ลุยแผนบ้านแสนสุข สร้างชุมชนมีแหล่งอาหารช่วงโควิดลาม

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ. ) ระบุว่า องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท. ) มีบทบาทสำคัญในการ สร้างเสริม สนับสนุนบริการพื้นฐาน โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด 19 ซึ่งอปท.แต่ละแห่ง จะมีแผนบูรณาการความร่วมมือ กับหน่วยงานต่างๆ หลากรูปแบบตามศักยภาพ วิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาคมในพื้นที่ที่ผ่านๆมา อปท. หลายแห่งมีความโดดเด่น ในผลสำเร็จจากดัชนีชี้วัด คุณภาพชีวิตที่ดี มีประสิทธิภาพของครัวเรือน ภายในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบ ผ่านกิจกรรมโครงการบ้านแสนสุข มีทั้งการส่งเสริมครัวเรือน ปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ , พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสูวิถีชุมชน ที่เป็นเสน่ห์ด้านการท่องเที่ยว จนก่อเกิดแหล่งรายได้ในชุมชนเพิ่มเติมเป็นต้นด้านนายเอกพงศ์ ทุนอินทร์ นายก ทต.แม่แรง อ.ป่าซาง ลำพูน เปิดเผยว่า มีการดำเนินโครงการสุขกายสบายใจ ในบ้านแสนสุขโดยหมู่บ้าน ในต.แม่แรง จะมี ความเหมาะสม และการขับเคลื่อนกิจกรรม แตกต่างกัน ยกตัวอย่างหมู่ 8 บ้านป่าเบาะ จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามและประเมินผล บ้านที่เข้าร่วมโครงการ มีผลตอบรับที่น่าพึงพอใจ

คณะที่ลงพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นนางสาวดารินทร์ ปัญญา ปลัดอำเภอป่าซาง นางจันทร์เพ็ญ เตโช ผอ.รพ.สต.แม่แรง นายจักรคำ โง่ยเตจา ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.แม่แรง กศน.อำเภอป่าซาง พัฒนาชุมชนอำเภอป่าซาง และผู้แทนชุมชน พบว่า หมู่บ้านแห่งนี้หลักเกณฑ์ตัวชี้วัด 4 ด้าน ประสบผลสำเร็จทั้งด้านร่างกาย ชาวบ้านสมบูรณ์แข็งแรงตามวัย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารครบ 5 หมู่, ด้านจิตใจ คือ มองโลกในแง่ดี มีส่วนร่วมในงานบุญ, ด้านสิ่งแวดล้อม คือ มีการปลูกพืชผักสวนครัว ปรับภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมทั้งภายในบ้านและภายนอกบ้านให้ถูก
สุขลักษณะ และด้านสังคม คือ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว มีการมอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้กับบ้านที่ผ่านการประเมินฯ และเตรียมส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนต่อไป
สำหรับโครงการหมู่บ้านวิถีใหม่ สู้ภัยโควิด 19 บ้านแสนสุขนั้น หน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้ยึดโยงระบบการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนจากรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พัฒนารูปแบบสู่ระดับครอบครัว คือ อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเชื่อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) มีการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการยกระดับเป็นตำบลจัดการคุณภาพชีวิตโดยเพิ่มมิติด้านคุณภาพชีวิต เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต


” เป้าหมายให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองและช่วยเหลือกันเอง มีระบบบริการปฐมภูมิทั้งที่ชุมชนจัด รัฐ เอกชนจัดและเชื่อมบริการกัน และเกิดระบบการจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตตามลักษณะพื้นที่ 5 ลักษณะ คือ พื้นที่ชนบท เมืองและความเป็นเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่พิเศษอื่น ๆ ”
ศูนย์สุขภาพเขต 1 เชียงใหม่ ระบุว่า ใน 25 อำเภอ 204 หมู่บ้าน 2,066 ตำบล 97 ชุมชน จะมี อสค.ราวๆ
22,261 คน นอกนั้นจะเป็น อสม. 34,721 คนากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ของประเทศไทยมีการแก้ไขปัญหาด้วยด้วยมาตรการภาครัฐ ความร่วมมือของประชาชนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุขตลอดจน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้วยระบบการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็งทบทของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่มีส่วนร่วมเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ภายในหมู่บ้าน ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในตำบล ขยายผลสู่การบูรณาการความร่วมมือกับ อปท. ผ่านครัวเรือน เกิดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลง ปรับตัวของ ชุมชน หมู่บ้านตำบล จำนวนมาก
“มีการสร้างแปลงเพาะปลูกผลผลิตทั้งพืชผักสวนครัว ไม้ผล มีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างครัวเรือน หรือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อจำหน่าย เป็นรายได้เสริม ซึ่ง อปท. มีส่วนร่วมสนับสนุนงบดำเนินการ จากการเสนอแผนของหมู่บ้าน เป็นอีกภาพสะท้อน การปรับตัว พัฒนาวิถีชุมชน สู่วิถีชุมชน ในวิถีใหม่ อยู่รอด อย่างยั่งยืนได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาขอรับการช่วยสงเคราะห์”

ร่วมแสดงความคิดเห็น