โควิดล่อชาวบ้านเครียดหนัก วิกฤตเศรษฐกิจ กระทบครอบครัวร้าวฉาน หย่าร้างพุ่ง

เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขพื้นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัญหาโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ ส่งผลให้ชาวบ้าน เกิดความเครียดสูง กังวลสารพัดปัญหา ทั้งเรื่องงาน รายได้ การเรียนของลูกหลาน และจากการลงพื้นที่ ในชุมชนรับผิดชอบ นอกจากจะตรวจเยี่ยม ให้คำแนะนำ มาตรการสาธารณสุข เพื่อป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด -19 แล้ว

“ต้องช่วยรับฟังปัญหาความทุกข์ยากลำบาก ความเดือดร้อนของบางครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพค้าขาย ลูกจ้างทั่วไป ที่มีรายได้รายวันบางครอบครัว ค้าขายตามกาดนัด พอหยุดขายก็จิตตก กังวลสารพัด เกิดความเครียด หันดื่มหนัก ทะเลาะเบาะแว้งกัน ทาง อสม.ที่คุ้นเคยก็ทำได้แค่ปลอบใจ แนะนำกันไป ให้อดทนสู้ชีวิต” ทั้งนี้นักวิชาการ สถาบันศึกษาด้านสังคม มหาวิทยาลัยดัง ในเชียงใหม่ ระบุว่า จากการร่วมติดตาม ลงพื้นที่และประมวลข้อมูลเชิงสถิติ ทางสังคม พบเห็นปรากฎการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด คือ ความเครียดที่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ จากเครือข่าย ด้านสาธารณสุข แต่ละพื้นที่

ยอมรับเป็นอีกปัญหาที่สะสม มาต่อเนื่องตั้งแต่โควิด-19 ระบาดช่วง 1-2 และมารอบ 3 “ถ้าเจาะลึกข้อมูลด้านสถิติครัวเรือน ตั้งแต่ปี 2561-63 เฉพาะอัตราการสมรส 8 พันกว่ารายในเชียงใหม่ พบแนวโน้มการหย่าร้างเฉลี่ย 3,200-3,300 ราย ถ้าเทียบอัตราสมรสก็จะอยู่ที่ 4.5-4.7 ต่อประชากร 1 พันคน ส่วนการหย่าร้างอยู่ที่ 1.8-2 ในเกณฑ์เดียวกัน
เมื่อเทียบเคียงข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ที่สถาบันวิจัยและประชากร ม.มหิดล รวบรวมรายงานในมิเตอร์ประเทศไทยในภาพรวม ตั้งแต่ต้นปี 2564 ถึง 7 พ.ค. นี้ พบว่าคนไทยจดทะเบียนสมรส 118,441 ครั้ง หย่าร้าง 48,008 ครั้ง ข้อมูลอาจจะชี้ชัดไม่ได้ว่า ห้วงโควิดระบาด ส่งผลกระทบหรือไม่ แต่มองในแง่สถิติแล้ว การหย่าร้างของสังคมไทยถือว่าสูง”

อย่างไรก็ตาม ทีมข่าวตรวจสอบข้อมูล มิเตอร์ประเทศไทย ด้านประชากรศา สตร์ พบว่าแต่ 1 ม.ค. 2564 มีเด็กเกิดมาแล้ว 235,211 มีคนตายรวมทุกกลุ่มอายุ 190,534 คน ประชากรเพิ่มขึ้น 44,684 คน ขณะนี้ยังพบว่ามีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 12,441,139 คน ตั้งแต่ต้นปีนี้ อายุ 60 ปีขึ้นไปเสียชีวิตแล้ว 154,532 คน แต่อายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น 163,281 ส่วน อายุ 65 ปีขึ้นไป ขณะนี้มี 8,229,967 คน และอายุ 80 ปีขึ้นไปในขณะนี้ มี 1,394,465 คน นักวิชาการ สถาบันศึกษาด้านสังคม มหาวิทยาลัยดังในเชียงใหม่ ยืนยันว่า ปัจจุบันไทยมีวัยรุ่น (อายุ 10-19 ปี) ประมาณ 8.7 ล้านคน หรือร้อยละ 13 ของประชากรทั้งหมด กลุ่มวัยหนุ่มสาววัยสร้างครอบครัวมีจำนวนน้อยไม่สมดุลย์กับโครงสร้างประชากรที่สังคมไทย

ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชากรวัยแรงงาน (15-59 ปี) มีแนวโน้มลดลงในปี 2563 มีราวๆ 36.5 ล้านคน (ร้อยละ 56)
” โครงสร้างประชากร ใน จ.เชียงใหม่ ทั้ง 5 อำเภอ ที่มีประชากรกว่า 1,784,370 คน ถ้าประมวลผลเชิงโครงสร้าง
กลุ่มหนุ่มสาว วัยสร้างครอบครัว วัยทำงานแล้วน่ากังวล ยิ่งช่วงมีสถานการณ์โควิด-19 ระบาดแบบนี้ โดยรากฐาน ปัจจัยแวดล้อม ประกอบกันหลายด้าน ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ การแต่งงาน จะมีช่วงอายุสูงกว่าเกณฑ์ พอๆ กับการหย่าร้าง มีสูง แต่คงจะอิงฐานข้อมูลเกี่ยวข้องการแพร่ระบาดของโควิดคงไม่ได้ การหย่าร้าง มีหลายปัจจัยประกอบที่ทำให้คนที่เคยรักกัน แล้วอยู่ร่วมกัน เป็นครอบครัวต่อไปไม่ได้ อาจจะเพราะปัญหาการงานการเงิน ญาติพี่น้องก็ได้ แต่ที่ชัดเจนคือ การทะเลาะเบาะแว้ง ภาวะความเครียดกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น เข้าขั้นวิกฤต ต้องวางแผนรับมือ แก้ไขร่วมกับปัญหาอื่นๆ ด้วย”

ร่วมแสดงความคิดเห็น