ปภ.ดูแล-เปลี่ยนยางอะไหล่ถูกวิธี…เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง

ยางอะไหล่ เป็นยางสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินกรณียางเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดรั่วหรือแตกระหว่างการเดินทาง โดยให้ใช้
เป็นยางชั่วคราวก่อนซ่อมแซมเปลี่ยนเส้นใหม่ หากผู้ขับขี่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนยางอะไหล่อย่างถูกวิธี อาจก่อให้เกิดอันตราย เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสารณภัย (ปภ.) ขอแนะการดูแลเปลี่ยนยางอะไหล่อย่างถูกวิธี ดังนี้

การดูแลยางอะไหล่ ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • ยางอะไหล่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เนื้อยางไม่แข็งกระด้าง ดอกยางละเอียด ไม่มีรอยปริแตก ปูดบวม
  • ตรวจสอบลมยางอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานพร้อมใช้งาน
  • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนยางให้พร้อมใช้งาน อาทิ แม่แรง ไขควงสำหรับไขล้อ
  • เติมลมยางอะไหล่ให้มากกว่าปกติ 3 – 4 ปอนด์ตารางนิ้ว เพื่อป้องกันลมยางอ่อน ทำให้ยางเสื่อมสภาพ
  • วางยางในตำแหน่งที่จุกเติมลมอยู่ด้านนอก จะช่วยสามารถเติมลมยางได้สะดวก
  • เปลี่ยนยางอะไหล่เส้นใหม่ เมื่ออายุการใช้งานมากกว่า 3 – 5 ปี หรือยางเสื่อมคุณภาพ เพราะหากนำมาใช้อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง

การใช้งานยางอะไหล่ ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • ปล่อยลมยางออกเล็กน้อยก่อนนำมาใช้งาน เพื่อให้แรงดันลมยางมีค่าตามมาตรฐานเท่ากับยางเส้นอื่น
  • ยางอะไหล่เป็นยางที่ใช้ชั่วคราว สำหรับการประคองขับรถไปยังอู่รถ เพื่อเปลี่ยนยางเส้นใหม่
  • เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่รถและใช้ยางอะไหล่ โดยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ไม่ใช่ยางอะไหล่เป็นเวลานาน หากเกิดกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อป้องกันยางเสื่อมสภาพ ก่อให้เกิดอันตรายได้

วิธีการเปลี่ยนยางอะไหล่ ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • นำรถจอดชิดข้างทางให้มากที่สุด บริเวณพื้นราบ ไม่เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
  • เลื่อนเกียร์ตำแหน่ง P หรือ ดึงเบรกมือ เพื่อป้องกันรถเลื่อนไหล
  • เปิดไฟหรือนำวัสดุอื่นมาวางไว้ท้ายรถ เพื่อส่งสัญญาณเตือนให้รถคันอื่น เพิ่มความระมัดระวัง
  • ใช้ไขควงขันน็อตล้อออกในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา เพื่อคลายน็อตทุกตัวให้หลวม
  • วางแม่แรงใต้จุดยกแม่แรงของรถ เพื่อยกรถให้ลอยขึ้นเหนือพื้น
  • หากไม่มีแม่แรงให้หาวัสดุค้ำยันรถ อาทิ ท่อนไม้ ก้อนอิฐ วางไว้บริเวณด้านหน้าและด้านหลังของยางเส้นที่จะเปลี่ยน
  • คลายน็อตทุกตัวแล้วถอดล้อออก โดยวางยางเส้นเก่าไว้ใต้ล้อ เพื่อป้องกันการล้มทับแม่แรง
  • ใส่ยางอะไหล่เข้ากับกระดุมล้อและขันน็อตทุกตัว พร้อมปรับแม่แรงลงและขันน็อตทุกตัวให้แน่นอีกครั้ง

ทั้งนี้ หากจำเป็นจะต้องขับรถระยะทางไกล ผู้ขับขี่ไม่ควรจะใช้ยางอะไรกับล้อหน้า เนื่องจากเป็นรถที่มีความสำคัญต่อ การเกาะถนน การทรงตัวขณะเข้าโค้ง และระยะในการเบรก อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพื่อความปลอดภัยให้สลับยางเส้นหลังมาไว้ล้อหน้าและนำยางอะไหล่ไปใส่ที่ล้อหลังแทน

ร่วมแสดงความคิดเห็น