โบนัสลูกจ้างท้องถิ่น 1,326 คน ปฏิบัติงานสาธารณสุขช่วงโควิดบรรจุเป็นข้าราชการ

เครือข่ายลูกจ้างสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข เปิดเผยว่าความคืบหน้าและขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 เป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษเข้ารับราชการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันเริ่มมีความชัดเจนแล้ว

กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) ได้ชี้แจงประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของอนุกรรมการด้านการเงิน การคลัง และงบประมาณว่า การของบประมาณเพื่อบรรจุขณะนี้เห็นควรให้จัดสรรงบประมาณให้เฉพาะผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งในอปท.แห่งนั้นเท่านั้น หากมีการโอน/ย้าย หรือเกษียณอายุราชการหรือพ้นตำแหน่งใน อปท.นั้นๆ เห็นควรไม่ให้มีการจัดสรรงบประมาณอีกต่อไป การสำรวจบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะนี้มีบุคลากรด้านสาธารณสุขของ อปท. 873 คน เป็น ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน (เงินบำรุง) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนมาสังกัด อปท. 27 คน รวม 900 คน ใช้งบทั้งสิ้น 153,116,240 บาท ผู้ช่วยนักวิชาการสุขาภิบาล และผู้ช่วยเจ้าพนักงานสุขาภิบาล 426 คน ใช้งบ 78,309,540 บาท

สรุปจำนวนพนักงานจ้างตามภารกิจ และลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน (เงินบำรุง) รพ.สต.ถ่ายโอน รวม 1,326 คนต้องใช้งบกว่า 23 ล้านบาท ในจำนวนบุคลากรที่ต้องแต่งตั้งบรรจุจะเป็น พนักงานจ้างตามภารกิจ 1,299 คนผู้ช่วยเจ้าพนักงานเภสัชกรรม 1 คน ผู้ช่วยเจ้าพนักงานสาธารณสุข 424 คนผู้ช่วยเจ้าพนักงานสุขาภิบาล 73 คน ผู้ช่วยนักเทคนิคการแพทย์ 1 คนผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข 426 คน ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5 คนผู้ช่วยพยาบาลวิชาชีพ 13 คนผู้ช่วยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 คนผู้ช่วยนักวิชาการสุขาภิบาล 353 คน ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน (เงินบำรุง) รพ.สต. ถ่ายโอน 27 คนนักวิชาการสาธารณสุข 25 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน ผู้ช่วยเจ้าพนักงานสาธารณสุข
1คน งบกว่า 231 ล้านบาทนั้นจะเป็น เงินเดือนข้าราชการ ประมาณ 218,377,320 บาทตำแหน่งประเภททั่วไป 499
อัตรา เป็นเงินกว่า 68 ล้านบาท ตำแหน่งประเภทวิชาการ 827 อัตรา ใช้งบประมาณ 149 ล้านบาท เงินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ข้าราชการ อีกประมาณ 13 ล้านบาท ซึ่งหากบรรจุบุคลากรด้านสาธารณ สุขของ อปท. กรณีใช้งบประมาณ ของ อปท.หรือใช้งบอุดหนุนทั่วไป จะเป็นภาระผูกพันงบประมาณในระยะยาวทั้งของ อปท. และของรัฐบาลซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจทางการเงิน การคลัง และงบประมาณของ อปท.

ด้าน สถ.ยืนยันว่าตามรายงาน บุคลากรทั้ง 1,326 คนนั้นเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน อปท. ทั้งหมดอยู่ใน อบต. 582 ราย เทศบาลตำบล 366 ราย เทศบาลเมือง 201 ราย เทศบาลนคร 133 ราย อบจ. 39 รายและเมืองพัทยา 5 ราย ทุกคนมีมาตรฐาน คุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้พิจารณาการขอใช้งบรายจ่ายงบกลาง รายการเงิน สำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ส่วนในปีงบประมาณถัดไป อาจจะต้องหารือกับ ก.ก.ถ. ขอเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลัง

ด้านนี้ของ อปท. ให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด
อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตุจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข และ การปกครองท้องถิ่น ว่า เพื่อความเป็นธรรม และไม่ให้ เกิดความเหลื่อมล้ำควรพิจารณาการกระจายตัวของบุคลากรสาธารณสุขของ อปท. ด้วย กังวลว่าอปท. ขนาดเล็กที่ไม่ได้ขอรับการบรรจุ ไม่มีงบประมาณเพียงพอ และไม่เคยมีการจ้างบุคลากรในตำแหน่งดังกล่าว จะไม่ได้รับการจัดสรรงบและงบอาจกระจุกตัวที่ อปท. ขนาดใหญ่ๆ

“ระบบการสอบคัดเลือกปกติ เปิดโอกาสให้ลูกจ้าง และพนักงานจ้างตามภารกิจด้านสาธารณสุขของ อปท. สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการด้านสาธารณสุขอยู่แล้ว หากใช้มติคณะรัฐมนตรี 15 มิ.ย. 2563 กรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นมาตรฐานบุคลากรด้านสาธารณสุขของ อปท.เป็นกรณีพิเศษอาจจะกระทบต่อกรอบอัตรากำลังและเป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณของ อปท. เพราะนอกจากเรื่องเงินเดือนแล้วจะมีเรื่องสิทธิประโยชน์ ซึ่งจะผูกพันงบ อปท. ในระยะยาว เป็นภาระ อปท. ขนาดเล็ก ที่มีงบไม่มาก”

คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.) คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) และคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) มีมติเห็นชอบ และเสนอกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ของบประมาณสนับสนุนการบรรจุ แต่งตั้งแต่การบรรจุบุคลากรด้านสาธารณสุขสังกัด อปท. ต้องเป็นธรรม มีความชัดเจนและพิจารณารอบคอบ ตรวจสอบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนว่าไม่ขัดกับกฎหมายและสามารถดำเนินการได้ ไม่เป็นบุคลากรจากการถ่ายโอนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

ร่วมแสดงความคิดเห็น