มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant L- A

คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่

ที่ ๖๒ /๒๕๖๔

เรื่อง มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant L- A

ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

เชียงใหม่ ที่ ๑๗/๒๕๖๔ เรื่อง ผ่อนคลายการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว เข้า – ออก พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นั้น เนื่องจากขณะนี้พบการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในแคมป์ก่อสร้าง ใน

พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้น คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่จึงเห็นสมควรกำหนด

มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในแคมปัก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๒๒ และมาตรา ๓๔ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘

ประกอบกับข้อ ๗ (๑) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ

ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๙ ของข้อกำหนดออก

ตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๐)

ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ผู้ว่าราชการจังหวัดเซียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อ

จังหวัดเชียงใหม่ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเซียงใหม่ตามมติที่ประชุมครั้งที่

๘๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ จึงออกคำสั่ง ดังนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ๑๗/๒๕๖๔ เรื่อง ผ่อนคลาย

การเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว เข้า – ออก พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

ข้อ อ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว

Non -Immigrant L- A จากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ที่จะเดินมาจากพื้นที่อื่น เข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ โดยถือปฏิบัติ ดังนี้

ข้อ ๓ กรณีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant L- A

๓.๑ แรงานต่างด้าวจะต้องเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย นายจ้างจะต้องมีชื่อตรง

กับที่แจ้งไว้กับนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเท่านั้น และมิใช่

แรงงานต่างด้าวตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ

สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ ฉบับลงวันที่ ๓0 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

๓.๒ นายจ้างจะต้องยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่ ณ สถานที่ทำงาน

ของแรงงานต่างด้าวนั้นตั้งอยู่ ส่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการ โดยต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้

๑) สำเนาหนังสือสัญญาจ้างงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงบัญชีรายละเอียด

ข้อมูลของแรงงานต่างด้าวที่จะทำการเคลื่อนย้าย

๒ สำเนาหนังสือเดินทางและหน้ารอยตราประทับการอนุญาตให้อยู่ใน

ราชอาณาจักร สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือสำเนาบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

๓) เอกสารหลักฐานระบุที่พักอาศัยที่ชัดเจนภายในจังหวัดเชียงใหม่

๓.๓ นายจ้างต้องยื่นผลการตรวจหาสารพันธุ์กรรมเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี RT- PCR

ของลูกจ้างที่ตรวจ ภายใน ๗๒ ชั่วโมง ก่อนการเดินทางเข้าจังหวัดเชียงใหม่

๓.๔ เมื่อเดินทางมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ให้นายจ้างนำพาแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้า

มาไปรายงานตัวต่อสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่ ณ สถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าวนั้นตั้งอยู่

ข้อ < กรณีแรงงานต่างด้าวประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant L- A ที่จะเดินทางออกไป

ทำงานในจังหวัดอื่นๆ นายจ้างต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจในพื้นที่ โดยแสดง

จุดหมายปลายทางสถานที่ที่จะไปทำงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ตามแบบที่กำหนดท้ายคำสั่งฉบับนี้

ข้อ ๕ กรณีแรงงานต่างด้าวประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant L- A ที่จะเดินทางไป-กลับ

ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับจังหวัดลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน ให้ขออนุญาตต่อศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ

โดยนายจ้างจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่มีความจำเป็นต้องเดินทางลักษณะไป-กลับ เป็นกิจวัตร ระหว่าง

จังหวัดเชียงใหม่กับจังหวัดดังกล่าวข้างต้น และดำเนินการตามข้อ ๓.6 โดยอนุโลม และศูนย์ปฏิบัติการควบคุม

โรคอำเภอ ออกหนังสือหรือเอกสารรับรองให้แก่บุคคลดังกล่าวตามแบบที่กำหนดท้ายคำสั่งฉบับนี้ เพื่อแสดง

ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/ด่านคัดกรอง

ข้อ ๖ เมื่อแรงงานต่างด้าวเข้าไปสถานที่ทำงานก่อสร้างหรือแคมป์แรงงานแล้ว ห้ามการ

เคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวและครอบครัวออกนอกเขตอำเภอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ให้ยื่นคำขอต่อ

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่พิจารณากลั่นกรองแล้ว ขออนุญาตต่อหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค

ในพื้นที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต้องเป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อด้วย แบบ

หนังสืออนุญาตให้ใช้แบบหนังสืออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดโดยอนุโลม

ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง มีหน้าที่จัดทำมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด – 19

ในสถานที่ทำงานก่อสร้างและแคมป์แรงงานก่อสร้างอย่างน้อย ดังนี้ จัดทำทะเบียนคนงานและครอบครัวที่พัก

อาศัย การแยกที่พักคนงานก่อสร้างให้มีห้องน้ำในตัว การจัดน้ำดื่มและภาชนะในการบริโภคไมให้แรงงานใช้

ร่วมกัน จะต้องจัดพื้นที่ให้เพียงพอมิให้เกิดความแออัด รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด (D-M-H-T-T-A

การกำหนดให้มีอาสาสมัครในแคมป์ก่อสร้างทำหน้าที่เฝ้าระวังการป่วยและการติดเชื้อ ทั้งนี้ ให้อาสาสมัคร

ดังกล่าวจัดทำรายงานเป็นประจำทุกวันให้หัวหน้าคนงานทราบและเก็บไว้เป็นหลักฐาน สำหรับพนักงาน

เจ้าหน้าที่เรียกตรวจ

อนึ่ง การดำเนินการตามคำสั่งนี้ เป็นไปตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง

ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรา ๑๖ ของพระราชกำหนดดังกล่าว

ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท ตามมาตรา ๕๑ แห่ง

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

สั่ง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

(นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์)

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่

ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดเชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น