ผลประเมินคุณธรรม ความโปร่งใส อปท.ในเชียงใหม่ไม่ผ่านเกณฑ์เพียบ อึ้ง!ทุจริตช่วงโควิดยังพุ่งสูง

นางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ว่า หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยทำคะแนนในภาพรวมสูงขึ้นกว่าการประเมินในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา จนใกล้จะบรรลุค่าเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

สะท้อนให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐได้เกิดความตระหนักในการบริหารงานและกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีคุณธรรมและให้ความสำคัญกับความโปร่งใสขององค์กรเพิ่มมากขึ้นอกจากนั้นภายในงานแถลงข่าวผลการประเมินคุณธรรมฯยังมีการมอบโล่รางวัลหน่วยงานที่มีผลคะแนนสูงสุดในกลุ่ม และผลคะแนนอยู่ในระดับ เอเอ. (95 คะแนนขึ้นไป) 83 รางวัล ,โล่รางวัลพัฒนาการสูงสุด หน่วยงานที่มีผลคะแนนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 33 รางวัลและโล่รางวัลสำหรับจังหวัดที่มีผลคะแนนบรรลุผลตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ15 รางวัล พร้อมทั้งรางวัลประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่มีผลคะแนนระดับ เอเอ.(95 คะแนนขึ้นไป) 931 รางวัลด้วยทั้งนี้ ในเอกสารรายงานผลประเมินคุณธรรมฯของป.ป.ช. ระบุว่าการประเมินคุณธรรมฯหรือที่เรียกว่า ไอทีเอ.แต่ละปีนั้น เป็นกลไกที่หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศนำกรอบการประเมินไปใช้วางแผนปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้สมบูรณ์ครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งในแง่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้องค์กรให้มีความโปร่งใส การพัฒนาคุณธรรมการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
” เป็นเครื่องมือในเชิงบวกที่มุ่งพัฒนาระบบยในเชิงสร้างสรรค์มากกว่ามุ่งจับผิด เปรียบเสมือนเครื่องมือตรวจสุขภาพองค์กรประจำปี ซึ่งกรอบแนวทางการประเมินได้รับการรับการยอมรับและถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือในยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานภาครัฐตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ “เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มประเภทหน่วยงานพบว่า หน่วยงานภาครัฐในกลุ่มประเภทส่วนกลางมีผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับที่สูง และกลุ่มประเภทหน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ประเภทที่ 8 คือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (7,850 แห่ง) คะแนนเฉลี่ย80.63 คะแนนเท่านั้น”หากจำแนกประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด (76 แห่ง) เฉลี่ย92.18คะแนน เทศบาลนคร (30 แห่ง)เฉลี่ย 91.25 คะแนน และเทศบาลเมือง (195 แห่ง) เฉลี่ย 85.32 คะแนน แต่ที่ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำ คือเทศบาลตำบล (2,246 แห่ง) มีคะแนนเฉลี่ย 79.48 คะแนน และองค์การบริหารส่วนตำบล (5,301 แห่ง) เฉลี่ย 80.72 คะแนนการที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดอาจมาจากเทศบาลตำบลนมีจำนวนมากถึง 2,246 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมให้กลุ่มประเภทเทศบาลตำบลโดยเฉพาะในด้านทรัพยากรและงบประมาณอาจยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ และหากจำแนกตามภูมิภาคผลการประเมินรายจังหวัดของพื้นที่ภาค 5 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยทุกหน่วยงานในพื้นที่ คือ 80.87 คะแนน และมีหน่วยงานที่มีผลคะแนนผ่านเกณฑ์385 หน่วยงาน หรือคิดเป็น 46.39% โดยจังหวัดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ลำพูน ผลคะแนน 85.51 คะแนน (จาก 59 แห่ง) ส่วนจังหวัดที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ พะเยา 77.54 คะแนน (จาก 73 แห่ง)สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 211 อปท.นั้นพบว่า มีที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส เป็นจำนวนมาก และในส่วนคะแนนระดับเอเอ.ตามเกณฑ์95 คะแนนขึ้นไป พบว่ามีเทศบาลนครเชียงใหม่, เทศบาลเมืองแม่เหียะ,เทศบาลสบเตี๊ยะ (อ.จอมทอง),เทศบาลตำบลเมืองนะ (อ.เชียงดาว) ส่วนที่คะแนนสูงสุดคือ เทศบาลตำบลท่าข้าม (อ.ฮอด)คะแนน 98.87 เป็นต้นด้าน พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันยังเพิ่มต่อเนื่อง ดูได้จากข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ระหว่างปี 2560-2564 พบว่าปี 2560 มีเรื่องกล่าวหา
เข้ามา 4,896 เรื่อง ปี 2561 มีเรื่องกล่าวหาเข้ามา 4,622 เรื่อง ปี 2562 มีเรื่องกล่าวหาเข้ามา 10,382 เรื่อง ปี 2563 มี 9,130 เรื่อง มูลค่าความเสียหาย 9 หมื่นล้านบาท และในปี 2564 ล่าสุด มีเรื่องกล่าวหาเข้ามา 6,153 เรื่อง ป.ป.ช.รับดำเนินการเอง 1,963 เรื่อง จะเห็นว่าแม้ในภาวะวิกฤติโควิด19เกิดขึ้นปี 63-64 ยังมีคำกล่าวหาเข้ามา 15,283 กรณี แสดงว่าการทุจริตไม่มีการลดราวาศอกหรืออ่อนข้อให้กับสถานการณ์ใดๆ
” ในปี 2565 จะมีการประเมินถึงระดับอำเภอเพิ่มเติม 878 แห่ง และสถานีตำรวจนครบาล 88 หน่วย จะมีมาตรการ
ป้องกันเชิงรุก คือการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต และยังมีกลไกป้องกันและป้องปรามการทุจริตในระดับชุมชนและสังคม โดยมีการจัดตั้งชมรม strong-จิตพอเพียงต้านทุจริต ในทุกจังหวัดร่วมป้องปรามการทุจริตในชุมนุม เชื่อว่า กลไกในทุกภาคส่วน จะสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน และครอบครัวในการแก้ไขปัญหานี้ได้”

ร่วมแสดงความคิดเห็น