ข่าวดีชาวสวนลำไย ! แนวโน้มฤดูกาลนี้สดใส ตลาดส่งออกรับไม่อั้น พาณิชย์คาดโทษล้งกดราคาชาวสวน

คณะกรรมการพัฒนาข้อมูลด้านการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยข้อมูล สถานการณ์ลำไย
ในภาพรวมปี 2564ว่าเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว การราดสารบังคับให้ออกผลในช่วงต้นปี 2564 ส่งผลให้สัดส่วนผลผลิตนอกฤดูลดลงจากปีที่แล้ว (ช่วง ม.ค.-พ.ค. และช่วง ต.ค.-ธ.ค.) ส่วนผลผลิตในฤดู (ช่วง มิ.ย.-ก.ย.) จะออกมากในช่วง ส.ค. “พื้นที่ปลูกทั้งประเทศปีนี้มีราวๆ 1,652,829 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.36 จากเดิมปีที่แล้วมีกว่า 1.58 ล้านไร่ ปีนี้คาดว่าจะให้ผลผลิต 991,430 ตัน โดย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วยเชียงใหม่,ลำพูน,เชียงราย,ลำปาง,พะเยา,แม่ฮ่องสอน,น่าน,ตาก ให้ผลผลิตรวมประมาณ 979,371 ตัน จะมากสุดในเชียงใหม่และลำพูน

ทั้งนี้ปีนี้จะเป็นผลผลิตในฤดูถึง 689,013 ตัน ส่วนนอกฤดูราวๆ 290,358 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 718 กก.ต่อไร่ นับว่าปริมาณผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งโดยเฉลี่ยผลผลิตทั่วประเทศจะอยู่ที่ 856 กก.ต่อไร่ และน่าสนใจว่า ภาคกลางปีนี้ มีพื้นที่ปลูกกว่า 402,292 ไร่ ให้ผลผลิตสูงถึง 403,322 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,003 กก.” อย่างไรก็ตามกลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไย ภาคเหนือตอนบน เปิดเผยว่า แม้ผลผลิตลำไยในภาพรวมปีนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีพื้นที่ปลูกเพิ่มซึ่งให้ผลแล้ว จากปีที่แล้ว 3 0,965 ไร่ไร่ ปีนี้มี 33,245ไร่ และภาคกลางจากเดิมปีที่แล้ว 397,224 ไร่ ปีนี้ 402,292 ไร่ และผลผลิตต่อไร่สูงกว่าทุกภาค

“ในด้านรสชาติ คุณภาพลำไยนั้น ลำไยภาคเหนือ โดยเฉพาะที่มาจากลำพูน,เชียงใหม่ ยังติดอันดับความ
ต้องการของตลาดหลักๆ เช่น จีน ที่เป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงกว่าแหล่งอื่น” ด้านผู้ประกอบการรับซื้อลำไย เพื่อส่งออก ในพื้นที่ เชียงใหม่,ลำพูน เปิดเผยว่า ช่วงโควิด 19 ระบาดและจีนซึ่งสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ประชาชนจะหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น จะเห็นได้จากช่วง มิ.ย.-ส.ค.นี้ เป็นฤดูกาลพืชตระกูลแตง ผลไม้เพื่อสุข ภาพไม่ว่าจะเป็น แตงโม,แคนตาลูป,พีช,ท้อ,สาลี่ ขายดี และลำไย ที่เริ่มทยอยออกนอกฤดู ช่วงต้นปี ก็ มีออเดอร์เข้ามาไม่ขาดสาย แม้จีนจะมีแหล่งปลูก แต่ก็ไม่เพียงพอ ดังนั้นแนวโน้มฤดูกาลนี้ น่าจะมีข่าวดี เป็นรอบปีที่สดใส กับลำไยบ้านเรา แต่ปัญหา ด้านการขนส่ง ผผลิตไปยังตลาด โดยช่วงพ.ค.-ปลายส.ค.นั้น กลุ่มตลาดโซนเอเชียใต้ ไม่ว่าจะเป็น
อินเดีย,อินโดนีเซีย,มาเลเซีย ซึ่งนิยมรับประทานลำไยเพื่อสุขภาพ อาจจะมีปัญหาด้านโลจิสติกส์ ตู็คอนเทนเนอร์ และ ตารางเดินเรือบ้าง ถ้าสามารถแก้ไขปัญหาระบบขนส่ง ทางเรือ หรือแม้แต่ ขนส่งผ่านด่านหลักๆไปยังตลาดจีน ตามหัวเมืองต่างๆรวดเร็วขึ้น จะส่งผลดีต่อการตลาดลำไยไทยปีนี้

“ต้องยอมรับว่าช่วงโควิด-19 การขนส่ง ทั้งระบบ เข้ามาบ้านเราน้อย ทำให้ ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ซึ่ง
ทางพาณิชย์ เร่งแก้ไขแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะต้องฝากไว้ที่ การตรวจผลผลิตแต่ละจุดส่งออก เพราะตัวอย่างที่ผู็ค้ประสบช่วงทุเรียน,แตงโม ก็เห็นกันมาแล้ว ทำให้ผลผลิตเสียหายบางส่วน เนื่องจากรถหัวลากตกค้าง มีการปรับเปลี่ยน ระเบียบ ในการนำเข้า ส่งออก ระหว่างจุดผ่านพิธีการ ที่มีการตรวจคัดกรองที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งเข้าใจว่า เพื่อควบคุม ป้องกันการแพร่กระจายของโควิด ทำให้การจราจรเขตชายแดนหนาแน่น” ล้งส่งออกผลไม้ ในพื้นที่ ลำพูน กล่าวว่า ทางหน่วยงานของรัฐ ทั้งพาณิชย์, การค้า, ได้ขอความร่วมมือในเรื่องกลไก ด้านราคา ที่เป็นธรรม ต่อผู้ค้า ทั้งระบบ ซึ่งล้งส่วนน้อยเท่านั้น ที่ไม่ทำตามกฎกติกาปีนี้ เป็นปีที่ชาวจีน จะนิยมบริ โภค ผลไม้เพื่อสุขภาพ จะเห็นได้จากทุเรียน ที่ ออเดอร์ ส่งออกแทบไม่พอกับความต้องการ และในส่วนลำไยนอกฤดู ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นๆตามล้งต่างๆ หาของยาก เนื่องจาก วิสาหกิจชุมชน บ้านเราเข้มแข็ง ทำการตลาดหลากรูปแบบทั้ง แปรรูปผลิตภัณฑ์ และ ส่งตรง กับ แหล่งซื้อในประเทศ ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

“ดังนั้นลำไย ฤดูกาลนี้ ที่จะเริ่มทยอยออกช่วง กลางๆเดือนหน้า ไล่ไปจนถึง สค.นี้ ราคา น่าจะปรับตัวสูงกว่า
ปกติ แม้ผลผลิตจะออกมามากกว่าเดิมร้อยละ 21 ก็ยังไม่มาก เมื่อสำรวจ ข้อมูล แหล่งรับซื้อจากตลาดหลักๆที่ มีความต้องการผลไม้ บริโภคเพื่อฟื้นฟูบำรุงร่างกาย ดูแลสุขภาพ” ด้านกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ได้ถอดบทเรียนจากกรณีมีการร้องเรียนพฤติการณ์ล้งในประเด็นการกำหนดระดับคุณภาพ ปรับลดราคาซื้อ และการไม่เข้าเก็บลำไยตามสัญญา ในบางพื้นที่ภาคตะวันออก ช่วงผลผลิตนอกฤดูทยอยออกมา ต้นปีนี้อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ซึ่งมีโทษทั้งจำคุกและปรับ

และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้มีประกาศเรื่อง แนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ ซึ่งการปฏิบัติของผู้รับซื้อผลไม้ที่อาจเข้าข่ายเป็นพฤติกรรมที่มิใช่การประกอบธุรกิจที่เสรีและเป็นธรรมอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร “ใช้เทคนิคชะลอการเข้าเก็บผลไม้ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรรับซื้อแบบเหมาสวน ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ให้ผู้รับซื้อรายอื่นได้หรือขายได้ในราคาที่ลดลง เกษตรกรผู้เสียหายสามารถร้องเรียนแจ้งข้อเท็จจริง

และรายละเอียดของการกระทำความผิดได้โดยผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าว ต้องระวางโทษต้องชำระค่าปรับทางปกครอง ในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด อัตราไม่เกิน 1 ล้านบาท หากมีพฤติกรรมการเอาเปรียบด้านน้ำหนักสินค้า หรือใช้กลวิธีในการเอาเปรียบเกษตรกรผู้ขายสินค้า เข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 280,000 บาท

นอกจากนี้ หากผู้รับซื้อไม่ แสดงราคารับซื้อให้เกษตรกรรับทราบเพื่อตัดสินใจก่อนขาย หรือรับซื้อไม่ตรงกับ
ราคา มีพฤติกรรมจงใจที่จะทำให้ราคาต่ำเกินสมควรหรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคา มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้พบเห็นพฤติกรรมของล้งตามที่กล่าว สามารถร้องเรียนได้ทางสายด่วน 1569 หรือร้องเรียนได้ โดยตรง ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด จะมีเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายทันที

ร่วมแสดงความคิดเห็น