(มีคลิป) น่าน จัดประชุมถอดบทเรียน หลังปฏิบัติการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2564

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2556  เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน นายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานการประชุมถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง ภาคเหนือ ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (Video Tele Conference : VTC) ระบบ ZOOM ถ่ายทอดจากห้องติดตามสถานการณ์ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 (ศปก.ทภ.3) ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก โดยมีพล.ท.อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานการประชุม

จังหวัดน่าน โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน จัดประชุมถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง ภาคเหนือ ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (Vid eo Tele Conference : VTC) ระบบ ZOOM ถ่ายทอดจากห้องติดตามสถานการณ์ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 โดยมีนายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานการประชุมฯ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรองผู้อำนวยการ กอ.รมน.จังหวัดน่าน (ฝ่ายทหาร) หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดน่าน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดน่าน เกษตรจังหวัดน่าน ขนส่งจังหวัดน่าน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน สาขาเชียงกลาง และสาขานาน้อย โดยได้สรุปการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กจังหวัดน่าน ปี 2564 ดังนี้

สถานการณ์ค่าฝุ่นละอองและจุดความร้อน (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 พ.ค. 2564) คุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดน่าน ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่าเกินมาตรฐาน จำนวน 46 วัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน จำนวน 79 วัน จุดความร้อน (Hotspots) จากระบบดาวเทียม VIIRS รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,656 จุด (ปี 2563 จำนวน 7,523 จุด)  โยมีเป้าหมายการดำเนินงาน จุดความร้อน (VIIRS) และ PM 2.5 มีค่าลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 (เปรียบเทียบกับปี 2563) Hotspot/VIIRS ไม่เกิน 5,266 จุด จำนวนวันค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ไม่เกิน 55 วัน

กำหนดกลไกการดำเนินงาน คือศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดปฏิบัติการระดับหมู่บ้านในการขับเคลื่อนการปฏิบัติ กำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนถึงระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน โดยการจัดชุดปฏิบัติการหมู่บ้าน เข้าไปถึงยังจุดที่ก่อให้เกิดการเผาหรือการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ได้อย่างครอบคลุมในทุกพื้นที่ ตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ภายใต้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาพถ่ายดาวเทียม การใช้ระบบ Application ต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาในการเสริมประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพอากาศ ตลอดจนการบัญชาการดับไฟป่า เพื่อสนับสนุนระบบการบัญชาการเหตุการณ์ และใช้เป็นข้อมูลให้ผู้อำนวยการในแต่ละระดับในการอำนวยการ สั่งการ และแจ้งเตือนประชาชน

นอกจากนี้ มีการประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดน่าน เพื่อติดตามแผนงาน/ผลการดำเนินการของศูนย์ บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ หน่วยงานที่รับผิดชอบตามภารกิจ เป็นประจำ การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) มอบหมายภารกิจให้หน่วยงาน การควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ ให้สำนักงานขนส่ง จังหวัดน่าน/ตำรวจภูธรจังหวัดน่าน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ดำเนินการตรวจวัดควันดำรถบรรทุก จำนวน 365 คัน ไม่พบรถควันดำเกินเกณฑ์มาตรฐาน การควบคุมและลดมลพิษจากการก่อสร้าง ให้แขวงทางหลวงน่านที่ 1, 2 แขวงทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ การควบคุมและลดมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม ให้อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ดำเนินตรวจวัดควันดำโรงงานในพื้นที่จังหวัดน่าน การควบคุมและลดมลพิษจากภาคครัวเรือน ให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

โดยปีนี้ได้ลดปริมาณเชื้อเพลิง จัดทำแนวกันไฟในพื้นที่ป่า รวมจำนวน 480 กิโลเมตร ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 200 ชุมชน ใช้เศษวัสดุทางการเกษตร จำนวน 14,7000 ตัน อัดฟางก้อนเพื่อจำหน่าย จำนวน 3 ชุมชน อัดฟางก้อนได้ จำนวน 10,000 ก้อน และส่งเสริมการผลิตน้ำหมัก พด. 2 จำนวน 2,411 ลิตร ไถกลบตอซังและวัสดุทางการเกษตรเป็นพื้นที่ 6,994 ไร่ ส่งเสริมชุมชนเกษตรปลอดการเผา (23 ชุมชน ในพื้นที่ 7 อำเภอ 9 ตำบล) ต่อเนื่องในปี 2562-2564

ทั้งนี้ ได้กล่าวถึงปัจจัยความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง จังหวัดน่าน ปี 2564 โดยได้รับบัญชาการจากผู้อำนวยการจังหวัด บูรณาการทุกภาคส่วน โดยเน้นการใช้กลไกการบัญชาการเหตุการณ์ สั่งการให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ ดำเนินการบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ และใช้กลไกชุดปฏิบัติการระดับตำบล ดำเนินการในพื้นที่เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ ทั้งในช่วงก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย และมีการตรวจสอบการเกิดจุดความร้อนทุกครั้ง เมื่อได้รับการแจ้งข้อมูลจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการงดเว้นการเผา มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบในการเกิดปัญหาไฟป่าหมอกควันในครั้งนี้

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น

ร่วมแสดงความคิดเห็น