รับมือขยะโควิด วอนครัวเรือนคัดแยกหน้ากากอนามัยใช้แล้วก่อนทิ้ง

งานฝ่ายบริการจัดเก็บขยะติดเชื้อ ( ฝ่ายจัดการวัสดุใช้แล้ว) ส่วนสุขาภิบาล สำนักช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ แจ้งว่า ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น จะมีขยะประเภทหน้ากากอนามัยแบบกระดาษใช้แล้ว เพิ่มขึ้น ซึ่งคงต้องขอความร่วมมือครัวเรือน ช่วยกันคัดแยก บรรจุถุงพลาสติก ให้สังเกตุได้ง่ายก่อนทิ้งในถังขยะ หรือบรรจุถุงดำ รัดปากถุงให้มิดชิด แน่นหนาสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานแต่ละพื้นที่ของเทศบาลฯ ก็จะมีแนวทางบริการจัดเก็บเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและกำจัดอย่างถูกวิธี ทุกวัน ตามที่มีการอบรมมาตรฐานการปฏิบัติงานภายใต้สถานการร์แพร่ระบาดโรคโควิด-19ในขณะที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) ได้แจ้ง องค์กรปกครองส่วนรท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการตามหลักการที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แนะนำกรณีใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง ก่อนทิ้งให้ตัด ฉีก หรือทำลายก่อน เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้ใหม่ ให้แยกจากขยะประเภทอื่นๆ มัดปากถุงให้แน่น ซึ่งเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะ จะสังเกตุได้ง่ายทั้งนี้จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขยายวงกว้างมากขึ้น ทำให้มีการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม จึงถือว่าหน้ากากอนามัยใช้แล้วเป็นมูลฝอยติดเชื้อที่ต้องจัดการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
ด้านนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า ทางคพ.มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความรู้ ให้สถานประกอบการ สถานพยาบาล และโดยเฉพาะกิจการที่รับจ้างจัดเก็บขยะ จัดการมูลฝอยติดเชื้อ ขยะอันตรายนั้นจะต้องทำตามมาตรฐานการกำจัดอย่างเคร่งครัด” อปท.ต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ และส่งให้เอกชน เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป อบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมและเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ”ข้อมูลหน่วยงานจัดการขยะติดเชื้อ ของคพ. ระบุว่า ปัจจุบัน มีสถานที่กำจัดขยะทั่วประเทศกว่า 2,450 แห่ง จะเป็นการรองรับขยะมูลฝอยแบบฝังกลบเป็นส่วนใหญ่ จากปริมาณขยะทั่วประเทศ 27-28 ล้านตัน สามารถจัดการได้อย่างถูกต้องราวๆ7-8 ล้านตัน จาก 4-500 แห่งที่กำจัดอย่างถูกวิธี และจะเป็นกลุ่มขยะที่สามารถนำมารีไซเคิล ใช้ได้ อีกกว่า 4-5 ล้านตัน ประเภท กระดาษขวด พลาสติก เป็นต้น


สำหรับขยะอันตราย ขยะมูลฝอยติดเชื้อนั้นจะมีกิจการ เอกชน ที่ยื่นเรื่องขอประกอบการไม่มากนัก ส่งผลให้ อปท. ส่วนหนึ่งต้องจัดสรรงบ เพื่อบริหารจัดการ ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อเหล่านี้ เป็นจำนวนเพิ่มขึ้น และ บางส่วน จัดการ ฝังกลบขยะทั่วไปการจัดการกลุ่มขยะ อันตราย ขยะติดเชื้อในพื้นที่ได้ อย่างมีประสิทธฺภาพ ช่วย อปท. แต่ละแห่งประหยัดงบนั้น หัวใจสำคัญคือ ครัวเรือน ประชาชนต้องร่วมมือคัดแยกขยะ ทั้งขยะทั่วไป ขยะอันตรายประเภท ถ่านไฟฉาย,แบตเตอรี่, แบตมือถือ หรือช่วงโควิดระบาดก็จะเป็น หน้ากากอนามัย และสิ่งของเครื่องใช้แล้วทิ้ง(อาทิ ภาชนะบรรจุอาหารกล่อง) ของบุคคลในครัวเรือนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเฝ้าระวังกักตัวที่บ้าน ตามข้อกำหนดทางสาธารณสุข

ร่วมแสดงความคิดเห็น