ย่านบันเทิงเชียงใหม่ครวญ คุมเข้มโควิด-19 ลุยปมลิขสิทธ์ช่วงใกล้ปีใหม่ ลูกค้ากระเจิง

คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค รายงานว่า มาตรการทาง
สาธารณสุข หลังจากมีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 ตั้งแต่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ให้กลุ่มสถานบันเทิงร้านอาหาร ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อแนะนำนั้น ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด 19 (ศบค.)เน้นย้ำหลักการที่ต้องปฏิบัติ 2 ด้านคือ เศรษฐกิจต้องเดินหน้าและประชาชนต้องปลอดภัย ไม่เสี่ยงโรคนี้ด้วย

” ย่านสถานบันเทิง ตามจังหวัดต่างๆ จะมี คณะทำงาน ศบค. จังหวัด บูรณาการความร่วมมือ ทั้ง ปกครอง,สาธารณสุข
,ท้องที่,ท้องถิ่นและหลายภาคส่วน รวมถึง ผู้ประกอบการที่คำนึงถึงแนวทางปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด  สถานบันเทิง ร้านอาหาร ต้องตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิ ทั้งผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่ ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ ในผ่านแพลตฟอร์ม ไทยชนะ เพื่อเก็บข้อมูลและติดตามผู้ใช้บริการได้ทุกคน ซึ่งผลดำเนินการตามเมืองใหญ่ๆทั้งเชียงใหม่ ,เชียงราย ที่ต่างๆ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี “

ด้านผู้ประกอบการ สถานบันเทิง,ร้านอาหาร ในเชียงใหม่ กล่าวว่า ช่วงวันหยุดยาว และเทศกาลปีใหม่นั้นทุกสถาน
บันเทิงมีโปรแกรม เตรียมจัดกิจกรรม เฉลิมฉลอง แต่เมื่อเกิดกรณีการแพร่ระบาดที่สมุทรสาคร ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการ ร้านอาหาร สถานบันเทิง เริ่มวิตกกังวลกับมาตรการคุมเข้ม ที่มีการแจ้งประสาน ให้เตรียมปฏิบัติตามข้อแนะนำ ของจังหวัดด้านการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 อย่างเข้มข้นต่อไป

” สถานการณ์แบบนี้ ส่งผลต่อกลุ่มลูกค้า ประจำ ที่จองโต๊ะ ซื้อบัตรร่วมงานเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี สอบถามเข้ามาเป็นระ
ยะๆ ว่าจะจัดหรือต้องเลื่อนออกไป ช่วงนี้ลูกค้าค่อยๆแจ้งยกเลิกก็มี เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก กำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง ทั้งๆที่ ช่วงโควิด 19 ยังมีปมปัญหาลิขสิทธิ์เพลง หลายๆร้าน ย่านบันเทิง ที่ไม่มีลูกค้าแน่นเหมือนร้าน ที่ดังๆ ส่วนหนึ่งยอมที่จะระงับการเปิดเพลง การจ้างนักร้อง นักดนตรี ชั่วคราว เพราะบางร้านเล็กๆต้องจ่ายเป็นหมื่นบาทต่อเดือนนั้น แบกรับต้นทุนไม่ไหว ที่เปิดได้ก็รู้ๆกันว่ามีต้นทุนอะไรบ้าง ที่ต้องจ่ายประจำ”

เจ้าของร้านอาหาร รายหนึ่งย่านสันทราย จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า แม้เจ้าหน้าที่ด้านลิขสิทธิ์ จะอธิบายหลักปฏิบัติใน
การบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง พยายามลดข้อพิพาทระหว่างผู้เก็บกับผู้ใช้ ตามร้านอาหาร โรงแรม สถานบันเทิง ” แต่ข้อกำหนด กฎกติกาเกี่ยวกับการบริหารจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ไม่มีการระบุเอาไว้ชัด ทำให้การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในไทยเกิดปัญหา เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ละรายจะกำหนดค่าลิขสิทธิ์ วิธีการ และเงื่อนไขจัดเก็บได้เอง ใช้แนวทางไม่เหมือนกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาการขออนุญาตใช้เพลงมาโดยตลอด”

ทั้งนี้เงื่อนไขที่ต้องแจ้งข้อมูลการจัดเก็บต่อคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) กรมการค้าภายใน ได้แก่ รายชื่อเพลง อัตราการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ เงื่อนไขการจัดเก็บ แต่อัตราการจัดเก็บ ไม่ได้มีกฎหมายควบคุม ซึ่งตัวแทนบริษัทมักจะอ้างระเบียบที่กำหนดเอง ปัจจุบันมีบริษัทที่แจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ต่อ ทั้งสิ้น 39 ราย มีเพลงไทย 262,420 เพลง และเพลงสากล 9,608,553 เพลง จริงๆแล้ว หากเป็นคู่กรณี ข้อพิพาทจัดเก็บค่าตอบแทนไม่เป็นไปตามที่แจ้งต่อ ก็สามารถสามารถร้องเรียนได้ที่ กกร. แต่ไม่มีใครอยากค้าความ คนทำมาค้าขาย ไม่มีใครอยากฝ่าฝืนกฎกติกา สภาวะแบบนี้ อยากวิงวอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยสร้างความมั่นใจ ให้ กลุ่มธุรกิจ และ ชาวบ้าน ด้านมาตรการควบคุมโรค , การทำมาค้าขายด้วย อย่าอ้างเพียงกฎระเบียบเกินไป จนกลายเป็นต้นทุนที่ประชาชน คนค้าขายสุจริตต้องแบกรับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น