ม่อนแจ่ม ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน เรียกร้อง 7 ข้อ ขอ “บิ๊กตู่” ยุบหน่วยเฉพาะกิจป่าไม้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนม่อนแจ่ม พร้อมชาวไทยภูเขาพื้นที่ม่อนแจ่ม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และพื้นที่ภู
ทับเบิก จ.เพชรบูรณ์ ได้รวมตัวยื่นเอกสารร้องเรียน ขอความเป็นธรรมต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมี เลขานุการสภาฯ มารับเอกสารแทน

สำหรับรายละเอียดเอกสารดังกล่าวนั้นระบุว่า ชาวบ้านที่มาขอเรียกร้องความเป็นธรรม ขอให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 35/2559 และแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินของชาวไทยภูเขา และการคุกคามของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนี้ตัวแทนชาวบ้าน ยืนยันว่า ชุมชนม่อนแจ่มนั้น อยู่และจัดตั้งมาก่อนประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าสงวน 2507 และชาวบ้าน ปฏิบัติตามคำสั่งคสช.ที่ 6/2562 เรื่อง ส่งเสริมการท่องเที่ยวมาโดยตลอด แต่ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ มีการดำเนินคดีกว่า 30 ครอบครัว ใน 16 กรณี

จึงขอยื่นข้อเรียกร้องดังนี้
1. ขอให้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงความรับผิดชอบในการลาออก
2. ดำเนินการแก้ปัญหาที่ดินม่อนแจ่ม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามมติ ครม.
11 พ.ค. 2562
3. ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ยกเลิกคำสั่งงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ชุมชนม่อนแจ่ม
4. ขอให้นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ เพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน
5.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและเอาผิดทางวินัยและอาญา กับกลุ่มบุคคลที่ยื่นรายชื่อแนบพร้อมหนังสือ
6.ให้พนักงานสอบสวนเพิกถอนข้อกล่าวหากับชาวไทยภูเขาม่อนแจ่มทุกคดีไปก่อน เนื่องจากมีข้อกังขา ในกระบวนการ พร้อมขอให้ตรวจสอบคณะพนักงานสอบสวนคดีม่อนแจ่มทุกคน
7.ขอให้พิจารณายุบหรือยกเลิกหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ ป่าไม้ ชุดพยัคฆ์ไพร และเจ้าหน้าที่ ศปป.4 กอ.รมน.
เนื่องจากใช้อำนาจมากเกินไป ทำตัวเหนือกฎหมาย มีพฤติกรรมข่มขู่ คุกคาม ละเมิดอำนาจหน่วยราชการอื่น
ต่อมาในช่วงบ่าย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนม่อนแจ่ม ได้ยื่นหนังสือต่อ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย

คณะทำงานในโครงการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ริม (ม่อนแจ่มและพื้นที่ใกล้เคียง) ต.โป่งแยง และ ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า การจัดระเบียบชุมชนม่อนแจ่มยืดเยื้อมานาน คณะทำงานตรวจสอบ พบบุกรุกพื้นที่โครงการหลวงหนองหอย ก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เพื่อเป็นสถานที่ให้บริการนักท่องเที่ยว อาทิ บ้านพักตากอากาศ รีสอร์ท ร้านค้า รวม 116 ราย ในจำนวนนี้ แจ้งความดำเนินคดีแล้ว 29 ราย ทั้งหมดเป็นของกลุ่มทุน และนอมินี อีก 84 ราย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดิน แต่ใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ทำการเกษตร แต่ปรับเปลี่ยนพื้นที่สร้าง รีสอร์ทและบ้านพักเพื่อการท่องเที่ยว

 

“ที่ผ่าน ๆ มาได้มีการตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการกับ 84 ราย โดยยึดทั้งหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ พูดคุยทำ
ความเข้าใจกัน เพราะหากยึดตามกฎหมายทั้ง 4 ฉบับทั้ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ, พ.ร.บ.ป่าไม้, พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และ พ.ร.บโรงแรมฯ ทั้ง 84 ราย ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และถูกยึดคืนพื้นที่หมด”

 

การกล่าวอ้างได้รับความคุ้มครองให้ได้รับการยกเว้นโทษทางอาญา ตาม พ.ร.บ.โรงแรมฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ
ตามคำสั่งของ คสช.ที่ 6/2562 นั้น คำสั่งดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่ก่อสร้างหรือเปิดดำเนินการห้องพักในพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมายของตนเอง ส่วนม่อนแจ่มอยู่พื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ริม ของกรมป่าไม้ จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามคำสั่งดังกล่าว

 

ในการจัดระเบียบพื้นที่ม่อนแจ่ม ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า มีทั้งผู้เสียประโยชน์ ได้รับผลกระทบจากการลงทุน เป็น
จำนวนมาก ผู้ที่เข้าข่ายกระทำความผิด 116 ราย 3 ราย บุกรุกพื้นที่ ยินยอมรื้อถอนเรียบร้อยแล้ว 113 ราย ได้เปิดโอกาสให้ทักท้วงหรือโต้แย้ง ตามสิทธิทางกฎหมาย

“หนึ่งในชุดเฉพาะกิจ ยืนยันว่า การทำงาน ในพื้นที่ม่อนแจ่มไม่ได้เร่งดำเนินการปีนี้ แต่มีการสืบเสาะ แสวงหา หา
หลักฐาน ร่วมกันพิจารณา กรอบปฏิบัติ จนกลายเป็นความร่วมมือของหลาย ๆ หน่วยงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) องค์กรฝ่ายปกครองท้องถิ่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมป่าไม้, จังหวัด, สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่), หน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) ในทางลับมีการติดตามตรวจสอบ ทุกเส้นทางมานาน มีคณะทำงานชัดเจน รับรู้ว่าบ้านพักและรีสอร์ต ที่ถือครอง ที่มีสิทธิทำกิน และทำเกินพื้นที่อนุญาต ตลอดจนเงินลงทุนมาจากไหน ไม่มีพื้นที่ใดอยู่เหนือกฎหมาย ภาพม่อนแจ่มที่สังคมรับรู้ ก็เห็น ๆ ว่า เป็นผืนป่า ที่มีสิ่งปลูกสร้างมากเกินไป และหน่วยงานที่ต้องบังคับใช้กฎหมายจะปิดหู ปิดตา ไม่ทำอะไรคงเป็นไปไม่ได้และการข่มขู่ คุกคาม ละเมิดสิทธิ ถ้ามีหลักฐาน ก็ว่ากันไปตามกฎหมาย ทุกฝ่ายทุกคนต่างมีบทบาท หน้าที่รับผิดชอบ และรูปแบบนี้ก็เกิดขึ้นในทุกผืนป่าที่มีการจัด
ระเบียบ ไม่ว่าจะวังน้ำเย็น, เขาใหญ่ หรือ ภูทับเบิก ท้ายที่สุด ผิดก็คือผิด และทุกปัญหามีทางออก ทางแก้ต้องยอมรับกฎกติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมา อย่าเห็นแก่ตัว ”

ร่วมแสดงความคิดเห็น