(มีคลิป) พุทธศาสนิกชนชาวน่าน ร่วมทำบุญถวายทานสลากภัตล้านนาไทย ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม  2564 ตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ที่ บริเวณศาลาพระเจ้าทันใจ วัดวัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน  พระชยานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมกับบรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชนชาวน่าน บุกระทำพิธีทำบุญทานสลากภัต ตามนประเพณีเก่าแก่นับร้อยปี และเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวล้านนาไทย เนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดมาช้านานหลายชั่วอายุคนและหลายร้อยปี สืบต่อกันมาจนถึงรุ่นคุณปู่-ย่า /ตา-ยาย/พ่อ-แม่ และลูกหลานในปัจจุบัน

ประเพณีทานสลาก ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่จัดให้มีเป็นประจำทุกปี ประเพณีทานสลากภัต คือ การทำบุญสลากภัตรในล้านนาไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บางแห่งว่า “กิ๋นก๋วยสลาก” บางแห่งเรียก “กิ๋นสลาก” บางแห่ง “ตานก๋วยสลาก”ประเพณีการถวายทานก๋วยสลากภัต ถือว่าผู้ทำบุญเป็นคนโชคดี ทั้งผู้รับและผู้ให้ ซึ่งต้องจัดขึ้นที่วัด พุทธศาสนาตานก๋วยสลาก/ตานสลาก/ กิ๋นข้าวสลาก/กิ๋นก๋วยสลากหรือกิ๋นสลาก] ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาของชาวถิ่นล้านนา ที่มักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายนั้นเหมือนกันโดยหลักการอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ในเรื่องของรายละเอียดถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า “สลากภัต” ประเพณี “ตานก๋วยสลาก” หรือ “สลากภัต” ของชาวล้านนานิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี สาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนและบวกกับในช่วงเวลานี้ก็มีผลไม้สุก เช่น ลำไย มะไฟ สมโอ เป็นต้น


พระชยานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง กล่าว่า ประเพณีทำบุญถวายทานสลากภัตเป็นประเพณีเก่าแก่นับร้อยปี และเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวล้านนาไทย เนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ การจัดถวายทานสลากภัตในปีนี้ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคฯ การเว้นระยะห่าง ร่วมถึงการงดกิจกรรมรวมกลุ่มคนหมู่มาก จึงได้มีการจัดงานประเพณีถวายสลากภัต ตานก๋วยสลาก เฉพาะในพื้นที่ตามรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ New Normal เพื่อป้องกันโรคโควิด-19

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น