แจงแนวทาง เปิดท่องเที่ยวพื้นที่นำร่อง

กระทรวงมหาดไทย (มท. )ได้มีคำสั่งด่วนที่สุด ถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัด( ผวจ.) แจ้งแนวทางดำเนินการพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ประสานงาน โดยกรอบแนวทางมี 6 ด้าน ประกอบด้วย แนวทางตามมาตรการป้องกันโรค ,การเข้าพำนักและการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้เดินทาง , การตรวจสอบเอกสารรับรองการได้รับวัคซีน ,ความพร้อมด้านการแพทย์ สาธารณสุข ,รูปแบบการประเมินพื้นที่ และการจัดทำแผนชะลอหรือยกเลิกโครงการ

ทั้งนี้ในส่วน จ.เชียงใหม่นั้น นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร รอง ผวจ.เชียงใหม่ ได้ลงนามในเอกสาร แจ้งประสานไปยังท้องถิ่นจังหวัด เพื่อแจ้งทุก อปท.ให้รับทราบ สำหรับรายละเอียดแนวทางดังกล่าวนั้น มีประเด็นที่น่าสนใจหลายๆด้าน โดยเฉพาะมาตรการเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันโรค ระบุควรมีการซักซ้อมแผนอย่างน้อยมากกว่าครั้ง ในทุกมิติตั้งแต่กรณีการเผชิญเหตุ ระบบติดตาม ตรวจสอบนักท่องเที่ยว

“หากเป็นการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาจากแต่ละประเทศ ควรปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยง ตามระดับการแพร่ระบาด การกำหนดพื้นที่โรงแรมที่พักที่ผ่านการรับรอง กรณีผู้เดินทางตรวจพบเชื้อ” โดยกรณีดังกล่าว ผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทาง ความชัดเจน ที่กำหนดให้การตรวจเชื้อ โดยวิธีพื้นที่ อาร์ที- พีซีอาร์ ทั้งการพำนักไม่เกิน 7 วัน หรือมากกว่านั้น แตกต่างกันไป ซึ่งหากอยู่เกิน 10-14 วัน ต้องตรวจหาเชื้อช่วง ระหว่างวันที่ 6-7 ของการเดินทางมาพักผ่อน ในสถานที่นั้นๆ ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 2 และครั้งต่อไปช่วง 12-13 วัน เพื่อความปลอดภัย การตรวจสอบเอกสาร ฉีดวัคซีน ตั้งแต่ด่านหน้าที่ต้องประทับรับรองจากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่ว่าจะที่สนามบิน สถานีขนส่งหรือการประสานจัดชุดเจ้าหน้าที่ไปตรวจ ตามพื้นที่เฉพาะแต่ละจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง กลุ่มนักท่องเที่ยว สะท้อนถึงความมุ่งมั่น ที่จะขานรับนโยบาย กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ท้องถิ่น ผ่านภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอีกรายได้หลักๆ ในหลายเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในบ้านเรา

รูปแบบการปรับมาตรการสำหรับนักท่องเที่ยวตามสถานการร์ มีตั้งแต่การจัดระบบการเดินทาง ให้มีรถเฉพาะกรุ๊ป ไม่ให้มีผลกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่ ลดการใกล้ชิดลดจำนวนความแออัด จำกัด จำนวนนักท่องเที่ยว ตลอดจนยุติการรับนักท่องเที่ยว กรณีเกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง มีการส่งต่อผู้อาจติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยงเข้าพื้นที่ควบคุม ที่ผ่านการรับรอง ผ่านการประเมิน “จะเห็นได้ว่า 6 แผนหลักๆ และในรายละเอียดย่อยๆเฉพาะแผนสุดท้าย กรณีเกิดเหตุไม่คาดคิด ต้องมีความพร้อม รองรับแก้ปัญหา เพื่อสกัด กลุ่มเสี่ยง ติดเชื้อ ระบาดเป็นวงกว้างในพื้นที่ท่องเที่ยว ความพร้อม รองรับการเปิดพื้นที่ต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ที่จะมีกิจกรรม เทศกาลต่างๆ มากมาย

สิ่งสำคัญคือ ความร่วมมือของจังหวัดนั้นๆที่จะซักซ้อม ทำความเข้าใจกับ ประชาชนในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยว อย่าลืมมาตรการต่างๆ ท่ามกลาง สถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคนี้ มีการควบคุม ป้องกัน ติดตาม มาทุกระยะอย่างต่อเนื่อง มีการเร่งฉีดวัคซีน สิ่งจำเป็นที่ต้องร่วมมือกัน โดยไม่ต้องใช้กฎกติกาใดมาบริหารจัดการนั่นคือ การระมัดระวังป้องกันความเสี่ยง และเมื่อเกิดคลัสเตอร์ในบางพื้นที่ท่องเที่ยว หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ ก็เข้าดำเนินการตามมาตรการที่ทำความเข้าใจกัน ให้ทันสถานการณ์ ยกตัวอย่าง บางรีสอร์ท ที่พักในม่อนแจ่ม อ.แม่ริม พบผู้ติดเชื้อ ก็ไม่ได้หมายความว่า

ทั้งโซนม่อนแจ่มต้องปิดพื้นที่ แต่ต้องเพิ่มความเข้มในการเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น ไม่เช่นนั้น แผนกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว ก็เดินต่อไม่ได้” ผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ กล่าวย้ำในตอนท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น