(มีคลิป) พาเที่ยวชมตลาดวัดประตูป่า วิถีชีวิตชุมชนชาวยองเก่าแก่ที่ยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่นของเมืองลำพูน

เมื่อเช้าวันที่ 8 ก.พ. 2564 ที่ตลาดวัดประตูป่า ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน มีพ่อค้าแม่ค้านำสินค้าอุปโภค-บริโภค มาวางขายกันเป็นจำนวนมาก มีพืชผักอาหารของท้องถิ่นตามฤดูกาลครบครัน เช่น กุ้ง ปลาสด ปลาแห้ง ปลาไหล ไข่แมงมัน ไข่มดแดง นก กบ เขียด เนื้อวัว ควาย หมู รวมถึงพืชผักเมืองอื่นๆ มีอย่างหลากหลายอีกมากมาย แต่ละวันจะคึกคักไปด้วยชาวบ้านมาจ่ายตลาดกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะชาวยอง ชาวบ้านในพื้นที่ดั่งเดิมแห่งนี้พูดภาษา”ชาวยอง”กันเจี้ยวจ๊าวแทบไม่ได้ยินภาษาชาวยองกันในยุคสมัยนี้

สำหรับประวัติชุมชนชาวยองประตูป่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2300 พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเหนือ นครหริภุญไชย ปัจจุบันคือจังหวัดลำพูน ชาวบ้านจึงได้อพยพลี้ภัยมาตั้งถิ่นฐานแถบลำเหมืองไม้แดง (ลำเหมืองหน้าวัดประตูป่า) ประมาณปี พ.ศ.2348 ยุดเก็บผัก ใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง โดยพระเจ้ากาวิละได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยอง โดยมีพระครูบาเหล็กเป็นประธาน ชาวบ้านจึงนิมนต์ครูเหล็กเป็นเจ้าอาวาส และชาวบ้านได้ร่วมกันปลูกมะม่วง ซึ่งเป็นเสบียงที่นำติดตัวมาขณะเดินทาง ไว้รอบวัดและหมู่บ้าน ประมาณหลายร้อยต้น ต่อมาจึงเรียกหมู่บ้านว่า “ป่าม่วง”ตามชื่อเดิมของหมู่บ้านที่อพยพมา และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเดิมของหมู่บ้านที่อพยพมาเป็น “บ้านประตูป่า” โดยมีมะม่วงพันธุ์ต่างตามที่เรียกกันคือ มะม่วงขี้ย้า มะม่วงจิฮีต มะม่วงคำ มะม่วงตับเตา มะม่วงรอสอ มะม่วงม้าเป็นต้น

วัดประตูป่าได้รับพระราชทางพัทสีมา เมื่อ พ.ศ. 2464 สมัยครูบาธรรมชัย เป็นเจ้าอาวาส สัดกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ และที่ดินของวัดจำนวน 8 แปลงอยู่รอบบริเวณวัด จำนวน 16.1 ไร่ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดประตูป่ารวมอยู่ด้วยในปัจจุบัน ฉะนั้นหากใครสนใจไปสัมผัสกับวิถีชุมชนของชาวยองประตูป่า หรือไปเลือกซื้ออาหารประเภทพื้นบ้านตามฤดูกาลมีทุกชนิดที่ตลาดวัดประตูป่าในช่วงเช้าและช่วงเย็น นอกจากนี้ยังมีตลาดนัดทุกวันอังคารอีกด้วย

ขอบคุณ/Som Chai

ร่วมแสดงความคิดเห็น