สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ให้เด็กๆ ได้รับการฉีดวัดซีนถึงโรงเรียน

แพทย์ชนบทดีเด่นปี 2564 ได้นำทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ รณรงค์ฉีดวัคซีนวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนใน อ.ปางมะผ้า เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโควิด

นพ.สุพัฒน์ ใจงาม ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลปางมะผ้า และแพทย์ชนบทดีเด่น ปี 2564 ได้นำทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ลงพื้นที่เชิงรุกไปรณรงค์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรค์ และโรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ทั้งนี้เด็กๆที่ได้รับการฉีดวัดซีน ไม่เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงแต่อย่างใด

ทั้งนี้ในระยะแรกได้กำหนดให้ผู้มีโรคประจำตัว ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ เป็นผู้มีความเร่งด่วนอันดับต้นให้ได้รับวัคซีน จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว ที่อาจเกิดโรคโควิด-19 รุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิต ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง และภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคพันธุกรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง

สำหรับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน อาจเกิดขึ้นได้ แต่น้อยมาก ทั้งภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ส่วนมากอาการไม่รุนแรงและหายเป็นปกติ ซึ่งจากสถิติเพียง 10-20 เข็ม ต่อ 1 ล้านเข็ม คือ ฉีดไป 1 ล้านเข็ม จะมีเด็ก 10-20 คน ที่มีอาการ อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังหลังการฉีดวัคซีน ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหักโหมใน 1 สัปดาห์ สังเกตอาการผิดปกติ หากมีอาการ เหนื่อยง่าย ใจสั่น ภายหลังฉีด 1 สัปดาห์ หรือมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ นอกจากนี้ ในเด็กผู้ชาย อายุ 12 ปี ถึง 16 ปี ให้รับวัคซีน เข็มที่ 1 และชะลอการให้เข็มที่ 2 ไปก่อน จนกว่าจะมีคำแนะนำเพิ่มเติม เนื่องจากการฉีดเข็ม 2 ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงกว่าเข็มแรก อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งพบน้อยมาก ส่วนเด็กผู้หญิง สามารถรับวัคซีน 2 เข็มห่างกัน อย่างน้อย 3 สัปดาห์


ชนานันท์ เง่าสุวรรณ์ / เครดิต ปชส.จ.แม่ฮ่องสอน

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น