นกปากห่างที่ได้มาอาศัยหากินในถิ่นตำบลสะเอียบได้บินมาเป็นสักขีพยานบนฟากฟ้าที่ชาวบ้านกำลังทำพิธีกันอยู่ในสถานที่แห่งนี้ ที่เป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวตำบลสะเอียบคือเป็นขื่อเมืองด้านทิศใต้และชาวตำบลสะเอียบได้ร่วมพิธีแบบนี้มานับไม้ถ้วนแล้วและประสบผลสำเร็จตายไปเกือบหมดแล้ว ซึ่งมีการเผาหุ่นสาปแช่งจะเป็นความเชื่อของชุมชนตำบลสะเอียบที่ยึดถือปฎิบัติสืบไปชั่วกาลนาน


Cr.ศูนย์ข่าวศิษย์พระลอ

ร่วมแสดงความคิดเห็น