รอง ผบ.ตร.สั่งเข้มกําชับสกัดกั้นแรงงานต่างด้าว ให้เพิ่มความเข้มจุดตรวจจุดสกัดตามแนวชายแดน เร่งขยายผลกลุ่มขบวนการผู้นําพาอย่างเด็ดขาดหวังสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19

วันนี้ (7ม.ค. 65) เวลา 09.00 น. ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. พร้อมคณะ ลงตรวจงานพร้อมให้กำลังใจผู้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงปีใหม่ และประชุม กําชับเกี่ยวกับการสกัดก้ันแรงงานต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึง กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร

1.ให้เพิ่มความเข้มในการตั้งจุดตรวจจุดสกัดกวดขันจับกุมแรงงานต่างด้าวลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายแดน และพื้นที่ตอนใน เมื่อมีการจับกุมบุคคลต่างด้าวทุกครั้ง ให้ชุดขยายผลของ ภ.จว.ต้องร่วมซักถามขยายผล ดําเนินคดีกับกลุ่มขบวนการผู้นําพาอย่างเด็ดขาด

2. ปัจจุบันปรากฏว่า มีการแพร่ระบาดลักษณะคลัสเตอร์ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีร้านอาหารกึ่งผับ เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เพิ่มความเข้มในการตรวจสอบการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดฯ และคําสั่งคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการ/ร้านอาหาร ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค ปฏิบัติมาตรการ Covid Free Setting หสดฝ่าฝืนให้ดําเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด

3. ให้เจ้าหน้าที่ตํารวจผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับประชาชน ให้มีมาตรการป้องกัน โควิด-19 ระมัดระวังป้องกันตนเอง เช่น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเว้นระยะห่างใช้เจลแอลกอฮอล์ รวมทั้งการคัดกรองผู้มาใช้บริการอย่างเข้มงวด

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดตามแนวชายแดน เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ทั้ง ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ให้เพิ่มความเข้มงวด เฝ้าระวัง สกัดกั้นขบวนการขนย้าย ค้าแรงงานต่างด้าว ที่แอบลักลอบเข้าประเทศไทยตามแนวชายแดนโดยผิดกฎหมาย

พร้อมกำชับสั่งขยายผลขบวนการนำพาแรงงานเถื่อนข้ามพรมแดน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์จับกุมผู้กระทำความผิด ปราบปรามการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมถึงเคร่งครัดคดีในคดีอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประกาศ

โดยต่อไปงานสอบสวนคดีออนไลน์ จะปรับระบบใหม่มีแนวคิดคือ หากถูกหลอกทางออนไลน์ได้ ก็ต้องแจ้งความทางออนไลน์ได้ และจะมีเจ้าหน้าที่ที่ติดต่อไป ประชาชนไม่ต้องเดินทางไปโรงพัก และอธิบายสถานการณ์ สามารถส่งข้อมูลทางออนไลน์ได้ ซึ่งจะเป็นแอพพลิเคชั่น หรือ ซอฟต์แวร์ โดยเรียกว่า “Case Management” พัฒนาโดยทีมงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติเอง

ร่วมแสดงความคิดเห็น