ปภ.แนะเตรียมพร้อมรถเรียนรู้หลักการขับรถผ่านเส้นทางฝนตกเดินทางปลอดภัย

การขับรถในช่วงฝนตกมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติ เนื่องจากสภาพถนนเปียกลื่น มีน้ำท่วมขังและ
ทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ขอแนะการเตรียมความพร้อมสภาพรถและหลักการขับรถในช่วงฝนตกอย่างปลอดภัย ดังนี้
การตรวจสภาพรถ
– ใบปัดน้ำฝน เนื้อยางไม่แห้งกรอบ กวาดน้ำได้สะอาด และไม่มีรอยขุ่นมัว
– กระปุกฉีดน้ำกระจก ไม่มีรอยรั่วซึม หัวฉีดอุดตัน และเติมน้ำมีให้พร่อง
– สัญญาณไฟ ส่องสว่างทุกดวง โคมครอบแก้วสัญญาณไฟสะอาด และไม่มีรอยขุ่นมัว
– ระบบเบรก หยุดรถได้ในระยะปลอดภัย ขณะที่เหยียบเบรกไม่มีเสียงดังและรถไม่มีอาการปัด
– ยางรถยนต์ ดอกยางละเอียด ร่องยางลึก และเปิดลมยางให้มากกว่าปกติ
การใช้ที่ปัดน้ำฝน
– ปรับระดับความแรงของที่ปัดน้ำฝน ให้สัมพันธ์กับความแรงของปริมาณฝน
– ฉีดล้างกระจก เพื่อทำความสะอาดคราบสกปรก และจะช่วยลดการเสียดสีของใบปัดน้ำฝนกับกระจกการขับรถ
– เพิ่มความระมัดระวังในการขับรถเป็นพิเศษ จับพวงมาลัยให้มั่น เพื่อป้องกันรถไถลลื่นออกนอกเส้นทาง
– กรณีเป็นเกียร์ธรรมดา ให้ใช้เกียร์ต่ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนน
– กรณีถูกน้ำสาดกระจกหน้ารถ ควรจับพวงมาลัยให้มั่น บังคับรถให้อยู่ในช่องทาง
การใช้ความเร็ว
– ขับรถช้ากว่าปกติ เพราะสภาพถนนที่เปียกลื่น ทำให้ต้องใช้ระยะทางในการหยุดรถมากกว่าปกติ
– ใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับสภาพถนนและทัศนะวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย
– ลดความเร็วให้อยู่ในระดับที่ควบคุมรถได้ โดยเฉพาะเมื่อขับผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมขังหรือแอ่งน้ำ
– ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยให้สามารถควบคุมรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเปิดให้สัญญาณไฟ
– เปิดใช้สัญญาณไฟ จะช่วยมองเห็นเส้นทางชัดเจนและผู้ขับขี่รถคันอื่นมองเห็นรถเราในระยะไกล
– ไม่เปิดใช้สัญญาณไฟหรี่ เพราะแสงไฟจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นเส้นทางได้อย่างชัดเจน
– ไม่เปิดใช้สัญญาณไฟสูง เพราะไฟสูงจะสะท้อนกลับน้ำบนพื้นถนน ทำให้ผู้ที่ขับรถสวนทางมาตาพร่ามัว
– เปิดใช้ไฟตัดหมอก ในการขับรถยนต์ช่วงกลางคืนที่มีฝนตกหนักหรือน้ำเฉอะแฉะ จะช่วยลดการสะท้อนแสงของไฟหน้ารถกับพื้นถนน
– ไม่เปิดใช้ไฟกระพริบ เพราะหากไม่มีสัญญาณไฟเลี้ยวใช้ และอาจสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้ร่วมใช้เส้นทาง
การเว้นระยะห่าง
– เว้นระยะห่างจากรถคันอื่นให้มากกว่าปกติ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้สามารถหยุดรถได้อย่างทันท่วงที
– ไม่ขับรถชิดท้ายคันอื่นในระยะกระชั้นชิด เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือหยุดรถกะทันหัน อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
– ไม่ขับรถตีคู่กับรถขนาดใหญ่ เพราะคลื่นน้ำจะสาดกระจกหน้ารถ จนบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นและน้ำอาจพัดเข้าไปในห้องเครื่อง ทำให้เครื่องยนต์ดับได้
การใช้ช่องทางจราจร
– ขับรถให้อยู่กึ่งกลางของช่องทางเดินรถ ไม่เปลี่ยนช่องทางกะทันหัน และไม่แซงรถในระยะกระชั้นชิด
– ให้สัญญาณไฟล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนช่องทาง ในระยะทางที่ไม่ต่ำกว่า 60 เมตร และมองเห็นเส้นทางให้รอบด้าน หากรถอยู่ระยะไกล จึงค่อยเปลี่ยนเส้นทาง

 

การหยุดรถ
– หลีกเลี่ยงการเบรกกะทันหัน โดยเฉพาะพื้นที่ทางโค้ง และเส้นทางที่มีแอ่งน้ำ เพราะจะทำให้รถเสียการทรงตัว และก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
– หากจำเป็นจะต้องหยุดรถ ให้ค่อยๆ ถอนคันเร่ง และแตะเบรกเบาๆ เพื่อลดระดับความเร็วของรถ
– ไม่เหยียบเบรกให้รถในทันที เพราะจะทำให้ล้อหมุนและลอยบนผิวน้ำ ส่งผลให้รถลื่นไถลจนไม่สามารถบังคับรถในทิศทางได้

วิธีแก้ไขกรณีละอองฝ้าเกาะกระจกรถ
– ปรับอุณหภูมิภายในและภายนอกห้องโดยสารให้สมดุลกัน
– ลดระดับกระจกลงเล็กน้อย
– เพิ่มหรือลดความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
– ปรับความแรงของทิศทางช่องลมมีให้เป่าไปทางกระจก
– เปิดที่ปัดน้ำฝนและฉีดน้ำเช็ดกระจกใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดกระจกด้านนอกรถ
– เปิดปุ่มไล่ฝ้าสำหรับกระจกหลังและเมื่อละอองฝ้าจางหายให้ปิดการทำงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น