ปภ.เตือน ง่วงจากการทานยา…ปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนที่ป้องกันได้

การง่วงแล้วขับรถเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะการทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท
จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการขับรถ และการตัดสินใจแก้ไขเหตุฉุกเฉินลดลง รวมถึงอาจจะเกิดอาการหลับใน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะ

ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอาการง่วงนอนขณะขับรถจากการทานยา ดังนี้
กลุ่มยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ได้แก่

  • ยาแก้ปวด มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง อาทิ ยาทรามาดอล (Tramadol) ยาอะมิทริปทัย (Amitrptyline) และ
    ยากาบ้าเพนติน (Gabapentin)
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ มีฤทธิ์ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการปวดตึง ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย อาทิ
    ยาโทลเพอริโซน (Tolperisone) และยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine)
  • ยาประเภทอื่น อาทิ ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด ยาแก้คัน ยาแก้เวียนศีรษะ ยาแก้เมารถ ยารักษาโรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ยาลดไขมันในเส้นเลือด
    ข้อห้ามในการทานยาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุง่วงแล้วขับ ให้ปฏิบัติ ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนก่อนขับรถ โดยเฉพาะยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้แพ้
    เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้
  • หลีกเลียงการดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังควบคู่กับยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เพราะอาจบีบหัวใจ กระตุ้นสมอง ตาค้าง มึนงง ทำให้เกิดอาการหลับในขณะขับรถได้
  • ห้ามทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะกรณีที่จำเป็นจะต้องขับรถ เพราะนอกจากจะมีอาการเมาและยังส่งผลให้เกิดอาการง่วงนอนเป็น 2 เท่า

ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุง่วงแล้วขับจากการทานยา ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • ปรับเวลาในการทานยาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการขับรถ โดยไม่ทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอนช่วงก่อนขับและขณะเดินทาง ควรจะทานยาเมื่อถึงจุดหมายหรือเปลี่ยนเวลาทานยาเป็นช่วงก่อนนอน ร่างกายจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
  • สังเกตอาการข้างเคียงจากการทานยาในระยะแรก โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอน หากขับรถจะเสี่ยงต่อการหลับใน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • กรณีทานยาไปแล้วมีอาการง่วงนอน ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อปรับเปลี่ยนชนิดของยา ลดปริมาณยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน
  • กรณีทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ควรใช้บริการรถสาธารณะหรือให้ผู้อื่นขับรถแทน
  • หากขณะขับรถมีอาการง่วงนอนจากการทานยา ควรจอดพักในที่ปลอดภัย รอจนยาหมดฤทธิ์แล้วค่อยขับรถไปต่อ ไม่ควรฝืนขับรถในขณะที่มีอาการง่วงนอน เพราะจะทำให้เกิดอาการหลับใน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
    ปัจจัยที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา ได้แก่
  • การได้รับยามาก่อน เช่น ในกลุ่มคนที่มีภูมิแพ้และทานยาแก้แพ้ประจำ อาจเกิดอาการง่วงนอนน้อยกว่าคนอื่นคนที่
    ไม่เคยทานยามาก่อน
  • การพักผ่อน หากเป็นช่วงที่อดนอนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการง่วงนอนง่ายกว่าปกติ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หากดื่มร่วมกับการทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาทจะทำให้ง่วงหลับไหนได้

ทั้งนี้ หากจำเป็นจะต้องทานยาในช่วงก่อนขับรถ ควรศึกษาผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการใช้ยาอย่างละเอียด
ซึ่งยาส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ภายใน 1 ชั่วโมง และมีฤทธิ์คงอยู่อย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง ดังนั้น ผู้ขับขี่ควรจะวางแผนการทานยา

ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการง่วงนอนในขณะขับรถจากการทานยา หากทานยาที่มีฤทธิ์ ทำให้เกิดอาการง่วงนอนควรรอให้ยาหมดฤทธิ์ ก่อนแล้วค่อยขับรถ เพื่อมิให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น