เชียงใหม่คุมเข้มต่างด้าว ชูแผนจัดระเบียบ สกัดแย่งอาชีพคนไทย ท่ามกลางกระแส เอ็นจีโอ.ทักท้วงกวดขันเกินไป

เครือข่ายแรงงานสัมพันธ์ แรงงานต่างด้าวในเชียงใหม่ กล่าวว่า กรณีอาชีพสงวนเพื่อคนไทยและห้ามแรงงานต่างด้าวทำนั้น เห็นด้วยกับแนวทางที่่ภาครัฐฯระบุว่าบางส่วนอาจทำผิดโดยไม่รู้ตัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พยายามสื่อสารว่า อาชีพสงวนเหล่านี้อย่าไปทำให้ทำอาชีพอื่น

“ยอมรับว่า มีการปฏิบัติในวิธีการที่ละมุนละม่อม ไม่มีอะไรรุนแรง เมื่อพบการกระทำความผิดก็มาดูว่ามีโทษอะไร สิ่งที่หลายๆฝ่ายกังวลคือ การสื่อสารผ่านสื่อสังคมการจับแรงงานต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย จนส่งผล จุดกระแสตื่นกลัวในคนต่างด้าว ผลักดันให้รวมกลุ่มกันในบางงาน อาทิ งานรับเหมาก่อสร้าง จนกลายเป็นกลุ่มคนท้องถิ่น กลุ่มต่างด้าว รู้สึกอคติต่อกันโดยไม่มีเหตุผล มีการแย่งงานงานเหมา ตัดราคาและอาจบานปลาย จ้องแจ้งเบาะแส กระทบกระทั่งกันได้”
ที่ผ่านมาเครือข่ายประชากรข้ามชาติ (MWG) ได้ออกแถลงการณ์ขอเรียกร้องให้ยุติการนำเสนอ
ข้อมูลการปราบปรามแรงงานข้ามชาติ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อระบบการจ้างงานที่จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ นำไปสู่การสร้างกระแสการสร้างความหวาดกลัวต่อคนต่างชาติ การปรับเปลี่ยนอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำกลายเป็นส่วนหนึ่งในการจุดกระแสสร้างความไม่ไว้วางใจกันในพหุสังคมที่ควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความเอื้ออาทรและส่งผลทางลบต่อมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าหน้าที่ภาคสนาม หน่วยงานสังกัดกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ประเทศไทยดูแลแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานข้ามชาติค่อนข้างอิสระกว่าประเทศอื่น ทำให้ไทยมีแรงงานกลุ่มนี้เข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก และค่าแรงก็ถือว่าสูงกว่าประเทศของแรงงานนั้น ๆ
กฎกติกาแรงงานระหว่างประเทศ มีหลักสากลคือเข้ามาทำงานต้องไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงไม่กระทบการโอกาสทำงานของแรงงานหลักประเทศนั้นๆ คือ ไม่แย่งงานทำและใช้แรงงานต่างด้าวเท่าที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาด้าน
ต่าง ๆ ทุกประเทศมีอาชีพสงวน ห้ามต่างด้าวทำทั้งนั้น เมื่อละเมิดทำผิดก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย เพราะถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎฆหมายก็ถือว่าละเว้น อาจผิดเสียเอง ยิ่งช่วงนี้มาตรการคุมเข้มสกัดกั้นการลักลอบของแรงงานข้ามชาติตามแนวชายแดน จึงอาจส่งผลต่อปฏิกริกยากลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ตื่นตระหนกต่อมาตรการจัดระเบียบในแต่ละพื้นที่ด้วย

สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ แจ้งว่า ที่ผ่านๆมาการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในพื้นที่นั้น ได้
มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ ปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงาน สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้มีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและในวันที่ 9 ก.ย.นี้สำนักงานฯกำหนดจัดโครงการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับประเภทงานที่คนต่างด้าวทำงานได้อย่างถูกกฎหมายและการดำเนินการตามมติ ครม. 4 ส.ค.63 (sun) เรื่องแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ห้องพลอยไพลิน โรงแรมกรีนเลครีสอร์ทเชียงใหม่ ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.053-112911 – 4 ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 4 ส.ค.2563 เห็นชอบแนวทางบริหารจัดการทำงานแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา หลังสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ให้แรงงานต่างด้าว 4 กลุ่ม ที่เคยมีใบอนุญาตทำงาน แต่การอนุญาตสิ้นสุดและไม่สามารถเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ เนื่องจากมาตรการปิดจุดผ่านแดน ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวและให้ทำงานได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง/ สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าว ซึ่ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม1ที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงครบวาระการจ้างงาน4 ปี กลุ่ม2ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ถือเอกสารประจำตัวได้แก่ หนังสือเดินทาง เอกสารเดินทาง เอกสารรับรองบุคคล ที่ใบอนุญาตทำงานและอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดช่วง 30 ก.ย. 2562 ถึง 30 มิ.ย. 2563 แต่ไม่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี 20 ส.ค. 2562 อีกกลุ่ม3คือกลุ่มที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุดลงโดยผลของ กฎหมายตามมาตรา 50 , 53 และ 55 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และกลุ่มที่เข้ามาทำงานโดยใช้บัตรผ่านแดน ตามความตกลง ว่าด้วยการข้ามแดนเข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาล โดยกลุ่ม 1- 3 ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด ตั้งแต่ 17 ส.ค. 2563 – 31ต.ค. 2563

นอกจากนั้นยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การตรวจสุขภาพ/ซื้อประกันสุขภาพ การขอตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร (วีซ่า) และการทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) จะได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ถึง 31 มี.ค. 2565
” แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานโดยใช้บัตรผ่านแดนต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน กับสำนักงานจัดหางานจังหวัด ตั้งแต่ 17 ส.ค. 2563 ถึง 31 ต.ค. 2563 ต้องตรวจสุขภาพ/ซื้อประกันสุขภาพ โดยใบอนุญาตทำงานมีอายุครั้งละ 3 เดือน สามารถขอต่อเนื่องได้ไม่เกิน 31 มี.ค. 2565
เงื่อนไขการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและให้ทำงานเป็นกรณีพิเศษนี้จะสิ้นสุดเมื่อระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุด แรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หรือเป็นโรคที่ห้ามคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรและทำงาน
ช่วงนี้ก็ค่อนข้างจะกวดขัน คุมเข้มเรื่องสกัดการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ต้องสอดส่อง อย่างใกล้ชิดทุกพื้นที่ซึ่งมีแรงงานต่างด้าว รวมกลุ่มจำนวนมาก ๆ ”

ร่วมแสดงความคิดเห็น