อธิบดีกรมสุขภาพจิต ติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ภายใต้กิจกรรม 4 Plilar

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 30 มิ.ย.2564 ทางแพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิตพร้อมคณะฯ ติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ภายใต้กิจกรรม 4 Plilar ณ ห้องประชุมจามเทวี ศาลากลางจังหวัดลำพูน ถนนอินทยงยศ ตำในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และประชุมติดตามผลการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชนในโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย (๔ pillar) จังหวัดลำพูน นอกจากนี้ ยังได้มีการอภิปรายหัวข้อการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายประเด็น


1. นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายของจังหวัดลำพูน
โดย นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
2. สถานการณ์การฆ่าตัวตายของประเทศไทย และแนวทางแก้ไขปัญหา
โดย แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต
3. บทบาทของพระสงฆ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย
โดยพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยใช้ลำพูนโมเดล (4 pillar)


โดย นายแพทย์สุผล ตติยนันทพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำพูน
ดำเนินรายการ โดย นายแพทย์ กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง และ นางบุษบา อนุศักดิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

จากนั้น อธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมคณะฯ เดินทางไปยังเทศบาลตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชน และ มอบทุนประกอบชีพให้กับผู้เปราะบาง โดย แพทย์หญิงพรรณพิมลฯ ก่อนเดินทางกลับ

นางพรรณพิมล อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า “จากสถานการณ์การฆ่าตัวตายประเทศไทย ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา พบมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากรสูงอยู่ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง , 2540 โดยในปี 2540-2542 พบร้อยละ 6.92-8.12 และสูงสุดในปี 2542 ร้อยละ 8.59 ส่วนในปี 2563 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ต่อแสนประชากร อยู่ที่ร้อยละ 7.37 และจากการรวบรวมข้อมูลตามเขตสุขภาพ ในช่วงเดือน ตุลาคม 2563 ถึง พฤษภาคม 2564 พบเขตสุขภาพที่ 18 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) มีอัตราการฆ่าตัวตายสําเร็จต่อแสนประชากร ร้อยละ 10.01 และ สูงสุดในจังหวัดลำพูน ถึงร้อยละ 14.22”

สำหรับ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายและการลดอัตราการฆ่าตัวตายจะสำเร็จได้นั้น เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยมีคณะกรรมการระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ภาคส่วนต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันช่วยเหลือ ค้นหา ผู้ที่มีความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในกลุ่มนายจ้าง ลูกจ้าง และแรงงานในชุมชน ด้วยการใช้เครื่องมือ Mental Health Check-In เพื่อตรวจเช็คสุขภาพใจ สำรวจผู้ที่มีภาวะเครียด ซึมเศร้า ภาวะหมดไฟ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยข้อมูลที่ได้จะส่งต่อทีมสุขภาพจิตให้คำปรึกษา จะลดผลกระทบดังกล่าวได้ หรืออีกหนึ่งช่องทางการติต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต สามารถติดต่อสายตรง 1323 หรือปรึกษาช่องทางออนไลน์ผ่านแฟนเพจ Facebook สายด่วนสุขภาพจิต 1323

ทั้งนี้ การใช้วัคซีนใจในชุมชน 4 สร้าง 2 ใช้ คือ สร้างชุมชนปลอดภัย สร้างชุมชนให้สงบ สร้างชุมชน ให้มีความหวัง สร้างชุมชนที่เข้าใจและให้โอกาส ใช้ศักยภาพชุมชน และใช้สายสัมพันธ์ในชุมชน รวมถึงการสอดส่อง มองหา ใส่ใจรับฟัง และส่งต่อเชื่อมโยง ในหลัก 3 ส. จะช่วยส่งเสริมป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายได้อย่างยั่งยืน..อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยในที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น