พช.เชียงใหม่ สร้างแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “โคก หนอง นา โมเดล” (รุ่นที่ 2) ณ ศูนย์สารภี อำเภอสารภี

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีเปิดฝึกอบรมหลักสูตร “เพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล” ของกิจกรรม “สร้างแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รุ่นที่ 2) โดยมี นางวาสนา บุญธรรมช่วย ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารปกครองอำเภอสารภี เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และ นายเจริญ สีวาโย พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงานฯ ในการนี้ นางลัดดา พรหมเมือง ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางบุปผา อาภากุลอนุ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน และ พัฒนาการอำเภอ พร้อมด้วย นายรักษ์เผ่า พลรัตน์ (อ.ป้ำ) และทีมวิทยากรจิตอาสาพัฒนาชุมชน ได้เข้าร่วมพิธีเปิดฯ ซึ่งกำหนดดำเนินการฝึกอบรมฯ (รุ่นที่ 2) ระหว่างวันที่ 15–19 กุมภาพันธ์ 2564 (รวม 4 คืน 5 วัน) ณ ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนตำบลขัวมุง (ศูนย์สารภี) ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” เข้ารับการฝึกอบรมฯ จำนวน 98 คน เพื่อเป็นการสร้างแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตร “เพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล” ของกิจกรรม “สร้างแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดผู้นำพัฒนา (Change Leader) ที่อยู่ในชุมชนและนำการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน และนำไปสู่สิ่งที่ชุมชนต้องการ โดยกำหนดดำเนินการฝึกอบรมฯ จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 4 คืน 5 วัน มีกลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” ปี 2564 จำนวน 284 หมู่บ้านๆ ละ 1 คน รวมจำนวน 284 คน ดังนี้

 

 

*รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ อำเภอดอยเต่า กลุ่มเป้าหมาย 91 คน ประกอบด้วย อำเภอจอมทอง 12 คน อำเภอแม่แจ่ม 18 คน คน อำเภอสันป่าตอง 15 คน อำเภอหางดง 6 คง อำเภออำเภออมก๋อย 3 คน อำเภอดอยเต่า 2 คน อำเภอแม่วาง 20คน อำเภอดอยหล่อ 7 คน อำเภอฮอด 8 คน (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
*รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 15–19 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนตำบลขัวมุง (ศูนย์สารภี) ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี กลุ่มเป้าหมาย 91 คน ประกอบด้วย อำเภอดอยสะเก็ด 21 คน อำเภอสะเมิง 4 คน อำเภอสารภี 20 คน อำเภอสันกำแพง 10 คน อำเภอสันทราย 8 คน อำเภอแม่อาย 27 คน อำเภอแม่ออน 8 คน
*รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนตำบลขัวมุง (ศูนย์สารภี) ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี กลุ่มเป้าหมาย 95 คน ประกอบด้วย อำเภอเชียงดาว 18 คน อำเภอแม่แตง 11 คน อำเภอแม่ริม 7 คน อำเภอพร้าว 14 คน อำเภอเวียงแหง 5 คน อำเภอไชยปราการ 7 คน

 

สำหรับผู้แทนครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “เพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 4 คืน 5 วัน จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดหลักสูตรเนื้อหาวิชา/ฝึกปฏิบัติฯ อาทิ (1) เรียนรู้ ตำราบนดิน : กิจกรรมเดินชมพื้นที่ (2) เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) หลักกสิกรรมธรรมชาติ (4) ฝึกปฏิบัติ “ฐานเรียนรู้” อาทิ ฐานคนรักษ์ป่า ฐานคนรักษ์แม่ธรณี ฐานคนรักษ์ดิน ฐานคนรักษ์น้ำ ฐานคนรักษ์แม่โพสพ ฐานคนมีไฟ ฐานหัวคันนาทองคำ ฐานคนรักษ์สุขภาพ ฐานคนมีน้ำยา ฐานปุ๋ยหมักชีวภาพ (4) ฝึกปฏิบัติ “จิตอาสาพัฒนา เอามื้อสามัคคีพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่” (5) ฝึกปฏิบัติการสร้างหุ่นจำลองการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (6) ฝึกปฏิบัติการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตหาอยู่หากิน (7) การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชากลไก 357 (3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคี) (8) จัดทำแผนปฏิบัติ “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ” (9) และอื่นๆ เพื่อให้ผู้แทนครัวเรือนที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรฯ มีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎี การบริหารจัดการ และลงมือฝึกปฏิบัติ สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นผู้นำพัฒนา (Change Leader) ที่อยู่ในชุมชน และนำการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน และนำไปสู่สิ่งที่ชุมชนต้องการ

 

วิญญู บุญสุวรรณ ภาพ : ข่าว
ทีมกลุ่มงานสารสนเทศฯ สนง.พช.เชียงใหม่

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น