เงื่อนไขแจกเครื่องกันหนาว ล้อมคอกท้องถิ่นอ้างภัยพิบัติ ใช้งบจนชาวบ้านหนาว

จังหวัดลำพูนแจ้งว่าได้รับเรื่องจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กรณีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีคำวินิจฉัยเชิงระบบในการร้องเรียน การปฏิบัติตามระเบียบและเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีอากาศหนาวจัดผิดปกติ และขอความร่วมมือสถ.ประชาสัมพันธ์แจ้งทำความเข้าใจกับภาคส่วนต่างๆ ที่ประสงค์จะแจกจ่ายเครื่องกันหนาว มิให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้ง นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผวจ.ลำพูน ได้ลงนามในเอกสาร แจ้งเรื่องดังกล่าวไปยัง นายอำเภอ นายก อบจ. และนายกทม. รับทราบ พร้อมขอความร่วมมือแจ้ง ทต. และอบต.รับทราบ แนวทางปฏิบัติด้วย


ด้านผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่แจ้งไปยังอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เมื่อ 12 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรียนชี้แจงว่า จากระเบียบการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พศ.2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พศ.2563 คำวินิจฉัยข้อเสนอแนะ ปรากฎในเอกสาร ที่แจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ มหาดไทย,คลัง, สถ.,สำนักงบประมาณ กรมป้องกันภัย,กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น และ ในข้อเท็จจริง อธิบายคำนิยาม ภัยพิบัติ ชัดเจน

กรณีอากาศหนาวจัดผิดปกติ ซึ่งมีการแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์ใหม่ โดยระบุเพิ่มเติมว่ต้องอุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส และมีช่วงเวลาอากาศหนาวยาวนาน ติดต่อกันเกิน 3 วัน ให้จ่ายค่าจัดซื้อ เครื่องกันหนาวสงเคราะห์ได้เท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 240 บาท จังหวัดหนึ่งไม่เกินงบปีละ 1 ล้านบาท สำหรับประเด็น อุณหภูมิ ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียสนั้น มีข้อแย้งจาก อปท.และหลายๆหน่วยงานว่า อุณหภูมิขนาดนั้นจะมีเพียงยอดดอยเท่านั้น ควร กำหนดว่า อากาศหนาวเย็นติดต่อกันนานเกิน 3 วัน และค่าใช้จ่ายจริงคนละ 240 บาท กำหนดมานาน ไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน อีกทั้งราคาขนาดนั้นจะได้สินค้าไม่มีคุณภาพ อายุการใช้งานสั้น

มติที่ประชุมนำเสนอประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประสานเสนอแนะกระทรวงการคลัง โดยสรุปว่า อากาศหนาวเย็นไม่ต่ำกว่า15 องศาเซลเซียส หนาวยาวนานติดต่อกันเกินกว่า 3 วัน สามารถจัดซื้อเครื่องกันหนาวสงเคราะห์ ผู้เดือดร้อนได้ เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 240 บาท และจังหวัดหนึ่งไม่เกินปีละ 1 ล้านบาท


ต่อมากระทรวงการคลัง เห็นชอบในหลักเกณฑ์ที่ปรับเป็นอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 3 วัน และจ่ายได้ไม่เกินคนละ 300 บาท และจังหวัดหนึ่งไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี และขอให้ทุกหน่วยงานประสานแผนสงเคราะห์ เครื่องกันหนาวทั้งจากภาครัฐเอกชน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพ

เครือข่ายป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภาคประชาชน ภาคเหนือ รายงานว่า ที่ผ่านๆมา ปัญหาการใช้งบประมาณ ด้วยข้ออ้างกรณีภัยพิบัตินั้น มีความซ้ำซ้อน และส่อไปในการทุจริตเชิงนโยบาย หลายๆพื้นที่ มีการตรวจสอบล่าช้า กระบวนการติดตาม สอบสวนหากลุ่มผู้กระทำความผิด ที่เกี่ยวข้องทั้ง ผู้ค้า นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ จะลงโทษชั้นผู้น้อยมากกว่าระดับใหญ่ๆ


นอกจากนั้น บาง อปท. ในเขตภาคเหนือตอนบน มีการจัดสรรงบ เพื่อจัดซื้อผ้าห่ม เครื่องกันหนาว ชุดเสื้อผ้า ที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยวิธีการ ที่อิงแอบผลประโยชน์ทับซ้อนบาง อปท.ขนาดใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา มีจัดซื้อเครื่องกันหนาว มูลค่ามหาศาล จนเกิดข้องเรียนและนำไปสู่การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข การใช้จ่ายงบที่รัดกุมขึ้น แต่ก็เชื่อว่า ยังมีการอิงแอบ รับผลประโยชน์ที่อ้าง ปฏิบัติตามระเบียบเช่นเดิมที่ผ่านๆมา หน่ยงานตรวจสอบ อาทิ ปปช., สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบการจัดหาและแจกผ้าห่มภัยหนาวในปีงบประมาณต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานราชการและและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ มีประเด็นข้อตรวจพบ หลายด้านทั้งการแจกผ้าห่มกันหนาวซ้ำครอบครัวจากหลายหน่วยงาน บางครอบครัวได้ 3-4 ผืน ไม่มีการสำรวจความต้องการผู้ที่ขาดแคลนก่อนแจก จัดซื้อผ้าห่มกันหนาวในราคาแพงกว่าราคาตามท้องตลาด


” ที่สำคัญหน่วยงานตรวจสอบ เสนอแนะให้พิจารณาดำเนินการ ให้ อปท. จัดหาผ้าห่มเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวเป็นไปอย่างประหยัด คำนึงถึงประชาชนที่มีปัญหาขาดแคลนผ้าห่มกันหนาวอย่างแท้จริง กำชับให้ปฏิบัติตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในช่วงเวลานั้น มิใช่ประกาศครอบคลุมทั้งจังหวัด และหากภัยพิบัติดังกล่าวได้สิ้นสุดลงให้รีบประกาศวัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดภัยทันที ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเปิดช่องใช้งบจัดซื้อเครื่องกันหนาวจนชาวบ้าน สังคมหนาวกับงบที่ใช้จ่ายมหาศาล “

ร่วมแสดงความคิดเห็น