‘เมื่อโลกไซเบอร์รังแกฉัน ผลกระทบและการป้องกันในเยาวชน ผ่านสื่อสร้างสรรค์’ แนวทางการรับมือในโลกสังคมออนไลน์

โครงการ “เมื่อโลกไซเบอร์รังแกฉัน : ผลกระทบและการป้องกันในเยาวชนผ่านสื่อสร้างสรรค์”  ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในปี พ.ศ. 2562

โดยมีผู้ร่วมทำการทำวิจัย ได้แก่ รศ.พิษณุ เจียวคุณ หัวหน้าภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,ดร.พงศ์ธร จันทร์เลื่อน ผู้อำนวยการ มูลนิธิเอ็มพลัส เชียงใหม่ ,นายณัฐวิทย์ คชินธนานันทน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) AI for Thai : Thai AI Service Platform และกลุ่มคณะทำงาน หลากหลายวิชาชีพ

ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การกลั่นแกลังในโลกออนไลน์ ได้แก่ การใช้ข้อความที่มีลักษณะรุนแรง หยาบคาย ข้อความที่แสดงการข่มขู่ หรือการก่อกวนคุกคาม รวมทั้งข้อความที่ แสดงออกถึงการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง ผ่านการแสดงความคิดเห็นทางยูทูป

และได้มีงานวิจัยที่นำเทคนิคการทำเหมือนข้อความ (Text Mining) มาใช้ใน การจำแนกกลุ่มข้อความที่พบในสื่อออนไลน์ เช่น Twitter โดยใช้เทคนิคการสร้าง แบบจำลองหัวข้อแบบไม่ต้องมีผู้สอน (Unsupervised Topic Modeling) รวมถึงมีงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้เทคนิคการจำแนกข้อความ (Text Classification) ในการจำแนกข้อความที่มีลักษณะของการกลั่นแกลังในโลกออนไลน์ หากสามารถนำเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning Technique) มาใช้ในการตรวจสอบคัดกรองข้อความ ว่าเข้าข่ายเป็นข้อความที่เป็นการกลั่นแกล้ง หรือไม่ จะช่วยให้สามารถตรวจจับเนื้อหาที่มีการล่วงละเมิดได้อย่างรวดเร็ว

สามารถนำไปสู่การพัฒนา เพื่อติดตั้งระบบปิดกั้นหรือกรองเนื้อหาอัตโนมัติ ก่อนที่จะถูกโพสต์ในเว็บไชต์ได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการแพร่กระจายของข้อความที่มี ลักษณะการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่ จะทำการศึกษาลักษณะของข้อความที่ มีการแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์ ยูทูป เพื่อค้นหารูปแบบของคำในข้อความที่เป็นการแสดงออกถึงการกลั่นแกล้ง ในโลกออนไลน์ โดยใช้เทคนิคการทำเหมือนข้อความ คู่มือการกันมือปัญหา การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์

ในการวิจัยได้ศึกษาผลกระทบจากการโดนกลั่นแกล้งในโลก online ซึ่งส่งผลกระทบได้แก่
1. ภาวะซีมเศร้า และอาการวิตกกังวล
2.ภาวะความเครียด

ในสื่อ “เมื่อโลกไซเบอร์รังแกฉัน ผลกระทบและการป้องกันในเยาวชนผ่านสื่อสร้างสรรค์” ที่นำเสนอยังได้ รวมรวมประสบการณ์ที่เคยถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ เช่น การส่งข้อความก่อกวน ข่มขู่ คุกคามต่างๆ การส่งข้อความล้อเลียน การโพสต์กล่าวร้าย นินทา ดูหมิ่นต่างๆ

และได้นำเสนอวิธีการรับมือการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ ซึ่ง เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทำให้มองเห็นถึงแนวทางการรับมืออย่างถูกวิธี และเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ

ผลตอบรับจากการวิจัยนี้ ปรากฎว่าจากการสำรวจและแบบสอบถามโครงการ ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งเด็กเยาวชน ที่เข้าร่วมการ work shop และผู้ปกครองที่ได้ชมการนำเสนอคู่มือดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันถือว่า ครอบครัวยังเป็นสถาบันหลักในการให้คำปรึกษาและสามารถเข้าใจผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแม้จริง อีกทั้งสื่อมีความสวยงาม รูปแบบเข้าใจง่าย ดูเข้าใจได้ง่ายจึงมีประโยชน์กับผู้ที่ได้รับชมสื่อ “เมื่อโลกไซเบอร์รังแกฉัน ผลกระทบและการป้องกันในเยาวชนผ่านสื่อสร้างสรรค์”

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ คู่มือเมื่อโลกไซเบอร์รังแกฉัน ผลกระทบและการป้องกันในเยาวชนผ่านสื่อสร้างสรรค์
สามารถกด สแกน QR-code หรือคลิก เข้าไปชมได้ที่ ?  http://www.ds.science.cmu.ac.th/CyberBully/book.html

ขอบคุณภาพ และข้อมูลจากทีมงานวิจัย “เมื่อโลกไซเบอร์รังแกฉัน ผลกระทบและการป้องกันในเยาวชนผ่านสื่อสร้างสรรค์”

ร่วมแสดงความคิดเห็น