ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ การควบคุมสารต้องห้าม (Doping Control) ในการแข่งขันกีฬา

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
การควบคุมสารต้องห้าม (Doping Control) ในการแข่งขันกีฬา

นายแพทย์วารินทร์ตัณฑ์ศุภศิริ
กรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันการควบคุมสารต้องห้าม (Doping Control) ที่จะต้องดําเนินการ ถือได้ว่าเป็นภาคบังคับ
เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างเสมอภาค บริสุทธิ์ยุติธรรม (Fair play) ตามเจตนารมณ์หรือปรัชญา ของ
การแข่งขันกีฬา จึงมีคําถามซึ่งเกิดขึ้นเสมอวาเพราะเหต ่ ุใด หรือมีความจําเป็นอย่างใดหรือรู้ได้อย่างไรว่า
เกิดปัญหาการโด้ป Doping หรือการเอาเปรียบในการแข่งขันกีฬา
ที่มาเกิดจากการเสียชีวิตของนักกีฬาในระหว่างการแข่งขันกีฬาจักรยานระยะทาง๑๐๐ กิโลเมตร
ในการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิค ฤดูร้อนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๓ ที่กรุงโรมประเทศอิตาลีผลจากการชันสูตรศพ
พบสาเหตุที่นักกีฬาเสียชีวิตว่า เป็นผลข้างเคียง อย่างรุนแรง จากการใช้สารกระตุ้น คณะกรรมการฝ่าย
การแพทย์ของ คณะกรรมการโอลิมปิคระหว่างประเทศหรือไอโอซี (International Olympic
Committee : IOC) จึงเริ่มให้ความสําคัญและคิดหามาตรการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อนักกีฬา และ
ทําให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเป็นการแข่งขันที่ขาวสะอาด ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบหรือการคด
โกง ประกอบกับว่าเกิดการตาย ของนักกีฬาขึ้นอีก ในระหว่างการแข่งขันจักรยาน Tour de France ใน
ปีพ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ประเทศฝรั่งเศส คณะกรรมการโอลิมปิค ระหว่างประเทศ จึงได้เริ่มต้นจัดให้มีการ
ควบคุมการใช้สารต้องห้ามในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน ที่ เมืองเม็กซิโก ในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ โดยได้
ประกาศรายชื่อสารต้องห้าม และกําหนดกฎเกณฑ์ของการตรวจสารต้องห้าม จากการเก็บปัสสาวะ
นักกีฬาส่ง ห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิคระหว่างประเทศทําการตรวจ
วิเคราะห์
ประวัติความเป็นมาของการใช้สารต้องห้ามมีมานานนับพันปีมีการใช้สารกระตุ้นเพื่อเพิ่ม
สมรรถภาพของร่างกาย ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๓ โดยนักรบโรมันหรือ Roman Gladiators ก็ใช้สารกระตุ้น
ในระยะแรกเคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการโด้หมายถึงการใช้สารกระตุ้นเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติยัง
ครอบคลุมถึงสารและวิธีการต่าง ๆที่ไม่ใช่การกระตุ้น แต่ทําให้เกิดข้อได้เปรียบยกตัวอย่างเช่น การใช้ยา
ขับปัสสาวะเพิ่มปริมาณปัสสาวะในการลดน้ําหนักตัวซึ่งฤทธิ์ของยามีผลให้อ่อนเพลียจากการเสียน้ําและ
เกลือแร่ แต่ได้เปรียบในชนิดการแข่งขันกีฬาที่กําหนดรุ่นโดยใช้น้ําหนัก อาทิมวยและยกน้ําหนัก
นอกจากนี้ยาขับปัสสาวะอาจมีผล ในเชิงปิดบังสารกระตุ้นอื่น (Masking agent) ทําให้ห้องปฏิบัติการไม่
สามารถตรวจพบสารต้องห้ามได้ยาขับปัสสาวะจึงถูกกําหนด ให้เป็นสารโด๊ป ปัจจุบันเพื่อให้เกิดความ
เข้าใจที่ชัดเจน จึงใช้คําว่า “สารต้องห้าม” ครอบคลุมสารทุกชนิด ที่ถูกกําหนดว่าเป็นสารโด๊ป และหมาย
รวมถึงวิธีการต้องห้ามต่างๆ ยกตัวอย่างการแอบผสมน้ําประปาลงในปัสสาวะที่ต้องการตรวจเพื่อหวังผล
ในการเจือจางปริมาณของสารโด้ปหรือใช้วิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปัสสาวะเพื่อไม่ให้
ตรวจสารต้องห้ามพบ
การควบคุมสารต้องห้ามเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีข้อยุ่งยากในวิธีการมากมาย คณะกรรมการโอ
ลิมปิคระหว่างประเทศ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งองค์กรระดับโลกเพื่อดําเนินการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการแข่งขันกีฬาอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ชื่อ องค์กรต่อต้านการโด้ปของโลก (World Anti –
Doping Agency) หรือ ชื่อย่อว่า วาด้า (WADA) มีการจัดประชุม คณะกรรมการ โอลิมปิคของแต่ละ
ประเทศจํานวนมากกว่า ๑๐๐ ประเทศที่เมืองโคเปนเฮเกนประเทศเดนมาร์กในปีพ.ศ. ๒๕๔๖ และ
ประกาศปฏิญญา โคเปนเฮเกน (Copenhagen declaration) รวมทั้งมีการร่างประมวลกฎต่อต้านการ
โด้ปของโลก (World Ant-Doping Code) เพื่อให้ทุกชาติถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ประเทศไทยนับเป็นประเทศอันดับที่ ๙๙ ของโลกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและ
กีฬาได้รับความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรีลงนามในปฏิญญาโคเปนเฮเกน คณะกรรมการโอลิมปิคแห่ง
ประเทศไทย ฯได้ลงนามให้ความเห็นชอบรับรอง ประมวลกฎต่อต้านการโด้ปของโลกแล้วเช่นกัน ต่อมา
เพื่อให้การต่อต้านการใช้สารต้องห้ามอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล ทุกชาติที่เป็นสมาชิกของ
คณะกรรมการโอลิมปิคระหว่างประเทศ วาด้าจึงได้เชิญ ยูเนสโก้ (UNESCO เข้ามาร่วมสนับสนุน
เนื่องจากการเป็นองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมรวมถึงการกีฬา
การประชุมยูเนสโก้ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ได้จัดให้มีการสัมมนาร่วม
หรือ Anti-Doping Convention และมีมติรณรงค์ร่วมกันระหว่างไอโอซีกับวาด้า รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการของไทยก็ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีลงนามกับยูเนสโก้เพื่อดําเนินการ
ไม่ให้มีการโด้ปในการแข่งขันกีฬา นับได้วาประเทศไทยให ่ ้ความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกต่าง ๆ อย่างดี
ยิ่งในการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการแข่งขันกีฬาทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ
สําหรับประเทศไทย การต่อต้านสารต้องห้ามในการแข่งขันกีฬาดําเนินงานโดย งานควบคุมสาร
ต้องห้าม ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศ
ไทย ฯ ทําหน้าที่เป็นองค์กรระดับชาติต่อต้านการโด้ปหรือนาโด้ (National Anti-Doping
Organization: NADO) ดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของปฏิญญาโคเปนเฮเกน
การดําเนินการในภาพรวมประกอบด้วย ๓ ประเด็น หลัก ดังนี้
๑. การให้ความรู้เรื่องสารต้องห้าม
เป็นการดําเนินงานนําเสนอข้อมูลทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสารต้องห้ามให้กับนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้อง
เช่น รายชื่อสารต้องห้ามที่ถูกกําหนดโดย WADA ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในทุกปีเพื่อเป็นการป้องกันการ
ใช้สารต้องห้าม ทั้งที่ตั้งใจและการรู้เท่าไม่ถึงการณ์เรื่องบทลงโทษของนักกีฬาที่ถูกตรวจพบสารต้องห้าม
รวมถึงเรื่องของเทคนิคขั้นตอนต่าง ๆ ในการตรวจสารต้องห้าม ให้แก่นักกีฬา และผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. การตรวจสารต้องห้าม
ในการตรวจสารต้องห้ามจะมีการตรวจทั้งในช่วงการแข่งขัน (In competition testing) และ
นอกการแข่งขัน (Out of competition testing) นอกจากนี้ยังมีการตรวจคัดกรองนักกีฬาทีมชาติไทย
ก่อนเดินทางไปร่วมการแข่งขัน ในเกมส์ระดับนานาชาติเช่น กีฬาโอลิมปิค เอเชี่ยนเกมส์และ ซีเกมส์
เป็นต้นเพื่อเป็นการป้องปรามการใช้สารต้องห้ามในนักกีฬา
๓. การลงโทษนักกีฬา
การลงโทษนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องที่ถูกตรวจพบสารต้องห้ามดําเนินการตามประมวลกฎการ
ต่อต้านการโด้ปโลก (WADA Code) บทลงโทษจะมีตั้งแต่การว่ากล่าวตักเตือน การห้ามเข้าร่วมการ
แข่งขัน ๒ ปีจนถึงห้ามเข้าร่วมการแข่งขันตลอดชีวิต การลงโทษนี้จะมีคณะกรรมการอยู่ ๒ คณะ คือ
คณะกรรมการพิจารณาลงโทษผู้ใช้สารต้องห้ามในนักกีฬา และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การลงโทษ

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการพิจารณาคําขอใช้สารต้องห้าม เพื่อการรักษาทางการแพทย์ หรือ
ทียูอี (Therapeutic Use Exemption : TUE)
สําหรับการตรวจสารต้องห้ามในนักกีฬาทั้งในช่วงการแข่งขันและนอกการแข่งขันในปัจจุบัน
ตรวจได้ทั้งปัสสาวะและเลือด ดําเนินการโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬานั้น ๆ ซึ่งกระบวนการ
เก็บและอุปกรณ์การเก็บรวมถึงบุคลากรเจ้าหน้าที่ ควบคุม สารต้องห้ามเรียกว่า ดีซีโอ (Doping
Control Officer : DCO) จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่วาด้ากําหนด
ซึ่งห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารต้องห้ามในนักกีฬาจะต้องได้รับการรับรองจากวาด้า โดยในปัจจุบัน
ศูนย์ตรวจสอบ สารต้องห้ามในนักกีฬามีทั้งหมด ๓๖ แห่งทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีศูนย์
ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาที่มหาวิทยาลัยมหิดล

สารต้องห้าม(รวมวิธีการต้องห้าม)
แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ ๑ สารและวิธีการต้องห้ามที่ห้ามใช้ตลอดเวลา (ทั้งนอกและในระหว่างการแข่งขัน)
กลุ่มที่ ๒ สารที่ห้ามใช้ในระหว่างการแข่งขัน
กลุ่มที่ ๓ สารต้องห้ามที่กําหนดพิเศษ
กลุ่มที่ ๑ สาร/วิธีการต้องห้ามที่ห้ามใช้ตลอดเวลา (ทั้งนอกและในระหว่างการแข่งขัน)
สารต้องห้ามในกลุ่มนี้ได้แก่
S.1 สารเร่งการสร้างเสริม (Anabolic Agents)
S.2 ฮอร์โมนเปปไทด์ (Peptide hormones) และสารกระตุ้นการเติบโต (Growth Factors)
รวมทั้งสารที่เกี่ยวข้อง
S.3 สารกระตุ้นการตอบสนองของตัวรับต่อสารอดรีนาลินชนิดเบต้าที่ ๒ (Beta – ๒ agonists)
S.4 สารยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการทํางานของฮอร์โมน (Hormone antagonists and
Modulator)
S.5 สารขับปัสสาวะ (Diuretics) และสารปิดบัง (Masking agents) อื่นๆ
S.1 สารเร่งการสร้างเสริม (Anabolic Agents)
เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้หรือสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน
เพศชาย โดยทําให้มีการสะสมโปรตีน น้ํา และเกลือในเซลล์กล้ามเนื้อจนมีขนาดโตและน้ําหนัก
มากขึ้น แต่กล้ามเนื้อที่โตจากการกระตุ้นด้วยยานี้จะมีสภาพอ่อนแอ นอกจากนี้ยังมีผลทําให้
เอ็นของกล้ามเนื้อ เกิดการอักเสบและฉีกขาดได้ง่ายทั้งในขณะฝึกซ้อมและแข่งขัน สารกลุ่มนี้มัก
ใช้กับกีฬาที่ต้องการพลังกล้ามเนื้อ เช่น ยกน้ําหนัก มวยปล้ํา เพาะกาย กรีฑา ว่ายน้ํา
ผลข้างเคียงทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก่อให้เกิดภาวะทางจิตโกรธง่าย
ฉุนเฉียว อาจทําให้ตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับ ในเด็กวัยเจริญเติบโต จะทําให้การเจริญเติบโต
หยุดชะงัก ในนักกีฬาชาย ใช้ระยะเวลานาน จะทําให้ผมร่วง การสร้างเชื้ออสุจิลดลง ลูกอัณฑะ
ฝ่อ และเป็นหมัน ความดันโลหิตสูง และอาจทําให้เกิดโรคหัวใจได้ ในนักกีฬาหญิง จะลดการ
ทํางานของรังไข่ มีลักษณะคล้ายเพศชาย เช่น เสียงห้าว ขนาดเต้านมเล็กลง มีขนหน้าอกขึ้น
S.2 ฮอร์โมนเปปไทด์ (Peptide hormones) และสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth
Factors) รวมทั้งสารที่เกี่ยวข้อง คือสารและสารที่กระตุ้นการหลั่งของสาร ต่อไปนี้
๑. สารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
ตัวอย่างเช่น สาร Erythropoietin (EPO) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นที่ไตทําหน้าที่ควบคุม
และกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดงบริเวณไขกระดูก นักกีฬานําไปใช้เพื่อเพิ่มเม็ดเลือดแดงให้มากกว่าปกติ
ทําให้จับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายรวมทั้งกล้ามเนื้อขณะออกกําลังได้มากขึ้น ทําให้ไม่เหนื่อยง่ายและ
ร่างกายมีพลังงานมากขึ้น แต่สารนี้อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายเนื่องจากหากใช้จํานวนมาก เม็ดเลือดแดงใน
เลือดมีมากเกินไปอาจทําให้หัวใจวายเฉียบพลัน
๒. ฮอร์โมนโคริโอนิคโกนาโดโทรปิน (Chorionic Gonadotrophin – CG) และลูทิไนซิ่ง
(Leutinizing hormones – LH) ในผู้ชาย
CG เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากรกของเด็กในสตรีที่กําลังตั้งครรภ์ส่วน LH สร้างจากต่อมใต้
สมองส่วนหน้า ของทั้งชายและหญิง LH สําหรับเพศหญิงช่วยกระตุ้นการตกไข่ส่วนในเพศชายจะกระตุ้น
ให้อัณฑะหลั่งสาร testosterone ทั้ง CG และ LH มีโครงสร้างคล้ายกัน นักกีฬาชายจึงนํามาใช้เพื่อ
กระตุ้นให้อัณฑะสร้างฮอร์โมน testosterone เพิ่มขึ้น โดยหวังผลในการสร้างกล้ามเนื้อและลดไขมัน ฯ
๓. อินสูลิน Insulin
สร้างขึ้นโดยตับอ่อนและช่วยให้น้ําตาลกลูโคสในกระแสเลือดซึมผ่านผนังเข้าไปในเซลล์เพื่อเผา
พลาญให้เกิดพลังงาน ส่งผลให้เกิดการสะสมไกลโคเจนในกล้ามเนื้อมากขึ้น โดยให้ก่อนการแข่งขัน ๒-๓
ชั่วโมง ทําให้อัตราการใช้น้ําตาลเพิ่มขึ้น ๑๐ -๑๒ เท่า ช่วยเสริมฤทธิ์ Testosterone หรือ Growth
Hormone ช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อลดขนาดลง แต่การใช้อินซูลินพร้อมน้ําตาลก่อนการแข่งขันจะ
เสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาด เนื่องจากอินซูลินจะไปเร่งการเคลื่อนย้ายน้ําตาลเข้าสู่เซลล์มาก ทําให้
ระดับน้ําตาลในเลือดต่ํา สมองขาดออกซิเจน อาจช็อกและหมดสติ
๔. ฮอร์โมนคอร์ทิโคโทรฟิน (Corticotrophins)
เป็นฮอร์โมนของร่างกายที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่ควบคุมการทํางานของต่อมหมวกไต
เพื่อหลั่งฮอร์โมน Corticosteroid มีการสังเคราะห์ฮอร์โมนนี้เพื่อใช้กระตุ้นต่อมหมวกไตให้สร้าง
ฮอร์โมนCorticosteroid มากขึ้น
๕. ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต Growth Hormones or Somatotrophin (GH,HGH)
เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง ทําหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ใน
ร่างกายการสังเคราะห์ฮอร์โมนนี้ขึ้นมาใช้เพื่อต้องการเพิ่มความสูงใหญ่แต่มีผลเสียมากกว่าผลดีเพราะไม่
เพียง แต่ทําให้กล้ามเนื้อมีขนาดโตขึ้นเท่านั้น แต่กลับไปเพิ่มการเจริญเติบโตเนื้อเยื่ออื่นๆ ด้วย เช่น
ผิวหนังหนาขึ้นอวัยวะภายในโต กระดูกโตและยาวขึ้น แต่กล้ามเนื้อที่โตกลับหย่อนยาน มักประสบ
ปัญหาเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคต่อมไทรอยด์(คอพอกเป็นพิษ) ประจําเดือนผิดปรกติและ อายุสั้น
กว่าคนทั่วไป
S.3 สารกระตุ้นการตอบสนองของตัวรับชนิด เบต้าที่ ๒ (Beta – ๒ agonists)
เป็นสารต้องห้ามที่อยู่ในรูปแบบของยารักษาโรคหืดหรือโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ยาก
ลุ่มนี้มีฤทธิ์ขยายหลอดลมของปอด ทําให้รับออกซิเจนได้ดีขึ้น หากนักกีฬามีประวัติการเจ็บป่วยด้าน
ทางเดินหายใจ จะอนุญาตให้ใช้บางตัวโดยการพ่นลําคอเท่านั้น และต้องมีใบรับรองแพทย์เฉพาะทาง
พร้อมหลักฐาน การตรวจการทํางานของปอด (Lung Function Test) ยาดังกล่าวหากใช้ปริมาณมาก
จะสามารถมีฤทธิ์คล้าย เป็นอนาบอลิกสเตียรอยด์สามารถกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อและลดไขมัน ได้จึง
ห้ามใช้แบบรับประทานหรือฉีด
S.4 สารยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการทํางานของฮอร์โมน (Hormone antagonists and
Modulator)
๑. Aromatase inhibitors ซึ่งจะตรวจเฉพาะในนักกีฬาชาย
๒. Selective Estrogen Receptor Modulators (SERMs)
๓. สารที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนเพศหญิงอื่นๆ รวมถึงแต่ไม่ได้จํากัดเฉพาะสารต่อไปนี้
Clomiphene, Tamoxifen and Fulvestrant
๔. สารเปลี่ยนแปลงการทํางานของ Myostatin
S.5 ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) และ สารปิดบังอื่นๆ (Masking agents)
นักกีฬาใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ําหนักตัวโดยการขับน้ําในร่างกาย ซึ่งสามารถลดปริมาณ
น้ําได้ถึง ๓% ของน้ําหนัก ตัวภายใน ๒๔ ชม. เช่นน้ําหนัก ๕๐ กก. สามารถขับน้ําได้๑.๕ กก.ขึ้นไป มัก
ใช้กับกีฬาที่ต้องการควบคุมน้ําหนัก เช่น ยกน้ําหนัก มวย ยูโด เทควันโด คาราเต้-โด เพาะกาย มวยปล้ํา
นอกจากนี้อาจใช้สารปิดบัง (Masking agent) อื่นๆ เช่น ยาโพรเบนนาซิด (Probenacid) ชึ่งจะบดบัง
สารต้องห้ามมิให้ตรวจพบได้ง่าย
ผลข้างเคียงของยาขับปัสสาวะ
– ร่างกายเสียเกลือแร่ เช่น เกลือโซเดียม โปตัสเซียม
– ทําให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวได้ง่าย
– เกิดภาวะเพลียแดด (Heat Exhaust) และภาวะลมแดด Heat Stroke ทําให้หมดสติ

วิธีการต่อไปนี้เป็นวิธีการต้องห้าม

M.1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการนําออกซิเจน (Enhancement of Oxygen Transfer)
M.2 วิธีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและฟิสิกส์ (Chemical and Physical Manipulation)
M.3 การโด๊ปด้วยยีน (Gene Doping)
……………………………………………..
M.1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการนําออกซิเจน (Enhancement of Oxygen Transfer) ได้แก่
– การโด๊ปด้วยเลือด (Blood Doping)
– การจงใจใช้สารที่เพิ่มการจับการนําหรือการปล่อยออกซิเจน
M.2 วิธีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและฟิสิกส์ (Chemical and Physical Manipulation)
เป็นการใช้วิธีการต่าง ๆ หรือใช้สารใดๆ เพื่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปัสสาวะ เพื่อ
ไม่ให้ตรวจพบสารต้องห้าม
M.3 การโด๊ปด้วยยีน (Gene Doping)
ใช้วิธีการทางเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์โดยการปลูกถ่ายยีนพิเศษที่ควบคุมการสร้างสารที่
ต้องการใส่เข้าไปในดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตที่จะใช้เป็นพาหะ เช่น เชื้อไวรัส แล้วนําเชื้อไวรัสที่มียีนที่
ต้องการฉีดเข้าสู่ร่างกายของนักกีฬา เพื่อให้ไวรัสปล่อยยีนเข้าไปในเซลล์ร่างกายนักกีฬา ทําให้สามารถ
สร้างสารที่เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้จากยีนดังกล่าว สารที่ได้จึงเหมือนกับสารที่ร่างกายผลิตขึ้น
เองแตกต่างจากสารสังเคราะห์ที่ได้รับเพิ่มเข้ามาจากการทานหรือฉีดโดยตรง ไม่สามารถตรวจพบว่าเป็น
การใช้สารโด้ปได้ง่ายๆ จําเป็นต้องใช้วิธีพิเศษที่ยุ่งยากในการตรวจว่ามีการใช้วิธีปลูกถ่ายยีนและผลจาก
การตรวจในปัจจุบันก็ยังอยู่ในขั้นทดลองอีกด้วย

กลุ่มที่ ๒ สารที่ห้ามใช้ในระหว่างการแข่งขัน
นอกจากสารต้องห้ามในข้อ S.๐-S.๕ และวิธีการต้องห้ามในข้อ M.๑-M.๓ แล้ว ให้เพิ่มเติมสารที่
ต้องห้ามต่อไปนี้
S.6 สารกระตุ้น (Stimulants)
S.7 สารเสพติด (Narcotics Analgesics)
S.8 สารประเภทกัญชา (Cannabinoids)
S.9 Glucocorticosteroids
S.6 สารกระตุ้น (Stimulants) แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท
๑. สารที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
คือ สารที่กระตุ้นระบบสมอง ที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตตามีน (amphetamine) ยากลุ่ม
นี้ออกฤทธิ์ต่อสมองทําให้ตื่นตัว ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ข้อเสียจะทําให้การตัดสินใจลดลงทําให้เกิดอุบัติเหตุ
ได้ง่าย
๒. สารที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทเสรีซิมฟาธิติก
คือ สารที่กระตุ้นต่อระบบหัวใจ อยู่ในกลุ่มยาแก้โรคหวัด ที่สําคัญ ได้แก่ สารที่มี
ส่วนประกอบของเอฟฟิดีน (ephedrine) ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทํา
ให้ออกซิเจนไปสู่กล้ามเนื้อ ที่ใช้ออกกําลังกายมากขึ้น กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น
๓. สารที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทเสรีซิมฟาธิติกบางส่วน
คือ สารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหลอดลมให้ขยายตัว ได้แก่ สารที่มีส่วนประกอบของยา
แก้โรคหืด ประเภท ยาขยายหลอดลม เช่น Salbutamal และ Terbutaline (อนุญาตให้ใช้เฉพาะแบบ
พ่นเท่านั้น)
ผลข้างเคียง: ระดับเล็กน้อย: กระสับกระส่าย มือสั่น มึนงง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ใจสั่น
ระดับรุนแรง: สับสน เพ้อ ชักกระตุก หวาดระแวง เส้นโลหิตในสมองแตก หัวใจวายเฉียบพลัน
S.7 สารเสพติด (Narcotics Analgesics)
เป็นสารออกฤทธิ์ที่สมองและไขสันหลัง บรรเทาอาการบาดเจ็บ ผลข้างเคียงต่อร่างกาย ทํา
ให้ง่วงนอน อัตราการหายใจต่ํา คลื่นไส้อาเจียน สารชนิดนี้ได้แก่ มอร์ฟีน เฮโรอีน รวมถึง เพธิดีน ซึ่ง
ยาแก้ไอบางชนิด อาจมีส่วนประกอบของสารบางตัวในกลุ่มนี้
S.8 สารประเภทกัญชา (Cannabinoid)
เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ถ้าใช้ในปริมาณมากจะทําให้เกิดการขาดสติในการยับยั้งชั่งใจ ซึ่ง
อาจจะทําให้เกิดอันตรายในขณะแข่งขันกีฬา
S.9 กลูโคคอร์ทิโคสเตอรอยด์ Glucocorticosteroids
ยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปยาหยอดตา ยาหยอดหูและยาครีมทาผิวหนัง เพื่อใช้
บรรเทาอาการภูมิแพ้แต่ในทาง Doping มีผลเพิ่มระดับน้ําตาลในเลือด ทําให้ร่างกายใช้พลังงานจาก
น้ําตาลมากขึ้น เพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดง และเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยทั้งนี้มีผลเสียต่อร่างกาย
คือ ยับยั้งการสร้างภูมิคุ้มกัน ทําให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ มีการแพร่กระจายเชื้อโรคอย่างรวดเร็ว ทําให้มีน้ํา
คั่งภายในร่างกายอาจทําให้เกิดความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่อการ เป็นโรคหัวใจล้มเหลว ในระยะยาวเกิด
ภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ตับอักเสบ กระดูกพรุน และเปราะ
ดังนั้น จึงห้ามใช้โดยการรับประทาน สวนทวารหนัก ฉีดเข้าเส้นหรือฉีดเข้า
กล้ามเนื้อ หากจําเป็นต้องใช้ทางการแพทย์ต้องได้รับอนุญาตโดยการขอยกเว้น ในการใช้เพื่อการรักษา
(Therapeutic Use Exemption: TUE)
กลุ่มที่ ๓ สารต้องห้ามที่กําหนดพิเศษ
P.1 แอลกอฮอล์ (Alcohol)
P.2 เบต้า-บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers)
P.1 แอลกอฮอล์ (Alcohol) หรือ ethanol
เป็นสารที่ห้ามใช้ในการแข่งขันกีฬาบางชนิด โดย ใช้วิธีการตรวจจากลมหายใจหรือทาง
เลือด โดยแต่ละสหพันธ์กีฬา จะกําหนดความเข้มข้นของแอลกอฮอล์แตกต่างกันออกไป เช่น การ
แข่งขันยิงธนูต้องไม่เกิน ๐.๑๐ g/l บิลเลียด ๐.๒๐ g/l
P.2 เบต้า-บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers)
เป็นสารที่มีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง นักกีฬาเชื่อว่าทําให้นิ่ง มีสมาธิดีขึ้น หรือ
เชื่อว่าลดอาการตื่นเต้น ทําให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันกีฬาบางชนิด อาทิยิงปืน ยิงธนูบิลเบียด
สนุกเกอร์
ระยะเวลาของยาหรือสารต้องห้ามที่ตกค้างในร่างกาย
ชนิดของสารต้องห้าม                                                 ระยะเวลาที่ตกค้างในร่างกาย
๑. พวกที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท                                                ๑ – ๗ วัน
๒. ยาแก้ปวดชนิดเสพตดิ                                                     ๒๔ – ๔๘ ชั่วโมง
๓. ยากล่อมประสาท                                                                 ๔ – ๘ วัน
๔. กัญชา                                                                               ๓ – ๕ สัปดาห์
๕. ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ผสมอยู่ในยาแก้หวัด            ๔๘ – ๗๒ ชั่วโมง

๖. สารอนาบอลิกสเตอรอยด์
– รับประทาน                                                                        ๓ – ๖ สัปดาห์
– ฉีด                                                                                     ๖ – ๘ เดือน
ขอให้สังเกตว่าสารอนาบอลิก สเตอรอยด์จะตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นเวลาหลายสัปดาห์โดยการ
กิน และตกค้างเป็นเวลาหลายเดือนโดยการฉีด

บทกําหนดโทษนักกีฬาที่ใช้สารต้องห้าม

เพื่อเป็นแนวทางในการลงโทษ WADA ได้จัดประเภทของการละเมิดกฎต้อต้านการใช้สาร
ต้องห้าม (Anti – Doping Rule Violation) เป็น ๘ ประเภท ดังนี้
๑.การตรวจพบสารต้องห้าม หรือเมตาบอร์ไลต์ส หรือมาร์กเกอร์ของสารต้องห้าม ในตัวนักกีฬา
๒.การใช้หรือพยายามใช้สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้าม
๓.การมีสารต้องห้ามไว้ครอบครอง
๔.การปฏิเสธการตรวจสารต้องห้ามในการแข่งขัน
๕.การแทรกแซงหรือพยายามแทรกแซงกระบวนการใด กระบวนการหนึ่งของการควบคุมการใช้สาร
ต้องห้าม
๖.การปฏิเสธการตรวจสารต้องห้ามนอกการแข่งขัน
๗.การค้าหรือขนส่งสารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้ามใด ๆ
๘.การจัดการหรือพยายามจัดการหรือสนับสนุน ยุยง ส่งเสริม ปกปิด เกี่ยวกับสารและวิธีการ
ต้องห้ามให้แก่นักกีฬา
การลงโทษของแต่ละประเภทมีระยะเวลา ดังนี้
การละเมิดกฎการต่อต้านสารต้องห้าม
ประเภท ๑ – ๕                              ห้ามเข้าร่วมการแข่งขันเป็นระยะเวลา ๒ ปี
ประเภท ๖                                     ห้ามเข้าร่วมการแข่งขันเป็นระยะเวลา ๑ – ๒ ปี
ประเภท ๗ – ๘                              ห้ามเข้าร่วมการแข่งขันเป็นระยะเวลา ๔ ปีถึงตลอดชีวิต
หากมีการละเมิดกฎการต่อต้านสารต้องห้าม ครั้งที่ ๒ การลงโทษขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ
คณะกรรมการพิจารณาโทษ ซึ่งอาจถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันตลอดชีวิต
เพื่อให้เห็นภาพ ความจําเป็นที่ WADA รวมทั้งองค์กรกีฬาทั้งหลายจะต้องดําเนินการต่อต้านการ
ใช้สารต้องห้า ในการแข่งขัน กีฬาอย่างเข้มข้น ขอให้ดูจากข้อมูลผลการตรวจโด๊ป ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อนในระยะเวลา๔๐.ปีที่ผ่านมา ดังนี้

Olympic Drug Testing
Games                               Athletes Tested                               Positive Tests
๑๙๖๘ Mexico City                   ๖๖๗                                                     ๑
๑๙๗๒ Munich                           ๒,๐๗๙                                                ๗
๑๙๗๖ Montreal                        ๗๘๖                                                    ๑๑
๑๙๘๐ Moscow                          ๖๔๕                                                     ๐
๑๙๘๔ Los Angeles                   ๑,๕๐๗                                                 ๑๒
๑๙๘๘ Seoul                              ๑,๕๙๘                                                 ๑๐
๑๙๙๒ Barcelona                      ๑,๘๔๘                                                 ๕
๑๙๙๖ Atlanta                           ๑,๙๒๓                                                  ๒
๒๐๐๐ Sydney                            ๒,๗๕๘                                                 ๑๑
๒๐๐๔ Athens                             ๓,๖๖๗                                                  ๒๖
๒๐๐๘ Beijing                             ๔,๕๐๐                                                  ๑๘
จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ชัดว่า มีการตรวจพบนักกีฬาใช้สารต้องห้ามทุกครั้ง ยกเว้นครั้งเดียว ในปี
ค.ศ.๑๙๘๐ ที่ตรวจไม่พบว่ามีการใช้สารต้องห้าม แม้ว่าจํานวนนักกีฬาที่ถูกตรวจพบว่าโด๊ปจะมีไม่มาก
นัก เมื่อเทียบกับจํานวนที่ถูกตรวจทั้งหมด แต่ขอให้เห็นว่า ยังคงมีนักกีฬาโด๊ป และไม่น่าเชื่อว่าทุกราย
เกิดจากความประมาท หรือไม่ตั้งใจ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโด๊ป เชื่อว่าส่วนหนึ่ง ยังคงมีนักกีฬาที่
พยายามเอาเปรียบโดยการแสวงหาสารโด๊ปที่ไม่อยู่ในรายการสารต้องห้ามที่ WADA ประกาศ มีผู้
พยายามสังเคราะห์สารโด๊ปที่ศูนย์ปฏิบัติการตรวจสารต้องห้ามตรวจไม่พบ จึงเป็นเรื่องที่ WADA ต้อง
ติดตาม อย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา เรื่องการต่อต้านสารต้องห้ามในการแข่งขันกีฬาเป็นเรื่องที่สําคัญมาก
เรื่องหนึ่ง ของการแข่งขันกีฬาระดับชาติและนานาชาติเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีข้อยุ่งยากหลายประการ
ต้องใช้ทั้งงบประมาณและบุคลากรจํานวนมาก ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรกีฬานานาชาติในทุก
ระดับ จะต้องจัดหาบุคลากรรับผิดชอบ การต่อต้าน การใช้สารต้องห้ามระดับชาติจะต้องมีการอบรม
สัมมนา อย่างต่อเนื่อง ตามข้อผูกพันที่ลงนามไว้
ข้อเขียนข้างต้น เป็นเพียงความรู้ทั่วไปในหลักการกว้าง ๆ ของการควบคุมการใช้สารต้องห้ามใน
การแข่งขันกีฬา รายละเอียดทั้งหมดผู้รับผิดชอบจะต้องศึกษาจากประมวลกฎการต่อต้านการใช้สาร
ต้องห้ามโลก และดําเนินการกับ WADA อย่างใกล้ชิด
คําแนะนําเบื้องต้นสําหรับนักกีฬาระดับชาติและนานาชาติคือการศึกษาให้เข้าใจ ในหลักการ
ของการต่อต้าน การใช้สารต้องห้าม นักกีฬาต้องระมัดระวังที่จะไม่ใช้ยาเอง หรือใช้ยาตามคําแนะนําของ
ผู้อื่น ต้องอยู่ในความดูแล อย่างใกล้ชิดของแพทย์กีฬา หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารต่าง ๆ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านการตรวจรับรองจากศูนย์ปฏิบัติการตรวจสารต้องห้าม ว่า
ตรวจไม่พบสารโด๊ป นักกีฬาต้องแจ้งต่อแพทย์ทั่วไปทุกครั้งที่ขอรับการรักษา ว่าขอให้แพทย์ระมัดระวัง
ที่จะไม่ใช้ยา ที่มีส่วนผสมของสารต้องห้าม ยกเว้นในกรณีจําเป็นเร่งด่วน แต่ต้องมีการแจ้งขอยกเว้นเพื่อ
การรักษาทางการแพทย์ (TUE) และต้องเข้าใจว่าสารต้องห้ามบางชนิดไม่สามารถขอ TUE ได้
นักกีฬาทุกคนต้องถือว่าเรื่องสารต้องห้ามในการแข่งขันกีฬามีความสําคัญมาก เป็นกฏ กติกา
เช่นเดียวกับกติกาในการ แข่งขันกีฬาเป็นสิ่งที่นักกีฬาต้องยึดถือปฏิบัตินักกีฬาไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธว่าไม่
รู้ไม่เห็น ไม่ได้ใช้สารต้องห้าม ไม่มีความรู้เรื่องสารต้องห้าม หากถูกตรวจพบ นักกีฬาต้องยอมรับผล
การตรวจ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎการต่อต้านสารต้องห้ามโลก เปรียบได้กับการที่ทําผิดกฎหมายแล้ว
อ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
***********************

ที่มา http://61.19.241.96/w3c/senate/pictures/comm/51/sport%20science/012%20Doping%20Control.pdf

ร่วมแสดงความคิดเห็น