สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์  ให้เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์  ให้เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เมื่อวันที่ 8. เมษายน  2564     เวลา 13.30 น.    นายศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิชัย  เกษตรจังหวัดน่าน. มอบหมายให้ นายประดิษฐ  ธนะขว้าง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วย นางสาววิชชุดา  ทวีชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ. (ผู้รับผิดชอบมะม่วงหิมพานต์) สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ให้ลงพื้นที่  ร่วมกับบริษท หจก.แคชชิว นัท ริช กรุ๊ป(ไทยแลนด์) และบริษัท บีดี เอ็นเตอร์ไพรส์ 2020. จำกัด  ที่มีความพร้อมที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์

แก่ผู้นำเกษตรกรที่เข้าร่วมอบรมและเข้าร่วมโครงการ ของบริษัทจำนวน 30 ราย ได้ให้ร่วมรณรงค์ปรับเปลี่ยนส่งเสริมการปลูกพืชที่ตรงสภาพกับพื้นที่และภูมิอากาศและไม่แน่ะนำให้ปลูกพืชที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งการดำเนินการในโครงการครั้งนี้มีเกษตรกรที่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หันมาปลูกมะม่วงหิมพานต์มากกว่า 17,400 ไร่ สำหรับ จังหวัดน่าน มีการปลูกมะม่วงหิมพานต์  ประมาณ 28,034.38ไร่ ให้ผลผลิตแล้วกว่า 26,000-27,000 ไร่ หรือคิดเป็น 80-90% ของพื้นที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์ทั้งหมดของจังหวัดน่าน โดยมีเกษตรกรปลูกประมาณ 3,847 ราย ปัจจุบันพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน 27,866 ไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 168 ไร่ มีพื้นที่ปลูกทุกอำเภอ ในจังหวัดน่าน และได้มีความสำเร็จในการปลูกตลอดถึงผลผลิตดี มีตลาดนำการผลิตและรองรับผลผลิตอย่างต่อเนื่องยังมีผลให้เกษตรกรในพื้นที่ทั้ง 15 อำเภอ ในจังหวัดน่าน เริ่มหันมาปลูกพืชชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญเป็นพืชที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งและใช้น้ำน้อยเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่สภาพอากาศมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ซึ่งต่างจากการปลูกข้าวโพด ที่จะต้องบุกเบิกพื้นที่ทำลายป่าอย่างต่อเนื่องตลอดถึงก่อเกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นที่ทั้งสารเคมีและความแห้งแล้งตลอดถึงความเสียหายของหน้าดิน มะม่วงหิมพานต์จะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 3 ปี ก็จะสามารถได้รับผลผลิตอย่างต่อเนื่องหลายๆปี สำหรับปี 2563 ที่ผ่านมาผลผลิตจากมะม่วงหิมพานต์ได้เข้ามา สร้างรายได้ให้จังหวัดน่านมากกว่า 200 ล้านบาท โดยผลผลิตสดจะจำหน่ายในราคา ประมาณ 20  – 35 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนเมล็ดที่กะเทาะเปลือกเป็นเมล็ดสดเพื่อการนำไปแปรรูปในเมนูอาหารต่างๆ จะจำหน่ายในราคา 150-300 บาท ต่อกิโลกรัม

โดยผลผลิตจะออกช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นการแปรรูปแล้วซึ่งดำเนินการโดยเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ในพื้นที่ จะมีหลากหลายประเภท เช่น อบน้ำเกลือ อบเนย อนิจินอล เคลือบซ๊อดโกแลด แล้วจะส่งจำหน่ายตามร้านค้าชุมชน ร้านจำหน่ายสินค้าโอทอป(OTOP)ของจังหวัด และขายส่งไปยังแหล่งตลาดอื่น ๆเพื่อส่งต่อไปจำหน่ายต่างประเทศ และจากความสมบูรณ์ของผลผลิตที่ตรงกับความต้องการของตลาดปัจจุบันทางสำนักงานเกษตรจังหวัดน่านได้ส่งเสริมเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกและแน่ะนำผู้ซื้อได้เข้าถึงแหล่งผลิต โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางและเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรในจังหวัดหันมาปลูกมะม่วงหิมพานต์เพิ่มขึ้นนั้น นับเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งด้วยมะม่วงหิมพานต์นั้น ทำให้มีสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้ป่า สภาพอากาศที่ดี รักษาหน้าดิน และดินอุดมสมบูรณ์ มีรายได้ที่ดี ทำให้ครอบครัวเป็นสุข

ร่วมแสดงความคิดเห็น