เสียงสะท้อนความล้มเหลว ขึ้นภาษีไม่ช่วยปกป้องคนไทยจากภัยบุหรี่

ภายหลังนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว. คลัง ออกมาประกาศขึ้นภาษีบุหรี่ โดยมีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพประชาชน หวังลดการบริโภคบุหรี่ลงได้ 2-3% ขณะที่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว. ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ออกมาหนุนให้ปลดล๊อกผลิตภัณฑ์ทางเลือก เช่น ไอคอส ก็เป็นที่มาของการถกเถียงกันในสังคม มีทั้งเสียงเสียงสนับสนุนและการคัดค้านจากหลายฝ่าย

โดย ส.ส. คนดังอย่าง นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ หรือ หมอเอก  ส.ส.พรรคก้าวไกล จ.เชียงราย ให้ความเห็นผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า “การขึ้นภาษีอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของการควบคุมบุหรี่”  ส่วน นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร หรือ ส.ส.เท่า พรรคก้าวไกล โพสต์แคปชัน “ความพยายามอันสิ้นหวังรีดภาษีบุหรี่” วอนรัฐหยุดใช้ข้ออ้างสุขภาพ มาหารายได้จากการเก็บภาษี แต่แก้ปัญหาไม่ตรงจุด นายวรภพ วิริยะโรจน์ อีกหนึ่ง ส.ส.พรรคก้าวไกล ก็เสนอทบทวนการแบนบุหรี่ไฟฟ้า พร้อมท้าให้มาดูที่รัฐสภาและทำเนียบ ที่มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก ทางด้าน แอดมิน เพจดัง Drama-Addict  ก็ได้โพสต์แสดงความเห็นขยี้ประเด็น รัฐปรับเพดานภาษี คนสูบบุหรี่เท่าเดิม ชี้คนเดือดร้อนตัวจริงคือประชาชนและเกษตรกร  ขณะที่ นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ยังย้ำถึงความกังวลเรื่องความอันตรายของผลิตภัณฑ์ทางเลือก จน รมว.ดิจิทัล ต้องออกมาชี้แจงเพิ่มเติม แนะให้ปรับมุมมองใหม่ต่อบุหรี่ไฟฟ้า ยกกรณี อย.สหรัฐฯ อนุญาตให้ผู้ขายได้สื่อสารกับผู้บริโภคในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าแบบลดความเสี่ยงได้แล้ว

การขึ้นภาษีอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ

นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ หรือ หมอเอก ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1 เชียงราย  ได้โพสต์แสดงความเห็นผ่านหน้าเฟสบุ๊คเพจ ชี้ว่า “การขึ้นภาษีอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของการควบคุมบุหรี่ และบางทีมุขเดิมๆ วิธีเดิมๆ ที่ใช้ในการควบคุมบุหรี่อาจไม่ได้ผล”

ในโพสต์ดังกล่าว นพ.เอกภพ  แสดงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข อ้างอิงการขึ้นภาษีส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ของโรงงานยาสูบลดลง แต่จำนวนผู้สูบบุหรี่กลับลดลงเพียงเล็กน้อย แค่ 2 % ( อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทย  ในช่วงปี 2560-2564)  สะท้อน ความล้มเหลวของภาครัฐ ในการบริหารจัดการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ  เปลี่ยนมุมพร้อมทั้งเสนอมุมมองใหม่ โดยเฉพาะการปลดล็อคบุหรี่ไฟฟ้า ให้เป็นสินค้าถูกกฎหมาย

“ผลจากการขึ้นภาษีเมื่อปี 2560 ทำให้ยอดขายบุหรี่ลดลง วัดจากตัวเลขกำไรของโรงงานยาสูบที่ลดลง แต่ทว่าจำนวนผู้สูบได้ทำให้โรงงานยาสูบที่เคยมีกำไรสุทธิถึง 9,343 ล้านบาท ในปี 2560 เหลือกำไรเพียง 513 ล้านบาทในปี 2562  ถ้ากำไรลดลง เนื่องมาจากยอดขายที่ลดลง เพราะคนสูบบุหรี่ลดลงก็คงไม่ว่ากัน แต่เมื่อดูอัตราคนสูบบุหรี่ที่แทบไม่ขยับลดลงเลยในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เมื่อดูแค่ตัวเลขอัตราการสูบบุหรี่เทียบจากปี 60 มาถึง 64 ดูเหมือนจะลดไปประมาณ 2%  แต่ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขเฉพาะผู้สูบบุหรี่ ไม่ได้นับผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาด้วย” นพ.เอกภพ ระบุในเพจ www.facebook.com/DoctorEkkapob

ความพยายามอันสิ้นหวังในการรีดภาษีบุหรี่

ด้านนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ตั้งข้อสังเกตผ่านเฟสบุ๊คเพจ www.facebook.com/Taopiphop  ไว้ว่าการขึ้นภาษีบุหรี่เป็นเพียงการใช้ข้ออ้างสุขภาพรัฐหารายได้จากประชาชนเท่านั้น  เป็น “ความพยายามอันสิ้นหวังรีดภาษีบุหรี่”  แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาจริง เพราะนอกจากจะเปิดช่องให้บุหรี่แบรนด์จากต่างประเทศนำบุหรี่ราคาต่ำมาขาย กระทบต่อเกษตรกรยาสูบไทยรายได้ลดลง จากยอดขายยาสูบลดลง เป็นผลพวงจากการผูกขาดของรัฐในการผลิตยาสูบในประเทศ และมีการลักลอบขายบุหรี่เถื่อน รายได้ภาษีที่รัฐคาดหวังจะเก็บได้ก็ไม่ได้ แต่เปิดทางให้เกิดการทุจริตคอรัปชัน  ส่วนสุขภาพประชาชนโดยรวมก็ไม่ดีขึ้น

“ข้ออ้างเรื่องสุขภาพของประชาชน เป็นแนวคิดเก่าโบราณของรัฐที่พยายามบอกกับประชาชนว่าควรจะทำหรือไม่ทำอะไร แบบพ่อปกครองลูก (Nanny State) จากสถิติพบว่าการเพิ่มราคาบุหรี่ แม้จะมีผลในการลดจำนวนผู้สูบลดลงด้วยปัจจัยราคา แต่ก็ยังมีการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อน แสดงว่าก็คงไม่ได้ผลอย่างที่คาดไว้”    นายเท่าพิภพ หรือ ส.ส.เท่า พรรคก้าวไกล ระบุ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอทางออกให้กับประเทศ ด้วยการสนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนโยบายควบคุมยาสูบ แบบลดสารอันตราย( (Harm Reduction) เพื่อการแก้ปัญหาแบบรอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและด้านสุขภาพ โดยเน้นผลประโยชน์ต่อประชาชนว่า

“หลายประเทศที่พัฒนาแล้ว พยายามแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไปในอีกทิศทางหนึ่งที่ต่างกัน ด้วยวิธีการลดอันตรายที่เกิดจากสิ่งนั้น ๆ (Harm Reduction) เช่น นิวซีแลนด์ ได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งผลวิจัยจากหลายสถาบันก็บ่งบอกว่าปลอดภัยกว่าการสูบบุหรี่แบบธรรมดา เพราะไม่มีการเผาไหม้และไม่เกิดน้ำมันอันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ในบางประเทศอย่าง อังกฤษ หากต้องการเลิกสูบบุหรี่ คุณหมอในโรงพยาบาลก็สามารถสั่งบุหรี่ไฟฟ้า ให้กับผู้ที่อยากเลิกบุหรี่ได้ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย ก็มีผู้นิยมสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังผิดกฎหมาย ซึ่งอาจขัดแย้งกันในเรื่องของผลประโยชน์ก็เป็นได้”

ส่วนแอดมิน เพจดัง Drama-Addict ก็ไม่พลาดที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ โดยได้บอกว่า แม้รัฐปรับเพดานภาษีกี่ครั้ง แต่จำนวนคนสูบบุหรี่ไม่ลดลง ทางออกที่ดีน่าจะเป็นของการปรับตัวนำบุหรี่ไฟฟ้า หรือ vape  และ IQOS มาใช้ร่วมแก้ปัญหา

ข้อความโพสต์โดยแอดมิน เพจ  Drama-Addict   เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ตอนหนึ่งระบุว่า “ถ้าเพื่อให้คนลดบุหรี่ลง และ โรงยาสูบกับเกษตรกรไม่เจ๊ง คิดว่า น่าจะให้ทางโรงงานยาสูบเริ่มพัฒนาพวก vape / IQOS มาแทนที่บุหรี่แบบเดิมๆ ซึ่งอันนี้ก็จะแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดจากคนที่หันไปหาของนำเข้าหรือไปใช้พวก IQOS vape ที่นำเข้าจาก ตปท. ได้บ้าง จะได้มีเวลาให้เกษตรกรที่ปลูกยาสูบปรับตัวลดการปลูกยาสูบไปปลูกอย่างอื่น เช่นกัญชงกัญชา อะไรก็ว่ากันไป แล้วดูแลควบคุมพวกนี้ให้เข้มงวด ไม่ให้เด็กรุ่นใหม่หันไปลองใช้พวกนี้ แล้วให้พวกรุ่นเก่าๆที่ยังสูบบุหรี่ ปรับตัวมาใช้พวกนี้แทนแล้วค่อยๆพาไปเลิกบุหรี่ให้หมด น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่านะ”

แนะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

สอดคล้องกับ นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลและโฆษกคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน ที่แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊คส่วน ระบุว่าเคยย้ำกับรัฐบาลไปหลายครั้งแล้วว่าให้พิจารณาทบทวนเรื่องการแบนบุหรี่ไฟฟ้า การแบนบุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่มีการทบทวนหรือทำการศึกษา คือ การปิดกั้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจจะก่อนประโยชน์ทั้งในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจให้กับประเทศ เพราะจะช่วยให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นโอกาสของทั้งเกษตรกรไร่ยาสูบ และผู้ประกอบการในธุรกิจต่อเนื่องด้วย พร้อมทิ้งท้ายว่าแม้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ก็ยังมีการใช้เป็นจำนวนมากที่รัฐสภาและทำเนียบ

ไม่มั่นใจในผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงเสียงคัดค้านจาก นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้า และประเภท heat-not-burn products ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวลเช่นกัน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน กลุ่มคนทำงานบางส่วน จนกลายเป็นสารเสพติดตัวใหม่ ที่เข้าถึงกลุ่มนักสูบหน้าใหม่มากขึ้น แต่ก็ยังพบการโฆษณา การขายบุหรี่ไฟฟ้าเกลื่อนสื่อออนไลน์ และตลาดนัดทั่วไป แม้ว่ากฎหมายไทยจะห้ามการนำเข้า ห้ามขายและให้บริการบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (e-cigarette) อยู่ก็ตาม

ข้อมูลที่ถูกปิดกั้น

ส่วน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว. ดีอีเอส ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่เผาไหม้ปกติ”   และกลุ่มที่คัดค้าน “น่าจะยังไม่ทราบที่  อย.ของสหรัฐฯ (US-FDA) อนุญาตให้ไอคอสสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ ว่าผู้ใช้ไอคอสจะรับสารอันตรายที่ลดลง เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยงที่เรียกว่า Modified Risk Tobacco Products (MRTP) ซึ่งชัดเจนว่าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่เผาไหม้ปกติ”

“ถ้ามันอันตรายอย่างที่มีการกล่าวอ้าง คงไม่มีประเทศไหนให้ขาย เราอาจจะได้ยินแต่ข้อมูลจากหมอกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ถ้ามีโอกาสเราน่าจะนำเรียนข้อมูลที่ถูกต้องให้ทราบ”  นายชัยวุฒิ กล่าว

ในยุคที่สังคมเรียกร้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ ที่ก่อนหน้านี้มักจะพูดกันแค่การเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการควบคุมบุหรี่ ความคิดเห็นที่แตกต่าง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ “การควบคุมยาสูบแบบลดสารอันตรายในบุหรี่” หรือ (TOBACCO HARM REDUCTION) ซึ่งหลายประเทศทั่วโลก นำโดย สหราชอาณาจักร อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ เหล่านี้ น่าจะเป็นแนวทางให้ภาครัฐและผู้กำหนดนโยบายนำไปพิจารณาร่วมในกับการดำเนินนโยบายควบคุมยาสูบที่หน่วยงานสาธารณสุขในไทยยังทำกันอยู่ เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากสารอันตรายจากบุหรี่ให้กับผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยได้

 

Reflections of Government Failure, Raising Tax without Protecting Thais from Cigarette Danger
After Finance Minister Mr. Arkhom Termpittayapaisith announced that cigarette tax rates would be increased for the purposes of protecting people’s health and curbing cigarette consumption by a few per cent but Digital Economy and Society Minister Mr. Chaiwut Thanakamanusorn expressed support for the legalization of alternatives such as IQOS (I-Quit-Ordinary-Smoking) products, heated debates on the issue have followed. Reactions are mixed, with support for IQOS from some sides and opposition from some others.

Famous MP Dr. Ekkapob Pianpises or Dr. Ek, who was elected in Chiang Rai under the banner of the Future Forward Party (today known as Move Forward Party), has declared his stance on his Facebook wall. His post read, “Raising tax rate is not the only solution to cigarette control”. Mr. Taopiphop Limjittrakorn or MP Tao of the Move Forward Party also posted the following message, “Desperate effort to extract revenue from cigarette taxes”. In his view, the government should stop using “health” as an excuse for its tax collection as it means the government fails to tackle the smoking problem at its root cause. Move Forward Party’s party-list MP Woraphop Viriyaroj, meanwhile, suggested that the ban on e-cigarettes should be reviewed. He said authorities could check around the Parliament House or the Government House and see how many vapers there were in the country. The administrator of Facebook Page: Drama-addict took on this hot topic too with a post saying that despite soaring cigarette tax rates, the number of smokers does not drop. Facing the woes are none other than people and farmers. Dr. Hatai Chitanondh, chairman of the National Health Foundation’s Thailand Health Promotion Institute, however has expressed concerns about the danger of alternative tobacco products. In response to Dr. Hatai’s move, Mr. Chaiwut spoke up that the US Food and Drug Administration has already allowed e-cigarettes to be marketed as modified risk tobacco products. He also demanded a fresh view towards e-cigarettes.

Raising Tax Alone is Probably Not the Right Solution
Dr. Ekkapob Pianpises or Dr. Ek, who represents Move Forward Party in Chiang Rai’s Constituency 1, has posted on his Facebook that, “Raising tax rate is not the only solution to cigarette control. Old tactics and methods may not effectively control cigarettes”.

His post also cited data from the Public Health Ministry. According to the data, the last cigarette-tax hike had drastically dampened the cigarette sales of the Tobacco Authority of Thailand but has lowered smoking rate by just two per cent (Thailand’s smoking rate between 2017 and 2021). He has therefore concluded that such data underlines the government’s failure to control tobacco and suggested that the government should embrace a new perspective, take a new approach, and importantly lift the e-cigarette ban.

“After cigarette tax rates were raised in 2017, cigarette sales have fallen and so has the Tobacco Authority of Thailand’s profit. The authority recorded the net profit of 9,343 million baht in 2017. But its profit dropped to just 513 million baht in 2019. Had its profit shrunk because of falling smoking rate, there would have been no complaint. But statistics suggest that Thailand’s smoking rate has hardly dropped over the past decade. Smoking rate, for example, has lowered but just about 2% between 2017 and 2021. The rate has been calculated based on the number of smokers only. Vapers have not yet been taken into account,” Dr. Ekkapob said on his Facebook: www.facebook.com/DoctorEkkapob.

Desperate Effort to Extract Revenue from Cigarette Taxes
Mr. Taopiphop Limjittrakorn or MP Tao of the Move Forward Party also posted the following message, “Desperate effort to extract revenue from cigarette taxes”. In his view, the government should stop using “health” as an excuse for its tax collection as it means the government fails to tackle the problem at its root cause.

Expressing his view on www.facebook.com/Taopiphop, he said cigarette-tax hike was done under the pretext of health protection but in fact the government made such move to reap income from people. In the MP’s opinion, the latest tax hike constitutes “desperate efforts to extract revenue from cigarette taxes” and is by no means a real solution. Such tax hike will only encourage foreign cigarette firms to offer cheaper-priced cigarettes that would adversely hurt Thai tobacco growers’ income. While the government has enjoyed a monopoly to tobacco-product manufacturing, cigarette smuggling has been rampant. Such fact means the government does not really get the amount of revenue it hopes for from cigarette taxes. Instead, it has spawned corruption and Thais’ health does not really improve on the overall.

“A claim about people’s health is rooted in an old concept. Based on this concept, the government has been telling people what to do and what not to do. It acts like a nanny state. While statistics show cigarette-tax hike is effective in curbing smoking rate due to resulting cigarette-price increase, cigarette smuggling exists. So, it is likely that the cigarette-tax hike does not really give expected results,” the Move Forward MP continued. He suggested that the government should promote e-cigarettes as a means to control tobacco products instead because e-cigarettes offer harm reduction. Mr. Taopiphop described such harm-reduction approach as a total solution to economic, social and health problems with public interest in mind.

“Several developed countries have addressed smoking danger to health in a different approach (when compared with Thailand). They have opted for harm reduction. New Zealand, for example, has passed a law on e-cigarettes after researches by several institutes suggest vaping is safer than smoking because tobacco is not burned. Without burning, it does not cause carcinogenic tar. In Britain, doctors even prescribe e—cigarettes to smokers who want to give up cigarettes. In Thailand, while vaping is popular, it is considered illegal. Such things happen probably because of some conflict of interest,” Mr. Taopiphop commented.

The administrator of famous Facebook page: Drama-Addict does not miss out on the issue. A post on this page says no matter how many times the government raises cigarette tax in Thailand, smoking rate does not really drop. In such circumstances, the introduction of vaping or IQOS products should be used as a solution.

Posted on 1 October 2021, the message of Drama-Addict said, “If you want to reduce the number of smokers and ensure the Tobacco Authority of Thailand and farmers do not go bankrupt, the authority should start developing vaping / IQOS products. These new alternatives should be able to get some market share by attracting people who would otherwise spend money on imported cigarettes or vaping / IQOS products. With such solution, farmers will also have time adjusting. They will be able to gradually curb the size of tobacco farms and start growing something else such as cannabis and hemp. The government can control vaping / IQOS products strictly to prevent youth from using them. Offer these alternatives to current smokers so that they in the end will stop smoking. This is clearly a better solution”.

Advice: Use Technologies
Move Forward Party’s party-list MP Woraphop Viriyaroj, who is also the spokesman of the House on finance, financial institutes and financial market, posted on his Facebook wall that he had in fact told the government several times that it should review e-cigarette ban that was imposed without conducting any study. He commented that the government should not shun out new technologies that could benefit the country in both healthcare and economic aspects. He said if the government changed its approach, it would be able to efficiently collect tax revenue and offer opportunities to both tobacco farmers and related entrepreneurs. Moreover, this MP pointed out that even though e-cigarettes are now illegal in Thailand, they are widely used at the Parliament House and the Government House.

Lack of Confidence in Scientific Studies
Dr. Hatai Chitanondh, chairman of the National Health Foundation’s Thailand Health Promotion Institute, has continued to oppose e-cigarettes and heat-not-burn products though. According to him, such alternatives are worrying. E-cigarettes, which are popular among youth and a segment of working adults, become new addictive products and attract more users. According to Dr. Hatai, e-cigarette advertisements are widely found in online media and such illegal products are available at flea markets. Thai laws ban the import, distribution and services of e-cigarettes.

Blocked Information
Digital Economy and Society Minister Mr. Chaiwut Thanakamanusorn has recently given additional information to the public saying that, “e-cigarettes are safer than cigarettes”. He said e-cigarette opponents, “may not know yet that the US FDA has already allowed IQOS products to be marketed as harm-reduction alternatives or modified risk tobacco products (MRTP). They are safer than cigarettes”.
“If IQOS products were really as dangerous as claimed, no country would allow their distribution. To date, many of us may have received information just from IQOS opponents. But if there are opportunities, we should get accurate information,” Mr. Chaiwut said.

In the past, debates on cigarette control focused just on tightening control measures. But now that the public calls for the free flow of information especially on issues related to smoking danger, it is high time that the government and policymakers listened to different opinions and recommendations on TOBACCO HARM REDUCTION. Many countries around the world, including Britain, the United States and New Zealand, have already embraced such approach. The Thai government and policymakers here in Thailand therefore should consider using s

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น