โรงเรียนบ้านทุ่งแค้ว!จัดโครงการ ตามรอยพ่อ แบบพอเพียงศึกษาแหล่งเรียนรู้เพาะเห็ดโคนน้อย

ส.ต.ต.สำราญ คำเฟื่องฟู ผอ.ร.ร.บ้านทุ่งแค้วคันธวงศ์วิทยาคาร)อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่สังกัด สพป.แพร่ เขต 1 เผยว่า ร.ร.บ้านทุ่งแค้วได้จัดโครงการตามรอยพ่อแบบพอเพียงจากการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เพาะเห็ดโคนน้อยสนับสนุนโดยบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) โดยให้เด็กเพาะเห็ดโคนน้อย โดยนำเอาครูและภารโรง 14คนไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ที่บ้านนางยุพิน วงศ์แพทย์(แม่น้อย)อายุ 64ปีแหล่งเรียนรู้ที่บ้านเลขที่202/1หมู่1ต.ท่าข้ามอ.เมือง จ.แพร่ โดยมีนายธาคิน วงศ์แพทย์ผู้รับผิดชอบโครงการโดยให้นักเรียนชั้นป.4-ป.6จำนวน50คนเข้าร่วมโครงการ
แม่น้อย วงศ์แพทย์วิทยากรเพาะเห็ดโคนน้อยได้แนะนำวิธีเพาะเห็ดโคนน้อยกับนักเรียนและครูว่าทุกคนสามารถทำได้เพาะเห็ดโคนน้อยซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาดขนะนึ้ทั้งยังเป็นเห็ดที่มีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหาร มีสารยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด เก็บผลผลิตได้ใน 7-9 วัน ขายได้ด้วย


เริ่มจากการเตรียมวัสดุหลักได้แก่ ฟางข้าวโม่แห้ง เชื้อเห็ดโคนน้อย กากน้ำตาล สำหรับต้มฟาง และแกลบอ่อนหรือแป้งข้าวเหนียว จากนั้นเทกากน้ำตาล 200 ซีซี ปุ๋ยยูเรีย 4 ขีด ผสมน้ำ 60 ลิตร แล้วต้มให้เดือด หรืออุณหภูมิ 80-100 องศา คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นใช้ฟางจุ่มลงไป 3-5 นาทีเพื่อให้แร่ธาตุซึมเข้าไป


วิธีสังเกต ถ้าจุ่มไปแล้วยังมีฟองอากาศ แสดงว่าน้ำยังไม่ซึมทั่วฟาง ต้องรอให้ฟองอากาศหมดไปก่อนนำมาผึ่งลมในที่ร่มประมาณ 1 ชั่วโมงให้ฟางเย็น (ไม่ควรให้ฟางร้อนเพราะอาจทำให้เชื้อเห็ดโคนมีปัญหา) จากนั้นนำเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุงมายีให้แตกแล้วผสมกับแกลบอ่อนหรือแป้งข้าวเหนียว 1 กำมือ ทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้พักตัว


ต่อไปนี้ก็ต้องมาเตรียมฟาง โดยใช้เชือก 2 เส้นรองตะกร้าแล้วค่อยๆ ใส่ฟางหนา 1 เซ็นติเมตร สลับกับเชื้อเห็ดไปทีละชั้น จนครบ 3 ชั้น (ชั้นแรกกับชั้นที่ 3 จะโรยเชื้อเห็ดจนทั่ว ส่วนชั้นที่ 2 จะโรยเฉพาะขอบเท่านั้น) แล้วปิดทับด้วยฟางในชั้นบนสุด ทำการมัดทั้ง 2 ข้าง นำน้ำต้มฟางที่เย็นแล้วมารด พร้อมนำไปเข้าโรงเรือนแบบทึบที่เตรียมไว้ รอเห็ดออกดอกประมาณ 7-9 วัน ก็เก็บกินหรือขายได้ ขอเป็นกำลังใจให้นักเรียนและครูร.ร.บ้านทุ่งแค้วประสบผลสำเร็จ

ร่วมแสดงความคิดเห็น