Change For Child HUG Project ร่วมกับสำนักอัยการนำร่องจัดอบรมฯ

Change For Child  HUG Project ร่วมกับสำนักอัยการนำร่องจัดอบรมหลักสูตรโครงการเพิ่มศักยภาพพนักงานอัยการในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อเด็กผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการกระทำความรุนแรงต่อเด็กในรูปแบบอื่น ตั้งเป้า 5 ปีจะทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้าถึงเด็กและผู้เสียหายมากที่สุด โดยยึดหลักผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง

(HUG Project) ร่วมกับสำนักงานอัยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรม “โครงการเพิ่มศักยภาพพนักงานอัยการในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อเด็กผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์  การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการกระทำความรุนแรงต่อเด็กในรูปแบบอื่น” ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2564  ที่โรงแรมเลอเมอริเดียน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่อง ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการนำพนักงานอัยการทั้งหมด 26 ท่าน มาร่วมอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคส่วนของ เอ็นจีโอ  ทั้งแนวคิด องค์ความรู้ อุปสรรคปัญหา การทำงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กและการค้ามนุษย์ก่อนจะตกผลึกนำมาขยายผลต่อยอดทำเป็นหลักสูตรในการทำงานเกี่ยวกับคดีค้ามนุษย์ และการแสดงหาผลประโยชน์ทางเพศโดยเฉพาะกับเด็ก ซึ่งมีความละเอียดอ่อนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อลดความบอบช้ำทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากกระบวนการยุติธรรม

นางจตุพร แสงหิรัญ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีค้ามนุษย์ กล่าวว่า การจัดโครงการนี้ขึ้นมานั้นจุดประสงค์หลักที่ร่วมกับฮักโปรเจค โดยทางฮักโปรเจคได้มีการสนับสนุนงบประมาณ โดยมีระยะเวลาการทำโครงการ 5 ปีซึ่ง 5 นี้เราก็จะพัฒนาศักยภาพของพนักงานอัยการให้เรียนรู้กระบวนการยุติธรรมที่เรียนรู้กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรเกี่ยวกับเด็กนั้นคืออะไรโดยเริ่มจากการสร้างทีมงานขึ้นมามีคณะอัยการที่เข้าร่วมการอบรมครั้งนี้กว่า 20 คน โดยมีคำสั่งแต่งตั้งจากสำนักงานอัยการสูงสูดขึ้นมาเป็นทีมงานก่อนเพื่อร่วมกันพิจารณาหาเนื้อหาหลักสูตรที่เหมาะสมทำหลักสูตรที่เหมาะสมทำเครื่องมือที่จะไว้ใช้เผยแพร่ให้กับพนักงานอัยการเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานซึ่งหลังจากที่เราได้หลักสูตรแล้วเราก็จะออกไปฝึกอบรมให้กับอัยการทั่วประเทศตามแผนโครงการที่เราวางไว้ซึ่งจะเป็นโครงการหนึ่งถึงสองปีแรกและต่อปีต่อไปในอนาคตก็จะพัฒนาหลักสูตรขึ้นไปอาจจะมีการทำวิจัยทำแนวนโยบายหลังจากที่เราเห็นทำไปแล้วสองสามปีอาจต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอะไรบ้างให้มีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการทำงานหลังจากนั้นก็จะนำเสนอผู้บริหารให้มีการปรับกระบวนการทำงานให้เหมาะสมสำหรับเด็กโดยการทำงานของเรานิยึดเด็กเป็นหลักเป็นศูนย์กลางเพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กจริงๆ

ด้านนางวีรวรรณ มอสบี้ ประธานโครงการฮักโปรเจค บอกว่า ทางโครงการเราให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาครัฐในการคุ้มครองเด็กโดยเฉพาะที่ผ่านมาเราจะเห็นว่ายังมีช่องว่างระหว่างตำรวจกับอัยการและเห็นความสำคัญกับอัยการก็เลยได้มีการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานอัยการเพื่อคุ้มครองเด็กที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ถูกละเมิดทางเพศแล้วก่อความรุนแรงในรูปแบบต่างๆโดยโครงการเราได้รับความร่วมมือกับท่านอัยการซึ่งจะดำเนินการทั้งหมด 5 ปีเริ่มตั้งแต่ปี 2564 เบื้องต้นก็จะมีการจัดอบรมอัยการระดับประเทศหลังจากนั้นก็จะมีการนำความรู้ที่ได้ไปอบรมท่านอัยการระดับภูมิภาค ซึ่งทางโครงการฮักโปรเจคนั้นดีใจซึ่งต้องการให้ประเทศไทยมีอัยการที่เป็นมิตรกับเด็กโดยเฉพาะเด็กทุกคนที่ตกเป็นผู้เสียหายทุกรูปแบบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตร

ด้านนายวุฒิชัย พุ่มสงวน  หนึ่งในท่านอัยการที่เข้าร่วมอบรมครั้งนี้  บอกว่า การสัมนาครั้งนี้นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเนื่องจากว่าเป็นการเรียนรู้กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อเด็กเพราะว่าปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมเป็นการกระทำซ้ำต่อเด็กไม่ว่าจะเข้าไปเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นพยานนอกจากตัวเขาโดนกระทำจากสังคมแล้วพอเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว กระบวนการยุติธรรมก็ไม่เข้าใจไม่เป็นมิตร ยุ่งยากวุ่นวายเสียเงินเสียค่าเสียใช้จ่ายเราถึงต้องนำอัยการมาระดมสมองปัญหาต่างๆ ที่เราเจอจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้างนอกจากเป็นมิตรกับเด็กแล้วยังเป็นมิตรกับประชาชนด้วย

เช่นเดียวกับนางสาวเสฏฐา   เธียรพิลากุล   อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด  บอกว่า
การอบรมครั้งนี้ถือว่าเป็นมิติใหม่ของอัยการเลยก็ว่าได้ที่เรามาร่วมกันเรียกว่าจากทุกหน่วยของอัยการทุกคนที่จิตใจว่าจะคุ้มครองเด็กสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นคือมีการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม เอ็นจีโอ อย่างเช่นฮักโปรเจคอย่างใกล้ชิด ซึ่งหลังจากวันนี้ที่เรามีการทำเวิคชอปกันอย่างเข้มข้นเพื่อที่จะไปสร้างหลักสูตรซึ่งอัยการกลุ่มนี้จะเป็นเทรนเนอร์และจะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดทักษะการงานของอัยการทั่วประเทศให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับการฝึกอบรมครั้งนี้ก็จะมีกิจกรรมหลากหลายทั้ง กิจกรรมการสร้างนิยามความหมาย กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อเด็กผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการกระทำความรุนแรงต่อเด็กในรูปแบบอื่นๆ  นำเสนอกรอบนิยามระดับสากล   การนำเสนอ กรอบนิยามเบื้องต้นของวิทยากร โดยมีการแบ่งกลุ่มให้ท่านอัยการได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก่อนจะมีการอภิปรายและสรุปนิยามความหมาย

การทบทวนเนื้อหาในการอบรม ตลอดจนการร่างหลักสูตรการอบรม และรูปแบบเครื่องมือที่จะช่วยให้ กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อเด็กผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์และเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในอนาคต มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตราฐานเดียวกันก่อนที่จะมีการเดินไปดูงานนอกสถานที่เพื่อไปเยี่ยมชมศูนย์ฮักโปรเจค ในพื้นที่อำเภอหางดง   เพื่อดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการช่วยเหลือเด็กด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น