ลำพูนยืนยันไม่พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดาในประเทศไทย ยินดีต้อนรับ คนลำพูนกลับบ้าน

เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2564 ที่ ศาลาประชาคม ศาลากลางจังหวัดลำพูน นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้ นายแพทย์โภคิน ศักรินทร์กุล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลลำพูน แถลงข่าวสถานการณ์โควิด 19 ประจำวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ของจังหวัดลำพูน พบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมจำนวน 2 ราย ทำให้จังหวัดลำพูนมียอดสะสมตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ถึง 7 กรกฎาคม สะสมจำนวน 305 ราย อยู่ระหว่างการรักษา จำนวน 12 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 295 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 6 ราย

 

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลลำพูน เปิดเผยว่า สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของจังหวัดลำพูนนั้น จังหวัดลำพูนได้วางมาตรการไว้เป็นอย่างดี รวมถึงได้จุดรับประสานงาน “ รับคนลำพูนกลับบ้าน” กรณีทราบผลว่าติดเชื้อแล้วต้องการสถานที่รักษา โดยจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดลำพูนเท่านั้น ห้ามเดินทางมาเองโดยไม่ได้รับการประสานงานแจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า หากประสงค์มารับการรักษาที่จังหวัดลำพูน ให้ติดต่อ “ศูนย์ประสานงานรับคนลำพูนกลับบ้าน” โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน สามารถติดต่อได้ในวันและเวลาราชการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08:30-16:30 น. (เว้นวันหยุดราชการ) หมายเลขโทรศัพท์ 062-0437444 และ 062-0197187

 

 

“สำหรับจังหวัดลำพูนวันนี้ พบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมจำนวน 2 ราย ประกอบด้วย ผู้ป่วย LPN18 เป็นหญิง อายุ 29 ปี อาชีพ พนักงานบริษัท (มีประวัติกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงควบคุมสูงสุด (กรุงเทพมหานคร) โดยวันที่ 21 มิถุนายน เพื่อนร่วมงานแจ้งข้อมูลว่าติดเชื้อ โควิด-19 จึงกลับไปกักตัวที่บ้านพัก(คนเดียว) ต่อมาวันที่ 26 มิ.ย.64 เข้ารับการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 โดยบริษัทได้จัดเจ้าหน้าที่มาตรวจให้และเดินทางกลับที่บ้านพักรอผลตรวจ ในวันที่ 28 มิ.ย. ได้รับแจ้งว่า ผลตรวจ ไม่พบเชื้อ โควิด-19 จึงกักตัวอยู่ที่บ้านต่อ 1 ก.ค. กักตัวอยู่ที่บ้านคนเดียว จากนั้นเริ่มมีอาการไอ ไม่มีหายใจเหนื่อยหอบ หลังจากนั้น 4 กรกฎาคม โทรศัพท์กลับมาแจ้งทางบ้าน ว่าจะเดินทางกลับมาบ้าน ที่อำเภอบ้านโฮ่ง ครอบครัวจึงแจ้ง ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่โรวพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.) จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จึงได้โทรประสานกับงานระบาดฯ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง 5 กรกฎาคม เวลา 09:00 น. ผู้ติดเชื้อได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ โดยรถยนต์รับจ้างส่วนบุคคล นั่งกระบะหลัง ไม่แวะที่ใด ระหว่างการเดินทาง เจ้าหน้าที่งานระบาดฯ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง โทรสอบถามอาการพบว่ามีอาการไอ ร่วมกับมีอาการหายใจเหนื่อยแต่ไม่หอบ จึงให้มารับการตรวจรักษาที่ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง โดยไม่ให้แวะเข้าบ้าน จนถึงเวลา 18:30 น. เดินทางมาถึง โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง แพทย์ตรวจร่างกายแล้ว พบความผิดปกติ จึงส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลลําพูน จากนั้น วันที่ 6 กรกฎาคม โรงพยาบาลลําพูน แจ้งผลตรวจพบเชื้อ โควิด-19 จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลําพูน”

 

 

 

“สำหรับผู้ป่วย LPN319 เป็นผู้ป่วยชาย อายุ 43 ปี สถานะว่างงาน (มีประวัติกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงควบคุมสูงสุด(กรุงเทพมหานคร) โดยวันที่ 3 กรกฎาคม ได้นําสัตว์เลี้ยงและของไปฝากที่บ้านแม่ จังหวัดนนทบุรี จากนั้นกลับมาพักที่คอนโดมิเนียม เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ จากนั้นวันที่ 4 กรกฎาคม เวลา 10:30 น. เดินทางไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 12:30 น. เดินทางมาถึงท่าอากาศจังหวัดเชียงใหม่ โดยสายการบิน Thai VietJet Air เที่ยวบิน VZ-104 ที่นั่ง 14B จากนั้นเวลา 13:40 น. ถึงท่าอากาศยานจังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นรถยนต์โดยสารไม่ประจำทาง แวะซื้อของใช้ที่ห้างฯแม็คโคร สาขาหางดง ประมาณ 5 – 10 นาที และกลับบ้านที่จังหวัดลําพูน(เสี่ยงต่ำ) วันที่ 5 กรกฎาคม เข้ารับการตรวจคัดกรอง โควิด-19 ที่ โรงพยาบาลลําพูน และในวันที่ 6 กรกฎาคม ทราบผลตรวจยืนยันพบเชื้อ โควิด-19 และจึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลําพูน”..

 

นายแพทย์โภคินฯ ยังได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “สำหรับผู้ป่วยรายที่เดินทางกลับมาบ้านทั้งหมด จำนวน 12 ราย ได้เข้ารับการรักษาเป็นที่เรียบร้อย มีอาการไม่รุนแรง ปัจจุบันอยู่ในห้องแยกโรค ไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ ในขณะนี้ยืนยันว่าจังหวัดลำพูนมีเตียงเพียงพอสำหรับรองรับผู้ป่วย โดยแบ่งเป็นโรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน 130 เตียง โรงพยาบาลภาคเอกชนเอกชน จำนวน 76 เตียง และได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะเปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มอีกจำนวน 130 เตียง
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าในขณะนี้จังหวัดลำพูน ยังไม่มีการพบคลัสเตอร์ใหม่แต่อย่างใด ขอให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน โควิด-19 อย่างเคร่งครัด เนื่องจากปัจจุบันได้มีการประการว่าเป็นการระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกที่ 4 พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า(อินเดีย) เป็นจำนวนมาก โดนเชื้อมีอัตราการแพร่เชื้อได้เร็วกว่าปกติ สำหรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดาที่มีการแพร่ระบาดในประเทศเปรู ณ เวลานี้ที่ประชาชนหวั่นว่าจะมีการระบาดในประเทศไทย ขอยืนยันว่ายังไม่พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดาในประเทศไทยแต่อย่างใด”..นายแพทย์โภคินฯ เปิดเผยในที่สุด

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น