เจแปนฟาวน์เดชั่น จับมือ วิจิตรศิลป์ มช.จัดนิทรรศการ “โอะกุริโมโนะ สุนทรียะแห่งการให้และได้คืนกลับ”

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันจัดนิทรรศการสัญจร “โอะกุริโมโนะ สุนทรียะแห่งการให้และได้คืนกลับ” ระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน – 19 ธันวาคม 2564 ที่ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิทรรศการนี้เป็นชุดนิทรรศการล่าสุดของเจแปนฟาวน์เดชั่นและจะเดินทางมายังประเทศไทยเป็นจุดหมายแรกในโลก

นิทรรศการนี้ โดยคุณนากาซากิ อิวาโอะ ผู้อำนวยการและศาสตราจารย์คณะสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัย สตรีเคียวริสึ โดยนำเสนอพิธีการและธรรมเนียมปฏิบัติของการมอบของขวัญในญี่ปุ่น พร้อมทั้งลักษณะความงาม และความหลากหลายของขวัญที่นำมาแลกเปลี่ยน ทั้งยังบอกเล่าความคิดคำนึงและปรัชญาของชาวญี่ปุ่นผู้อยู่เบื้องหลังของชิ้นนั้นๆ สิ่งของที่ถูกคัดสรรมา รวมถึงการแลกเปลี่ยนของขวัญเอง จึงต้องมีความสวยงาม ขณะเดียวกันมีความเหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้สึกออกไป

ในประเทศญี่ปุ่น “การมอบของขวัญ” ไม่ใช่เพียงแค่การยื่นสิ่งของให้ แต่เป็นการแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อผู้รับและปรารถนาให้มีความสุข ลวดลาย รูปทรง สี วัสดุและกรรมวิธีการสร้างสรรค์ ล้วนสะท้อน ถึงความคิดความรู้สึกทึ่มีต่อผู้รับ เหตุใดพ่อแม่เจ้าสาวจึงมอบ ชิโระมุคุ กิโมโนสีขาวบริสุทธิ์ประดับลายคิชโชที่ประกอบด้วย ต้นไผ่สน ต้นบ๊วยและบางคร้ัง รูปนกกระเรียนและเต่า แก่ลูกสาวของพวกเขา ทำไม ชาวญี่ปุ่นจึงใช้ฟุกุสะ และฟุโรชิกิในการห่อของขวัญ พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นดูแลเด็กแรกเกิดและลูกๆ อย่างไรเพื่อให้เด็กๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงสมบรูณ์ ทำไมฮาโอริและฮันเท็น เสื้อคลุมฤดูหนาวตัวสั้นของญี่ปุ่น จึงมีตราประจำตระกูลหรือสัญลักษณ์และสิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อ อะไร?

คำตอบทั้งหมด สามารถค้นหาได้ในนิทรรศการนี้ จากกว่า 90 ชิ้นงานจัดแสดงที่ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เพื่อเสนอรูปร่างทางความคิดและความรู้สึกของผู้ให้ของชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลาสำคัญต่างๆ ของชีวิตดังนี้

ส่วนที่ 1: ของขวัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานแต่งงาน : เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์สำหรับพิธีแต่งงาน รวมถึงของขวัญ ที่มอบให้ในช่วงการเฉลิมฉลองซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณของการอธิษฐาน ให้เจ้าสาวมีความสุข

ส่วนที่ 2 : หัวใจและศิลปะของการห่อของขวัญ ฟุกุสะและฟุโรชิกิ : จิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นใน “การห่อของขวัญ” รวมถึงสุนทรียะตามแบบญี่ปุ่นที่สื่อสารผ่านลวดลายและการออกแบบต่างๆ มากมาย

ส่วนที่ 3 : ของขวัญจากพ่อแม่แก่ลูก : ในบริบทของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ของขวัญจากพ่อแม่ที่มอบให้แก่ลูกๆ เผยให้เห็นถึงความรักและคำอวยพรให้ลูกของพวกเขาเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงสมบูรณ์

ส่วนที่ 4 : การมอบของขวัญเพื่อกระชับความสัมพันธ์ : การมอบและแลกเปลี่ยนของขวัญ ทำเพื่อ
ยืนยัน และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ทั้งในความสัมพันธ์แบบขุนนางบริวาร เจ้านายลูกน้องหรือแม้แต่ คนที่อาศัยในละแวกเดียวกัน

เราหวังว่านิทรรศการนึ้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้มีส่วนร่วมและเข้าใจในลักษณะ “การเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ” และ “ความสัมพันธ์อันแน่นเฟ้นของผู้คน” ที่ล้วนเป็นรากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นและอยู่ในพิธีกรรมการมอบของขวัญในญี่ปุ่น

ร่วมแสดงความคิดเห็น