(มีคลิป) อำเภอสองแคว ร่วมกับ เกษตรอำเภอสองแคว จัดกิจกรรม 5 ดี โครงการการถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ให้สามารถเป็นวิทยากรเกษตรปลอดการเผา สร้างและพัฒนาวิทยากรเกษตรปลอดการเผา

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.30 น. ที่ลานเอนกประสงค์หมู่บ้านห้วยแกลบ หมู่ที่ 4 ตำบลชนแดน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน นายวิบูรณ์  แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน   เป็นประธานเปิด การถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ให้สามารถเป็นวิทยากรเกษตรปลอดการเผา สร้างและพัฒนาวิทยากรเกษตรปลอดการเผา เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้การลดการเผาในพื้นที่การเกษตร ในช่วงเวลางดเว้นการเผา การเฝ้าระวังและการสนับสนุนการดำเนินการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันในท้องที่จังหวัดน่าน ประจำปี พ.ศ.2564     โดยมี นายสมเกียรติ  อาจสังข์ นายอำเภอสองแคว พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับ

ในช่วงเดือน มกราคม ถึงเดือนเมษายน ของทุกๆปี ภาคเหนือของประเทศไทย มักจะประสบปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ก่อให้เกิดหมอกควันส่งผลต่อทัศนวิสัย และสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป รวมทั้งกระทบต่อการจราจร และ การท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน

อำเภอสองแควโดยสำนักงานเกษตรอำเภอสองแควได้รับมอบหมายจาก กรมส่งเสริมการเกษตร ให้ดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ให้สามารถเป็นวิทยากรเกษตรปลอดการเผา  ภายใต้โครงการส่งเสริมหยุดการเผาในพื้นที่เกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ทั้งนี้ เพื่อสร้างและพัฒนาวิทยากรเกษตร ปลอดการเผา จำนวนเป้าหมาย 60 ราย

โดยเพื่อมุ่งเน้น ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และเกษตรกร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร สร้างคน/สร้างชุมชนต้นแบบ ทำการเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้ได้ 5 ดี อาทิ อากาศดี สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมที่ดี และได้ปุ๋ยดีจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี  โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลชนแดน ห้างหุ้นส่วนจำกัดคูโบต้าน่านและส่วนราชการในพื้นที่อำเภอสองแคว หน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร อาทิ  สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสองแคว  สถานีพัฒนาที่ดินน่าน  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดน่าน  สถานีควบคุมไฟป่านันทบุรี  โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่  ได้จัดกิจกรรม ฐานเรียนรู้ การรณรงค์ส่งเสริมการจัดการพื้นที่การเกษตร และเศษวัสดุทางการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรหลากหลายมิติ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การเพาะเห็ดฟาง  การใช้เครื่องจักรกลเกษตรเครื่องอัดฟาง  ส่งเสริมการปลูกไม้ผล ทางเลือกทางการเกษตรยุคใหม่ เพื่อลดการเผา การทำอาหารสัตว์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  เป็นต้น    โดยมี ประชาชนในพื้นที่ กลุ่มยุวเกษตรกรยอดดอย จากโรงเรียนสมาคมพยาบาลไทย   และเด็กนักเรียนในพื้นที่ เข้าร่วมศึกษาดูงานร่วมกิจกรรม  เกือบ 400 คน  ทั้งนี้ เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน และประชาชน ในพื้นที่การเกษตรปลอดการเผา ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น