สำนักงาน ป.ป.ช. กำกับติดตามหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษาของ ม.นอร์ท-เชียงใหม่

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ผศ.บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้รับการประสานงานจาก สำนัก งานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) นำโดย นางสวรรยา รัตนราช ผู้อำนวยการ สำนักต้านทุจริตศึกษา และ นางจุฑารัตน์ สุวารี ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยและบริการวิชาการ และคณะ เพื่อขอเข้าร่วมประชุมการกำกับติดตาม การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา ซึ่งหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) ประกอบด้วย 5 หลักสูตร ดังนี้ 1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชา การป้องกันการทุจริต) 2. หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใส ใจสะอาด “Youngster with good heart”) 3. หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ (ตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ) 4. วิทยากร ป.ป.ช. / บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ (สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคม ที่ไม่ทนต่อการทุจริต) 5. หลักสูตรโค้ช(โค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต) โดยผู้แทนจากสำนักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย

  1. นางสวรรยา รัตนราช ​ผู้อำนวยการสำนักต้านทุจริตศึกษา
  2. นางจุฑารัตน์ สุวารี ​​ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิชาการฯ
  3. นายภูมิภากร ภูมิวัฒน์ ​เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ สำนักต้านทุจริตศึกษา
  4. นายธนรัชต์ ศรีเพชร ​เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ สำนักต้านทุจริตศึกษา
  5. นายพัฒนโชติ ช้วนรักธรรม ​เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน สำนักต้านทุจริตศึกษา
  6. น.ส.พิมพินันท์ ธีร์ธนารุจน์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ สำนักงาน ป.ป.ช.​​​​​ประจำจังหวัดเชียงใหม่
  7. น.ส.ดวงเดือน บุดดีคำ ​เจ้าหน้าที่สนับสนุนการประเมิน ITA สำนักงาน ป.ป.ช.​​​​​ประจำจังหวัดเชียงใหม่

ส่วนผู้แทนของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ได้แก่ ผศ.บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดีฯ/ อาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา “ธรรมาภิบาลชีวิต” ,อ.จารุณี ปัญควณิช หัวหน้าภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ ,อ.นีรนาท ตาจุมปา อาจารย์ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะสังคม ศาสตร์และศิลปศาสตร์ และ กรรมการบริหารชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดเชียงใหม่ และ ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 2 คน คือ นายอุสมาน ยันติง ,นายธานี อัตตะแจ่มใส ซึ่งเคยลงทะเบียนเรียนรายวิชาดังกล่าว

ผศ.บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ กล่าวว่า “ในฐานะอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ธรรมาภิบาลชีวิต ซึ่งปรับชื่อรายวิชามาจากวิชา การต่อต้านการทุจริต ที่เกิดจากความร่วมมือของ ป.ป.ช. และ 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนของ คณะกรรมการ ป.ป.จ.เชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช. ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา ทั้งนี้ เนื้อหาในหลักสูตร มีความสอดคล้องกับ หลักสูตรวัยใส ใจสะอาด สำหรับสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2562 ของ สำนักงาน ป.ป.ช. อีกทั้งยังมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในกระบวนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity – based Learning) ผ่านระบบออนไลน์ ในสถานการณ์โควิด-19 ได้รับวุฒิบัตรจาก สำนักงาน ป.ป.ช. ลงนามโดย นายวรวิทย์ สุขมาก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

เมื่อวันที่ 31 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการปรับรูปแบบการเรียนการสอน ให้มีเกิดความพึงพอใจมากขึ้นระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หลากหลาย เพราะการเรียนรู้ในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงห้องสี่เหลี่ยมแบบดั้งเดิม จึงเสนอแนะว่า ควรใช้กรณีศึกษา ที่เป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นได้ปรับเปลี่ยนพัฒนาไปมาก เกินกว่าบทลงโทษทางกฎหมายจะตามทัน จึงได้เสนอแนะว่า การเรียนรู้ ควรเป็นการรู้เท่าทันกลโกง การแจ้งเบาะแส และปลูกฝังจิตสำนึกให้ทุกคนในสังคม ต้องไม่ยอมจำนนต่อคนโกงชาติ บ้านเมือง ไม่ทนต่อการทุจริต ซึ่งต้องไม่อาศัยเพียงหน่วยงานภาครัฐและกฎหมาย แต่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว เช่น ภาคประชาสังคม–สถาบันการศึกษา- องค์กรทางศาสนา – สื่อมวลชน ฯลฯ แม้จะเป็นเพียงแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่ก็ใช่จะสิ้นหวัง หากพวกเราทุกคน ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดังนั้น มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ก็ยินดี และ พร้อมจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้ไปสู่เป้าหมาย …คนไทยคือ….พลังพลเมืองที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ​​​

ร่วมแสดงความคิดเห็น