มาตรการ ” ห้ามปล่อยโคม ” ได้ผล

ช่วงค่ำคืนของวันที่ 31 ต.ค.63 ซึ่งตรงกับวันจัดงานประเพณีลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งล้านนาของชาวจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าบรรยากาศในวันนี้ได้เป็นไปอย่างคึกคัก ซึ่งในสถานที่สำคัญหลายแห่งของตัวเมืองเชียงใหม่นั้นก็ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นอย่างมากมาย ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก จนทำให้ถนนหลายสายภายในพื้นที่นั้นมีการจราจรค่อนข้างติดขัด ขณะที่ตามบริเวณหลายจุดนั้นก็ได้มีการจัดเป็นสถานที่เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ทำการลอยกระทง เช่นที่บริเวณ สะพานเหล็ก , สะพานนวรัฐ และที่บริเวณด้านหน้ามณฑลทหารบกที่ 33 (ค่ายกาวิละ) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการจัดงานลอยกระทงเป็นประจำและเป็นที่รู้จักของประชาชนและนักท่องเที่ยว ในวันนี้นั้นพบว่ามีประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างพากันเดินทางมาร่วมงานประเพณีลอยกระทงที่บริเวณริมลำน้ำปิง ซึ่งส่วนใหญ่กระทงที่ประชาชนนำมาลอยนั้นก็เป็นกระทงที่ประดิษจากวัสดุธรรมชาติ ตามการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือของจังหวัดเชียงใหม่ ในการใช้กระทงจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายเพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสีย และมลภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง

ขณะที่ในส่วนของมาตรการในการขอความร่วมมือประชาชนและนักท่องเที่ยวในการเล่นประทัดยักษ์และการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้านั้น พบว่าในปีนี้ มีการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการที่ได้ผลค่อนข้างดี โดนจากการสำรวจตามร้านค้าพบว่าแต่ละที่แทบไม่มีการจำหน่ายประทัดยักษ์หรือโคมลอย รวมทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้มีการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าแม้แต่ดวงเดียวในสถานที่จัดการลอยกระทง ซึ่งแตกต่างมากหากเทียบกับปีก่อนๆ ที่ในการจัดประเพณีลอยกระทงจะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ากันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันแรกของการจัดงาน รวมไปถึงการจุดหรือเล่นประทัดยักษ์แลวะวัตถุไวไฟต่างๆ ซึ่งในปีนี้พบว่าทางเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการคุมเข้มอย่างดี จนทำให้การลักลอบจำหน่ายหรือการแอบจุดประทัดยักษ์ที่มีเสียงดังและเป็นอันตรายนั้นแทบไม่พบเลยในช่วงการจัดงานวันนี้ ซึ่งถือเป็นการจัดงานประเพณีลอยกระทงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ปีก่อนถูกยกเลิกการจัดประเพณีไปเนื่องจากผลกระทบของโรคระบาดไวรัสโควิด-19

ร่วมแสดงความคิดเห็น