วันสารทจีน มีความเป็นมาอย่างไร

สารทจีนกับความเป็นมา

สารทจีน จะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ในปฏิทินจีน ตำนวนสารทจีนมีเล่าไว้อยู่หลากหลาย จำเป็นช่วงเวลาที่พระตี่จั่งอั๊วะ หรือพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ที่ถือคฑามีห่วงกลมๆห้อยลงมา มือข้างหนึงถือลูกเเก้วส่องเเสงสว่าง เมื่อทุบคฑาลงพื้น ยมบาลก็จะเปิดประตูอบายภูมิ นรกภูมิ ดวงวิญญาณสัมพะเวสี ดวงวิญญาณที่ตกทุกข์ได้ยาก ที่อยู่ในอบายภูมิ ก็จะขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์

วันนี้ถือเป็นการเปิด 3 โลกธาตุ ได้แก่ อบายภูมิ มนุษยโลก เเละ สวรรค์ หากทำบุญวันนี้จะได้บุญจากทั้ง 3 โลกธาตุนี้ ชาวจีนจึงทำบุญในเดือน 7 ให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ที่อาจจะตกอยู่ในสถานการณ์ตกทุกข์ได้ยาก นั่นเอง

วันสารทจีน ทําอะไรบ้าง

ขั้นตอนการไหว้สารทจีนนั้น ลูกหลานจะซื้ออาหาร ขนม และนัดหมายวันไหว้กันในวันที่อยู่กันพร้อมหน้า โดยช่วงเช้าจะจัดอาหารเป็น 3 ชุด ได้แก่ อาหารไหว้เจ้าที่, อาหารไหว้บรรพบุรุษ และอาหารชุดไหว้สัมภเวสี ไหว้ตามลำดับ

ช่วงเช้า ตั้งโต๊ะอาหารไหว้เจ้าที่ และลูกสาวที่แต่งงานออกไปแล้ว ต้องกลับไปไหว้ที่บ้านเดิมของตน

ช่วงบ่าย เซ่นไหว้ผีไม่มีญาติ หรือที่เรียกว่า ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ โดยจะวางอาหารไว้นอกบ้าน วางกระดาษเงินกระดาษทอง และจัดอาหารพิเศษที่เรียกว่า คอปึ่ง

วันสารทจีน ไหว้อะไรบ้าง

1. ปลา หมายถึง ลูกหลานมีกินมีใช้                                                              2.กุ้ง หมายถึง โชคลาภ
3. ไก่ หมายถึง ความก้าวหน้า
4. หมู หมายถึง มีกินมีใช้
5. เป็ด หมายถึง ความสมบูรณ์

ตำนาน เรื่องเล่าวันสารทจีน สำหรับตำนานของเทศกาลสารทจีนนั้น แบ่งออกได้ 2 เรื่องใหญ่ ได้แก่

วันสารทจีนจะเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้าย จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ในวันนี้

มีชายหนุ่มผู้หนึ่งชื่อว่ามู่เหลียน ซึ่งเคร่งครัดในพุทธศาสนามากๆ แต่แม่ของเขาเป็นกลุ่มคนที่ไม่เชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ และในช่วงเทศกาลกินเจ ด้วยความหมั่นไส้ แม่ของมู่เหลียนได้ก่อกรรมหนัก ด้วยการให้มู่เหลียนไปบอกคนที่กินเจ ว่าให้มากินข้าวที่บ้านโดยจะเลี้ยงอาหารผู้ถือศีลให้ 1 มื้อ

ร่วมแสดงความคิดเห็น