เชียงใหม่หย่าร้างสูง ช่วงโควิดระบาด ครัวเรือนเปราะบาง ร้าวฉานรอปัญหาปะทุอื้อ!

นักวิชาการสังคม หนึ่งในคณะทำงานศึกษาวิจัยผลกระทบสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ ติดตาม สำรวจชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 ในพื้นที่ร่วมกับจิตอาสาเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ภาคประชาสังคม พบประเด็นที่น่าสนใจหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาครัวเรือน จากการขาดรายได้ การว่างงาน รวมถึงการหย่าร้าง ซึ่งสอดรับกับชุดข้อมูลที่มีศูนย์วิจัยของสถาบันการศึกษษชั้นนำในภาคเหนือเก็บรวมรวม ที่ระบุว่า คนไทยนิยมอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น การแต่งงานช้าลงและอัตราการหย่าร้างเฉลี่ยอยู่ที่1.3 แสนคู่รักต่อปี

“ตั้งแต่ต้นปีนี้ มีการมอนิเตอร์ สำรวจข้อมูล เก็บสถิติจากสถาบันประชากรศาสตร์ม.มหิดล ข้อมูลจดทะเบียนสมรม 213,013 คู่ และจดทะเบียนหย่าแล้ว 86,340 ครั้งทั้งนี้ปีที่ผ่านมา มีรายงานที่สำนับริหารการทะเบียน กรมการปกครอง (ปค.) รวบรวมคือจดทะเบียนสมรสไปแล้ว 271,344 คู่รัก แต่มีการหย่าร้าง121,011 ครั้ง สำหรับสถิติหย่าร้าง เชียงใหม่สูงสุด 3,008 ครั้ง จดทะเบียนสมรส 6,778 คู่รัก ปกติ เกณฑ์เฉลี่ยการหย่าร้างและแต่งงานในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือจะน้อยกว่านี้ ราวๆ20-30 %ถ้าดูข้อมูลการจดหย่าร้าง (จำนวนครั้ง) ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าลำพูนอยู่994ครั้ง ลำปาง 1,260 ,อุตรดิตถ์739,แพร่690,น่าน742,พะเยา791,เชียงราย1,880,แม่ฮ่องสอน231, และการจดทะเบียนสมรส (คู่รัก) ลำพูนมีจำนวนที่ 2,071ลำปาง 2,624อุตรดิตถ์1,399แพร่ 1,339น่าน1,664พะเยา1,547เชียงราย 4,280 แม่ฮ่องสอน 1,036  หากแต่งงานกับต่างชาติ(ค๋รัก)พบว่า เชียงใหม่ชายไทยกับหญิงต่างชาติมี 187 คู่รัก ส่วนหญิงไทยกับชาย ต่างชาติมี 261 คู่รัก เชียงรายชายไทยกับหญิงต่างชาติมี111 คู่รักส่วนหญิงไทยกับชายต่างชาติมี84 คู่รัก เป็นต้น “

หนึ่งเอเย่นต์ กิจการรับจดงานสมรส ใน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่าช่วงโควิด-19 ระบาด เมื่อปี 2563 การจัดงานแต่งงานจะน้อยลง ซึ่งปกติแต่ละเดือนจะมีการรับงาน 10 กว่างานเป็นอย่างน้อย บางเดือนแทบไม่มีงานจองเข้ามาเลย สาเหตุหนึ่งคือในช่วงโควิดระบาด มีมาตรการไม่ให้รวมกลุ่มกันมาก ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่หลายๆคู่ มีญาติ มีเพื่อนเยอะชลอจัดงานแต่งไปและการเดินทาง ข้ามจังหวัด ยากลำบากมีพื้นที่ควบคุมด้วย

” ส่วนประเด็นการหย่าร้าง มองว่าเป็นเรื่องปกติในสังคม ที่ผู้คนสมัยนี้ ยิ่งในกลุ่มคนทำงาน คนหนุ่มสาว ส่วนหนึ่ง ช่วงเรียนอยู่ร่วมกัน ใช้ชีวิตแบบคู่รักมานาน ซึ่งตนเองกับแฟนก็เดป็นแบบนั้น อยู่กันมาจะร่วม10 ปีก็อยู่กันไป ไม่แต่งแล้ว บางคู่ พอจบออกมา มีความพร้อม วางแผนแต่งงาน อาจทำได้เลย ในขณะที่บางคู่ อาจไม่มีความพร้อม เนื่องจากว่างงาน กำลังหางานทำ หรือ กิจการประสบปัญหาจากสถานการณ์โรคโควิด ผู้คนรุ่นใหม่ ภูมิต้านทาน ในการเผชิญปัญหาชีวิตคู่ร่วมกันมีน้อย บางคู่เคยจัดงานให้ มาร่วมงานเพื่อน แล้วทักทายพูดคุยกันมาทราบอีกทีว่า หย่าร้าง เป็นโสดไปแล้วก็เยอะ “

นักวิชาการสังคม รายนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า งานวิจัยด้านประชากรศาสตร์ และการลงพื้นที่รวบรวมสถิติการหย่าร้าง ในไทย โดยคาดการณ์ผลกระทบช่วงโควิด-19 ระบาด พบว่า การมีปัญหาในชีวิตคู่ นอกจากเรื่องทัศนคติ การปรับตัวร่วมกันไม่ได้ ยังมีปัจจัยเรื่อง การงาน การเงิน สังคมญาติพี่น้องด้วย ที่น่าห่วงคือ การทะเลาะทำร้ายร่างกันกัน บางคู่ถึงขั้นบาดเจ็บ เสียชีวิต

” บางคู่รัก จำต้องทนอยู่กันไปก่อน เพราะยังไม่พร้อมแยกบ้าน ไม่พร้อมที่จะทำการหย่าร้างในตอนนี้ ก็มี ซึ่ง
การแก้ไขปัญหานั้น เป็นเรื่องที่ 2 คนต้องพูดคุย หารือกัน รวมถึง สภาพแวดล้อม เครือญาติ ต้องเข้ามามีส่วนช่วยประคับประคอง เพื่อไม่ให้ ครอบครัวที่มีลูก กลายเป็นครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ อาจมีผลต่อจิตใจเด็กๆในอนาคต จากการแยกทางของพ่อ แม่ จะพบกรณีปัญหานี้ในเมืองใหญ่ๆ มากกว่าสังคมชนบท เช่น กรุงเทพ,เชียงใหม่,เชียงราย “

ร่วมแสดงความคิดเห็น