ปภ.รายงานยังคงสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม 15 จังหวัด ประสานเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

29 ต.ค.64 เวลา 09.10 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวม 15 จังหวัด โดยอิทธิพลความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 24 – 28 ต.ค. 64 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก 4 จังหวัด (เชียงใหม่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช) สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ส่วนสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งจากเขื่อนอุบลรัตน์ระบายน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น หนองบัวลำภู และบุรีรัมย์ รวม 6 อำเภอ 23 ตำบล 99 หมูบ้าน ประชาชนได้รับผกระทบ 2,443 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมทั้งสามจังหวัด ขณะที่ผลกระทบจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่างและประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 17 – 19 ต.ค. 64 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และนครปฐม รวม 26 อำเภอ 111 ตำบล 713 หมู่บ้าน 12,427 ครัวเรือน ด้านผลกระทบจากอิทธิพลพายุ “คมปาซุ” ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 2 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี และปราจีนบุรี รวม 3 อำเภอ 10 ตำบล 40 หมู่บ้าน 1,944 ครัวเรือน ขณะที่ผลกระทบจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี รวม 25 อำเภอ 230 ตำบล 1,157 หมู่บ้าน 75,378 ครัวเรือน ในภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แล้ว ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานอิทธิพลความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ประกอบกับมี ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 24 – 29 ต.ค. 64 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช รวม 7 อำเภอ 8 ตำบล 10 หมู่บ้าน 38 ครัวเรือน สถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด

ส่วนสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง จากฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้เขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำเพิ่มสูง ตั้งแต่วันที่ 20 – 29 ต.ค.64 และต้องเพิ่มการระบายน้ำ จึงทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น หนองบัวลำภู และบุรีรัมย์ รวม 6 อำเภอ 23 ตำบล 99 หมูบ้าน ประชาชนได้รับผกระทบ 2,443 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมทั้งสามจังหวัด ภาพรวมระดับน้ำลดลง
ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่างและประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 17 – 19 ต.ค. 64 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สระแก้ว ชลบุรี สมุทรปราการ นครปฐม และกาญจนบุรี รวม 52 อำเภอ 205 ตำบล 1,029 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,513 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 6 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และนครปฐม รวม 26 อำเภอ 111 ตำบล 713 หมู่บ้าน 12,427 ครัวเรือน ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำลดลง ดังนี้

1. ชัยภูมิ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านเขว้า และอำเภอเมืองชัยภูมิ รวม 8 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 544 ครัวเรือน

2. นครราชสีมา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอคง อำเภอเมืองยาง อำเภอประทาย อำเภอ โนนไทย อำเภอโชคชัย อำเภอพิมาย อำเภอปักธงชัย อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอจักรราช อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง และอำเภอโนนแดง รวม 38 ตำบล 207 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,772 ครัวเรือน

3. ศรีสะเกษ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 202 ครัวเรือน

4. นครปฐม น้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม รวม 61 ตำบล 475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,909 ครัวเรือน

ส่วนอิทธิพลพายุ “คมปาซุ” เมื่อวันที่ 15 -17 ต.ค. 64 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ลพบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก รวม 16 อำเภอ 74 ตำบล 315 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,605 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 2 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี และปราจีนบุรี รวม 3 อำเภอ 10 ตำบล 40 หมู่บ้าน 1,944 ครัวเรือน ภาพระดับน้ำลดลง ดังนี้

1. ลพบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเถภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี รวม 9 ตำบล 39 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,879 ครัวเรือน

2. ปราจีนบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 65 ครัวเรือน

สำหรับผลกระทบจากพายุ “เตี้ยนหมู่” เมื่อวันที่ 23 ก.ย. – 7 ต.ค. 2564 ซึ่งทำให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 33 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 226 อำเภอ 1,206 ตำบล 8,265 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 339,346 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 20 ราย (ลพบุรี 11 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย ชัยนาท 1 ราย นครสวรรค์ 3 ราย สิงห์บุรี 3 ราย) ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 27 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 6 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี รวม 25 อำเภอ 230 ตำบล 1,157 หมู่บ้าน 75,378 ครัวเรือน ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ดังนี้

1. มหาสารคาม น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 12 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,627 ครัวเรือน

2. สุพรรณบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 20 ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,011 ครัวเรือน

3. สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี รวม 10 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,149 ครัวเรือน

4. อ่างทอง ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ รวม 36 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,453 ครัวเรือน

5. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมขังในในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอบางซ้าย อำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอบ้านแพรก รวม 131 ตำบล 790 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 54,837 ครัวเรือน

6. ปทุมธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 56 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,301 ครัวเรือน

สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมสรรพกำลังในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ และดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784”

ร่วมแสดงความคิดเห็น