ปรับเงินเดือนคนเก็บขยะท้องถิ่น มีผลแล้วสูงสุดเดือนละ 2 หมื่น คนกวาดขยะเพิ่มเดือนละไม่เกิน 1,500 บาท

กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น (กสถ.) แจ้งว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และในฐานะประธาน คณะกรรมการกลางกรรมการกลางข้าราชการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ระดับ ( อบจ. เทศบาล และ อบต.) ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการกลาง 3 ฉบับว่าด้วย เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับเงินเพิ่มสำหรับพนักงานจ้างผู้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงภัยต่อสุขภาพ พ.ศ. 2564 มีหลักการเพื่อให้กลุ่มพนักงานจ้าง เช่น พนักงานจ้างทั่วไป และพนักงานจ้างตามภารกิจผู้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงภัยต่อสุขภาพมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับอัตราการจ่ายเงินเพิ่ม แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพ ประกอบด้วย พนักงานจ้าง กลุ่มงานขุดลอกท่อระบายนํ้า ขับรถบรรทุกสูบ ดูดหรือขนถ่ายสิ่งปฏิกูล มูลฝอยติดเชื้อ งานประจำรถสิ่งปฏิกูล อัตราเดือนละไม่เกิน 2,500 บาท พนักงานจ้างกลุ่มงานขับรถบรรทุกเก็บขยะมูลฝอย เรือบรรทุกเก็บขยะมูลฝอย หรือรถตักขยะมูลฝอย และคนงานประจำรถและเรือขยะบรรทุกเก็บขยะมูลฝอยอัตราเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท และพนักงานจ้าง กลุ่มงานจัดเก็บ และกวาดขยะมูลฝอย รวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์หรือหน่วยกำจัดขยะมูลฝอยอัตรา เดือนละไม่เกิน 1,500 บาท

ทั้งนี้ วิธีการจ่ายเงินเพิ่ม ให้จ่ายตามระยะเวลาการปฏิบัติงานจริงที่สัญญาจ้างกำหนด และหากในเดือนใดมีวันที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามสัญญา ก็ให้จ่ายเงินเพิ่มตามสัดส่วนจำนวนวันของเดือนนั้น ปัจจุบันพนักงานจ้างทั่วไป และพนักงานจ้างตามภารกิจ ในกลุ่มงานดังกล่าวของ อปท. จะมีอัตรา เงินเดือนระหว่าง 9,000- 18,000 บาท และมีสวัสดิการเทียบเท่า พนักงานจ้างโดยอัตราดังกล่าว เป็นคนละส่วนกับลูกจ้างชั่วคราว กทม. หรือ ลูกจ้างของภาคเอกชน ที่ได้รับสัมปทานในการจัดเก็บขยะสิ่งปฏิกูลของ อปท.

ด้าน นายปิยะ คังกัน ผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานทั่วไป การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ระบุว่าประกาศ เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับเงินเพิ่มสำหรับพนักงานจ้าง ผู้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงภัยต่อสุขภาพ เพื่อให้พนักงานจ้างผู้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงภัยต่อสุขภาพตามลักษณะงานต่าง ๆ มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม มีหลักการสรุปคือ ให้พนักงานจ้างทั่วไป และพนักงานจ้างตามภารกิจ ผู้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงภัย ต่อสุขภาพมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มฯ

” อัตราการจ่ายเงินเพิ่ม แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพ ดังนี้ 1. งานขุดลอกท่อระบายน้ำ ขับรถบรรทุกสูบ ดูดหรือขนถ่ายสิ่งปฏิกูล งานประจำรถสิ่งปฏิกูล อัตราเดือนละไม่เกิน 2,500 บาท ,2.งานขับรถบรรทุกเก็บขยะมูลฝอย เรือบรรทุกเก็บขยะมูลฝอย หรือรถตักขยะมูลฝอย และคนงานประจำรถและเรือขยะบรรทุกเก็บขยะมูลฝอย อัตราเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท,3.งานจัดเก็บ และกวาดขยะมูลฝอย รวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์หรือหน่วยกำจัดขยะมูลฝอย อัตราเดือนละไม่เกิน 1,500 บาท วิธีการจ่ายเงินเพิ่มให้จ่ายตามระยะเวลาการปฏิบัติงานจริงที่สัญญาจ้างกำหนด และหากในเดือนใดมีวันที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไป ตามสัญญาก็ให้จ่ายเงินเพิ่มตามสัดส่วนจำนวนวันของเดือนนั้น

ในขณะที่ผู้บริหารท้องถิ่น ในพื้นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระบุว่า ประกาศดังกล่าว จะทำให้ อปท. สามารถดำเนินการตามระเบียบได้ง่าย ถูกต้อง ซึ่งพนักงานในกลุ่มนี้ นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับประจำแล้ว ยังมีรายได้พิเศษ จากการคัดแยกขยะไปขายตามร้านรับซื้อ บาง อปท.ก็จะลงเป็นกองกลาง นำมาจัดสรรปันส่วนตามความเหมาะสม บางพื้นที่ ให้สิทธิรถคนเก็บแต่ละรอบเวร เป็นรายได้ที่จัดแบ่งกันเป็นครั้งๆ

ทั้งนี้ สังคมภายนอก อาจมองว่า กลุ่มพนักงานเหล่านี้ทำงาน ในลักษณะเสี่ยง เป็นงานบริการชุมชน ที่ค่อนข้างหาผู้มาดูแลรับผิดชอบยาก เพราะเสี่ยงโรค เสี่ยงอันตราย ต้องอยู่กับสิ่งสกปรกสิ่งปฏิกูล แต่บุคคลเหล่านี้ต่างมีใจรักการบริการ มีการดูแลจาก อปท. ตามความเหมาะสม เพราะถือว่าเป็นกลุ่มพนักงาน ที่มีความสำคัญต่อความสะอาด เป็นระเบียบของท้องถิ่น

ร่วมแสดงความคิดเห็น