เที่ยวตามรอยพ่อ…ที่แม่ฮ่องสอน โครงการธนาคารอาหารชุมชนตามพระราชดำริ หรือ Food Bank นาป่าแปก

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา ทรงมีพระราชประสงค์ที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่ 3 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฏร / การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / และ การพัฒนาเพื่อความมั่นคง พื้นที่ตามแนวชายแดน จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์ ขึ้นมา 3 ศูนย์ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อน การพัฒนา คือ 1.ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ รับผิดชอบหมู่บ้านเป้าหมายในพื้นที่ราบ 2.ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ รับผิดชอบพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่สูง 3.ศูนย์ศีลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพระบรมราชินูปถัมป์ รับผิดชอบงานด้านส่งเสริมศิลปาชีพ

ต่อจากนั้น ได้มีโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ เกิดขึ้นมาอีกหลายโครงการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของทั้ง 3 ศูนย์ เช่น โครงการธนาคารอาหารชุมชนตามพระราชดำริ หรือ Food Bank ที่เกิดขึ้นจากพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรที่บ้านนาป่าแปก อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 ทรงมีความห่วงใยในด้านสิ่งแวดล้อม และทรงรับทราบข้อมูลจากสหประชาชาติว่า ในอนาคต โลกจะประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการขาดแคลนอาหาร เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้ พัฒนาพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงตน และเหลือจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง

นายสุริยนต์ ดีดเหล็ก ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน ได้กล่าวว่า สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ โดยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินงานศึกษา วิจัย พัฒนา ดูแลพันธุ์ พืชตามบทบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช ปี 2542 และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในการพัฒนาองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรพืชในชุมชน สนับสนุนการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนของชุมชน และเทคโนโลยีการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

ด้านนายมณเทียณ แสนดะหมื่น นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า โครงการธนาคารอาหารชุมชนตามพระราชดำริ หรือ Food Bank ก่อตั้งขึ้นเพื่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริและพระราชเสาวนีย์ฯ ด้านการปลูกพืชสู่เกษตรโดยรอบโครงการฯ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และเพื่อสร้างจิตสำ นึกการอนุรักษ์ฟื้นฟู

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินคือ กิจกรรมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืชอาหารบนพื้นที่สูงโดยร่วมกับเกษตรกรศึกษาฟื้นฟูภูมิปัญญาพืชอาหารในแหล่งชุมชนบ้านาป่าแปก พบว่า มีพืชที่ใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 45 วงศ์ จำนวน 108 ชนิด แบ่งเป็น พืชอาหาร พืชสมุนไพร และและพืชอื่นๆ (ความเชื่อพิธีกรรม) จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นมีพืชทั้งหมด จำนวน 54 ชนิด แบ่งตามการใช้ประโยชน์เป็นพืชอาหาร 45 ชนิดและพืชสมุนไพรจำนวน 9 ชนิด มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญา การใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นที่ นำมาปลูกโดยผู้รู้ในชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชกับหมู่บ้านทบศอก จำนวน 4 ชนิด คือ (มันเทศญี่ปุ่น พริก แตง และมะเขือเทศ) กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตร โดยทำการคัดเลือกเกษตรกรจำนวน 12 ราย ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัย การจัดการธาตุอาหารในพืชผักและการใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกัน กำจัดศัตรูพืช พบว่าพืชผักในกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชมีคุณภาพและปลอดภัยบนพื้นที่สูง จนได้รับรองมาตรฐานการผลิตพืชที่ดีและเหมาะสม (GAP) ทั้ง 12 ราย ทำให้มีรายได้จากการปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น นอกจากยังนี้สามารถขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกรผักปลอดภัยบ้านนาป่าแปก จำนวน 17ราย พื้นที่ 145 ไร่ และกิจกรรมฟื้นฟูและอนุรักษ์


ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการจัดทำแปลง ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างร่วมกับชาวบ้านพื้นที่ 42,487 ไร่ เกษตรกรเรียนรู้อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารในชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นต้นแบบอาชีพในการการผลิตพืชบนพื้นที่สูง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นต้นแบบเพื่อถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรที่ปลูกพืชผักในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและพื้นที่ใกล้เคียง.
ทั้งนี้ นางกุ้งนาง หนั่นติ๊ ตัวแทนเกษตรกรบ้านนาป่าแปก ได้กล่าวว่า แปลงต้นแบบการผลิตพืชผักปลอดภัยของเกษตรกรในพื้นที่โครงการธนาคารอาหารชุมชน(Food bank) บ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน นับว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ผู้นำชุมชน กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ สามารถนำเอาเทคโนโลยีการผลิตพืชที่ถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งสามารถถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาดูงาน เทคโนโลยีการผลิตพืชปลอดภัยบนพื้นที่สูงของกรมวิชาการเกษตร ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต สามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนา สร้างเครือข่ายการผลิตพืชปลอดภัยแก่ชุมชนอื่นๆในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป

DCIM100MEDIADJI_0100.JPG

ร่วมแสดงความคิดเห็น