5 สัญญาณเตือน อาการโรคซึมเศร้า และวิธีรับมือ ช่วยลดความสูญเสีย

5 สัญญาณเตือน อาการโรคซึมเศร้า การเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียล

ซึ่งสัญญาณเตือนผ่านการเขียนระบายในรูปแบบของข้อความ หรือการโพสต์ ลงในสื่อโซเชียล บ่งบอกว่ากำลังมีอาการ ของโรคซึมเศร้า ในสภาวะโควิด-19 แบบนี้ หลายคนเครียดจากปัญหาหลายอย่าง
จึงขอแนะนำให้คนใกล้ชิด ครอบครัว หรือคนรอบข้าง ให้ช่วยกันสังเกต5 สัญญาณเตือน อาการโรคซึมเศร้า การเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียล เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในสังคมไทย ดังนี้
1.การโพสต์ข้อความสั่งเสียเป็นนัยๆ เช่น ขอบคุณ ขอโทษ ลาก่อน
2. โพสต์ข้อความพูดถึงความตาย หรือไม่อยากอยู่อีกต่อไปแล้ว
3. โพสต์ข้อความว่า ตนเองรู้สึกผิด รู้สึกตนเองล้มเหลว รู้สึกหมดหวังในชีวิต
4. โพสต์ข้อความพูดถึงความเจ็บปวด และ
5. โพสต์ข้อความว่าตนเองเป็นภาระของผู้อื่น

  • หากคนใกล้ชิด คนในครอบครัว หรือคนรอบข้าง มีลักษณะอาการข้างต้นทางนักจิตวิทยา แนะนำให้ รีบเข้าไปพูดคุย ทำความเข้าใจ รับฟังปัญหา เผื่อจะช่วยให้เขาเหล่านั้น สบายใจขึ้น หรือพาปรึกษาแพทย์

    สิ่งที่ควรทำ เมื่อคนรอบข้างมีอาการ โรคซีมเศร้า1. พูดคุยชี้ให้ผู้ป่วยให้เห็นมองเห็นข้อดีของตัวเองเสมอ เพราะหัวใจของการรักษาโรคซึมเศร้า คือการที่ผู้ป่วยต้องมองเห็นคุณค่าในตัวเอง
    2. ชวนผู้ป่วยให้ลุกมาทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นเล่นกีฬาเบาๆ เล่นเกมส์ ทำงานคราฟท์ ช่วยหลั่งสารความสุขอย่างเอ็นโดรฟินออกมา ให้ผลใกล้เคียงกับการใช้ยาเลย
    3. ฟังด้วยความตั้งใจ และท่าทีที่สบายๆ ไม่คะยั้นคะยอ และไม่ตัดสินใจแทน นั่นเพราะผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีความคิดว่าตัวเองเป็นที่น่ารำคาญ หรือเป็นภาระให้คนอื่นอยู่แล้ว

    สิ่งที่ไม่ควรทำ
    • อย่าบอกปัด ผู้ป่วยให้ไปเข้าวัดฟังธรรมหรือทำจิตใจให้สงบ โดยไม่อยู่เคียงข้างพวกเขา เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกทันทีว่าไม่มีที่พึ่งพา หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่น่ารำคาญ
    • อย่าทำเป็นไม่ได้ยิน หรือไม่อยากพูดถึงเมื่อผู้ป่วยพูดถึงการอยากตาย หลายๆ คนคิดว่าการเอ่ยหรือพูดคุยถึงเรื่องการฆ่าตัวตายกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจเป็นแนวโน้มให้ผู้ป่วยอยากทำ หรือชี้โพรงให้กระรอก แต่ในความเป็นจริงแล้วหากผู้ป่วยเอ่ยถึงการอยากตาย แล้วคนใกล้ตัวกลับมีท่าทีต่อต้าน หรือทำเป็นไม่สนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเลิกคิด หรือมีคำพูดทำนองว่า “อย่าคิดมาก” “อย่าคิดอะไรบ้าๆ” ยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงอย่างมากว่าเราไม่รับฟังสิ่งที่เขารู้สึกคับข้องใจ ไม่มีวันจะเข้าใจเขาจริงๆ
    • อย่ากดดันและเร่งรัด ถ้าผู้ป่วยยังอาการไม่ดีขึ้น ห้ามพูดหรือทำให้พวกเขารู้สึกว่า “เมื่อไหร่จะหาย” หรือ “หายได้แล้ว” เพราะผู้ป่วยจะยิ่งรู้สึกกดดัน และผิดหวังว่าตนเองเป็นที่น่ารำคาญ หรือเป็นภาระ และหากอาการเพิ่งเริ่มดีขึ้น ความเครียดเหล่านี้จะยิ่งส่งผลให้จิตใจแย่ลง และอาจเป็นหนักกว่าเดิม

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น