ผู้สูงอายุพุ่งสูง กลุ่มเปราะบางช่วงโควิดเดือดร้อน

เครือข่ายผู้สูงอายุ จ.เชียงใหม่ เปิดเผยข้อมูลกลุ่มผู้สูงอายุ เปราะบาง ที่จัดอยู่ในผู้พิการ ตามข้อมูลที่หน่วยงานภาครัฐฯรวบรวมจาก 12 ศูนย์ทั่วประเทศ 1.1 ล้านคน พบว่า ศูนย์ฯเชียงใหม่มีกว่า 139,606 คนเป็นตัวเลขเฉพาะจังหวัดมีกว่า 3 หมื่นคน ซึ่งจะมีทั้งที่บกพร่องทางการเคลื่อนไหว,การเดิน,การได้ยิน สติปัญหาและออทิสติก
ข้อมูลจากสถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุตัวเลขประชากรมีกว่า66,716,783 คนนั้น พบว่า มีผู้
สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปขณะนี้ 12,651,293 คน อายุ 80 ปีขึ้นไป กว่า 1.4 ล้านคน ตั้งแต่ต้นปีนี้ มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเสียชีวิตแล้ว 348,919 คน มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นล่าสุด 368,676 คน ( ตัวเลข 13 ตค.2564 )
แนวทางการช่วยเหลือ สงเคราะห์ ผู้สูงอายุ ในไทยนั้น กรมกิจการผู้สูงอายุ แจ้งว่ามีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 18 ตค. 2554 เห็นชอบจัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุ 60 – 69 ปี จะได้รับ 600 บาท /อายุ 70 – 79 ปี จะได้ 700 บาท /อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับ 800 บาท อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้ 1,000 บาท เป็นสิทธิพื้นฐานที่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะได้รับทุกคน

ล่าสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้เปิดรับลงทะเบียนผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566เดือนตค.-พย.2564 และ เดือนมค.-กย.2565 คุณสมบัติต้องเกิดก่อน 2 กย. 2506 เป็นผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านจากภูมิลำเนาอื่นเข้ามาอยู่ในอปท.นั้นๆ ไม่เป็นผู้รับสวัสดิการจากภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ/อปท.
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้สูงอายุบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ,หน้าสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยกรณีมอบอำนาจ ให้แนบเอกสารหนังสือมอบอำนาจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ มาด้วยซึ่งงานสังคมสงเคราะห์ แต่ละ อปท. จะแจ้งผ่านเสียงตามสายในชุมชน ประชาสัมพันธ์ผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน, สมาชิกสภา ฯ ในแต่ละเขตเลือกตั้งไปแจ้งกลุ่มเป้าหมายในขณะนี้ทั้งนี้ งบประมาณ ที่ใช้จ่ายในการสงเคราะห์ผู้สูงอายุหรือเบี้ยยังชีพรายเดือนนั้น ในแต่ละงบประมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย รวม 66,016,930,800 บาท เพื่อจ่ายเป็นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุร 8,296,573 คน ไม่รวมเทศบาลนครและเทศบาลเมือง 214 แห่ง ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณตรงสำหรับงบประมาณ ที่ต้องจ่ายเพื่อกลุ่มผู้สูงอายุนั้น จะแบ่งเป็นเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เป็นสัดส่วน 68-70 % ของรายจ่าย, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สัดส่วน 23-25 % ที่เหลือ 6-7 % จะเป็นงบรายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าบริการสาธารณสุข กิจการเพื่อผู้สูงอายุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เพิ่มวงเงินให้ผู้สูงอายุเป็นค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค รายละ 200-300 บาท/คน/เดือนและผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรับเงินสมทบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่ม อีกรายละประมาณ 200 บาท จากกองทุนผู้สูงอายุ ” มีการประเมินตัวเลขงบเบี้ยผู้สูงอายุในปี 2568 (ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เกิน 20% ของประชากร) ต้องใช้งบประมาณสูงถึง 3.62 แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 4.78 แสนล้านบาท ในปี 2578 ซึ่งเป็นปีที่จำนวนผู้สูงอายุสูงสุด ราวๆ 20.3 ล้านคน ด้วยอัตราการแต่งงาน อัตราการเกิดในสังคมไทยลดลงต่อเนื่องและยังพบว่า กลุ่มเปราะบาง ทั้งสูงวัยที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ ในช่วงโควิด 19 ระบาดนั้น แต่ละพื้นที่ มีความยากลำบาก ได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากครัวเรือน ที่มีผู้สูงอายุ มีรายได้ลดลง จากภาวะว่างงาน, กิจการมีรายได้ลด เป็นต้น ”

ผู้บริหาร อปท. ในพื้นที่ จ.ลำพูนและเชียงใหม่ กล่าวว่า งบเบี้ยผู้สูงอายุ ที่จ่ายรายหัว ให้กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้น ไม่เป็นภาระกับงบอปท.แต่อย่างใด ปัญหาที่พบคือ ครัวเรือนยากจน เงินเบี้ยสูงวัย บางส่วนยังกลายเป็นเงินเลี้ยงดูลูกหลาน ที่พ่อแม่ นำมาให้คนแก่เลี้ยงดูและ บางครัวเรือน ผู้สูงวัย ป่วยเรื้อรัง ซึ่งการดูแล สงเคราะห์ของ อปท.และหน่วยงานต่างๆ อาจไม่ทั่วถึง ” ในช่วงโควิด ระบาดนี้ จึงอาจพบเห็นช่องทาง การดิ้นรน ของกล่มเปราะบาง สูงวัย หลากรูปแบบ ที่น่ากังวล จะเป็นเรื่องตกเป็นเหยื่อ พวกลวงโลก อ้างรับบริจาค สงเคราะห์กลุ่มสูงวัย หรือ การนำไปปล่อย เป็นภาะ ตามสถานสงเคราะห์, ตามวัด “

ร่วมแสดงความคิดเห็น