เปิดทางจักรยานเชียงใหม่ ทุ่มงบสานฝัน “เมือง (ปั่นกระแส) จักรยาน” เพื่อสุขภาพหรือ ?

เครือข่ายจักรยาน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันความนิยมปั่นจักรยาน ในกลุ่ม ชมรม ก๊วน และผู้ชื่นชอบการปั่นจักร
ยานในเชียงใหม่ ที่ยังเหนียวแน่น จับกลุ่มกัน จัดทริปทัวร์ จะมีหลาย ๆ กลุ่ม อาทิ ชมรมจักรยานวันอาทิตย์ เชียงใหม่ ซึ่งสมาชิกหลากหลายวัย ค่อนข้างไปทางผู้อาวุโส

นอกนั้นจะเป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่อาศัยเวลาช่วงวันหยุด ปั่นไปตามเส้นทางยอดนิยม ทั้งสายดอยสุเทพ หรือเส้นทางสายทุ่งแกะ ทางจักรยานเลียบทางหลวง 121 ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้ง 25 อำเภอ ในเชียงใหม่ มีเส้นทางปั่นจักรยานที่รับรู้ คุ้นเคยกันในแวดวงนักปั่นมากมาย “น่าเสียดายที่ความเจริญของเมือง ทำให้สิงห์นักปั่น ส่วนหนึ่งขยาดกับเหตุการณ์ที่ประสบมา โดยเฉพาะอุบัติเหตุคร่าชีวิต ผู้ร่วมทริปปั่นมานาน เช่น กลุ่มสิงห์สันทราย ที่พรรคพวกเสียชีวิตไป หลาย ๆ คนถูกครอบครัวขอร้อง ก็ค่อย ๆ หายไปจากการร่วมกิจกรรม”

สมาชิกชมรมจักรยาน เชียงใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่าน ๆ มา หน่วยงานท้องถิ่น และกรมทางหลวง พยายามสร้างทางจักรยาน จ.เชียงใหม่ จัดสรรงบทำทางปั่นจักรยานช่วงศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า ระยะทาง ราว ๆ 4.5 กม วงเงินประมาณ 19.8 ล้านบาท เปิดใช้เมื่อ 9 ส.ค. 2558

“เคยเป็นที่นิยมกันมาพักใหญ่ แทบจะเรียงแถวปั่นช้า ๆ พร้อม ๆ กับผู้รักสุขภาพที่ดินบ้าง วิ่งบ้าง สลับกันไปตามทาง
ผสมกับนักท่องเที่ยวช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด คึกคักพอสมควร ปัจจุบันช่วงเย็น ช่วง วันหยุด ๆ ก็มีสิงห์นักปั่นจับกลุ่มปั่นให้เห็นบ้างเป็นระยะ ๆ”

ทั้งนี้ จ.เชียงใหม่ เป็น 1 ใน 13 จังหวัด ที่กระทรวงคมนาคม มีแผนพัฒนาทางจักรยานทั่วประเทศ โดยจัดสรรงบ
กว่า 400 ล้านบาท ดำเนินการ ซึ่งเชียงใหม่ ทางจักรยานเลียบทางหลวง 121 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม เป็นเส้นทางที่ได้มาตรฐานตามแบบทางจักรยานของประเทศออสเตรเลีย ตามแผนมีการเชื่อมต่อจากจุดเริ่มศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ ถึงบริเวณสี่แยกภูคำ เพื่อเชื่อมเส้นทางเข้าสู่เขตเมืองเชียงใหม่ในเขตเทศบาล กระทั่งเชื่อมไปยังถนนวงแหวนแยกแม่เหียะ-แยกราชพฤกษ์ (พืชสวนโลก)-แยกสะเมิง ระยะทางไม่เกิน 10 กม. งบประมาณ 30 ล้านบาท รองรับอนาคตเส้นทางจักรยานปั่นไป อ.สะเมิง เมื่อกรมทางหลวงดำเนินการไประยะ ๆ ทางกรมทางหลวงชนบท ได้พัฒนาทางจักรยานเชียงใหม่สายเลี่ยงเมืองสันป่าตอง-หางดง จาก บ.ทุ่งเสี้ยว-อ.สันป่าตอง-อ.หางดง ระยะทางราว 13 กม. เป็นช่องทางเฉพาะจักรยานไปและกลับ เป็นเครือข่ายทางจักรยานเชียงใหม่ เพื่อการท่องเที่ยว

สำหรับแผนจัดทำเส้นทางจักรยานรอบคูเมือง ระยะทางราว 13.5 กม. ใช้งบ 8 ล้านบาท เส้นทางเวียงกุมกาม ระยะ
ทาง 9.7 กม. งบราว ๆ 3.7 ล้านบาท เส้นทางสายพืชสวนโลก-วัดพระธาตุดอยคำ-ไนท์ซาฟารี ระยะทางประมาณ 18 กม.วงเงิน 7.4 ล้านบาท เป็นอีกความพยายามปลุกปั้น เมือง (ปั่น) จักรยานของเชียงใหม่ตามเป้าหมาย

กลุ่มนักปั่นจักรยาน เชียงใหม่ กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว ในพื้นที่นครเชียงใหม่ มีการจัดทำเส้นทางจักรยาน หลายสาย ซึ่งไม่ต้องย้อนถึงงบดำเนินการ ให้เสียความรู้สึก รวมถึงกิจกรรมส่งเสริม รณรงค์ การปั่นจักรยาน การเปิดพื้นที่ให้เอกชน เข้ามาบริหารจัดการ ปล่อยเช่าจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว ผลที่เกิดขึ้นอย่างที่เห็น พับฐานเป็นราย ๆ  “ช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด และกลุ่มทัวร์จีนเข้ามาเที่ยวเชียงใหม่ เป็นจำนวนมาก ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ทริปปั่นจักรยานเที่ยวในเขตคูเมือง ทริปปั่นเที่ยวตามเส้นทางธรรมชาติ และการบริการเช่าจักรยาน ประสบผลสำเร็จด้านการตลาดพอสมควร พอโรคโควิด-19 เข้ามา ทุกอย่างนิ่งงันไปหมด

 

จ.เชียงใหม่ มีประกาศกำหนดเส้นทางจักรยาน อาศัยอำนาจ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดเส้นทางหรือช่องทางจักรยาน 5 ถนน อาทิ ถ.ช้างม่อย ตั้งแต่แยกศรีนครพิงค์ถึงแยกสมเพชร, ถ.เจริญประเทศ ตั้งแต่สะพานเหล็ก (ขัวเหล็ก) ถึงสะพานเม็งราย เป็นต้น พื้นที่คูเมืองชั้นใน มีทางจักรยาน กำหนดเพิ่มเติมอีก เช่น ถ.ราชดำเนิน ตั้งแต่ประตูท่าแพ จรดประตูวัดพระสิงห์

ทีมข่าว ได้รับความคิดเห็นจากสิงห์นักปั่นจักรยาน เชียงใหม่ ฝากถึงหน่วยงานท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโครงการ เชียงใหม่เมืองจักรยานว่า ต้องดำเนินกิจกรรม โครงการให้ต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นงบที่บริหารจัดการไปจะสูญเปล่า เส้นทางจักรยานถูกปล่อยทิ้งร้าง รอเสื่อมสภาพ
“ประการสำคัญ ทุกเส้นทาง ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และกิจกรรมที่ชุมชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งภาคการท่อง
เที่ยว และเพื่อสุขภาพ ไม่เช่นนั้น เส้นทางจะไม่ได้รับความนิยม หรือเป็นเส้นทางเสี่ยงภัยไป การออกแบบเส้นทาง การจัดสรรงบดำเนินการ ต้องยึดโยง การมีส่วนร่วม ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเพียงเส้นทางใช้งบดำเนินการเท่านั้น”

ร่วมแสดงความคิดเห็น