(มีคลิป) น่านประชุมการติดตามแก้ไขปัญหาราคาสุกร ไก่และไข่ไก่ จังหวัดน่าน

น่านประชุมการติดตามแก้ไขปัญหาราคาสุกร ไก่และไข่ไก่ จังหวัดน่าน เกษตรกรขาดความมั่นใจในราคาอาหารสัตว์ ปรับขึ้นราคาสัปดาห์ละ 6 บาท ไม่สามารถรับความเสี่ยงด้านราคาอาหารสัตว์ได้

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 เวลา 14.30 น. นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้แทน ผู้ประกอบการ เกษตรกร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์  เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาราคาสุกร ไก่และไข่ไก่ จังหวัดน่าน

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาสุกรมีการปรับราคาขายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาจำหน่าย ไก่ และขาไก่เริ่มมีการขยับปรับราคาสูงขึ้น  จังหวัดน่านได้เชิญหน่ายงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดน่าน เช่น สำนักงานพาณิชย์  สำนักงานปศุสัตว์  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งผู้ประกอบการในพื้นที่ เช่นผู้แทนฟาร์มสุกรซีพี  บริษัทหมูอินเตอร์  เบรทาโกร น่านฟาร์ม  เป็นต้น ร่วมหารือเพื่อร่วมกันติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์ และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเบื้องต้นสาเหตุของปัญหาที่ทำให้จำนวนสุกรหายไปจากตลาดคือ
1.ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ตัวแทนผู้ประกอบการแจ้งว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่มีการใช้หมูจำนวนมาก  ทำให้จำนวนหมูที่ผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าจากจังหวัดอื่น แม้ผู้ประกอบการจะไม่นิ่งนอนใจ ได้นำเข้าลูกหมูตั้งแต่ปลายปี 2564จากเขตอื่นมาเลี้ยง แต่ก็ต้องใช้เวลาเลี้ยงถึง 6 เดือนจึงจะนำมาจำหน่ายได้  คาดว่าปัญหาจะลดลงในเดือน มีนาคม เมษายน พฤษภาคม ก็จะมีแนวโน้มดีขึ้น
2.โรคระบาดสัคตว์ทำให้สุกรมีจำนวนน้อยลง
3.วัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาสูงขึ้น
4.ยารักษาโรคสัตว์ราคาสูง
5. เกษตรกรรายย่อยตื่นตระหนกและรีบขายสุกร ส่งผลใหแม่พันธ์หายไปมาก
6.สุขภาพสัตว์ทำให้จำนวนลดลง เพราะเมื่อเกิดโรค ต้องพักเล้าและจัดการมาตรฐานฟาร์ม ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกรรายย่อย


ส่วนปัญหาโรคระบาดของสุกรในพื้นที่จังหวัดน่าน มีน้อย อย่างไรก็ดีพบว่าการระบาดของโรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์นั้น ติดโดยการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ เช่นมูลสัตว์และพบว่าสาเหตุการระบาดส่วนใหญ่มาจากการเคลื่อนย้ายสัตว์  วิธีการแก้ปัญหาคือการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อของหมู ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็เพิ่มจำนวนการผลิต ไปพร้อมๆกับการยะระดับมาจรฐานฟาร์ม   ส่วนไก่ และไข่ไก่นั้น  เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่มีความเสี่ยงเรื่องราคาอาหารสัตว์ที่ขณะนี้ประเทศจีนหยุดการผลิต  และราคาขึ้นสัปดาห์ละ 6 บาท เกษตรแบกภาระต้นทุนสูงขึ้น  บางฟาร์มยังคงสู้ต่อ อาจมีขึ้นราคาบ้าง บางฟาร์มประกาศหยุดการผลิต 100 %  แต่หากรัฐบาลสร้างความมั่นคงเรื่องราคาอาหารสัตว์ได้ เกษตรกรก็พร้อมเดินหน้าผลิตเต็มกำลัง

หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงเกษตรมีมาตรการแก้ไขปัญหาสุกรแพง 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระยะสั้น ระยะยาว โดยระยะเร่งด่วน ห้ามส่งออกหมูมีชีวิต 3 เดือน 6 ม.ค.-5 เม.ย. 65 ช่วยเรื่องราคาอาหารสัตว์และยา ตรึงราคา เพื่อให้เกษตรกรได้กลับมาเลี้ยงใหม่ เร่งสำรวจสุกรในภาพรวมเพื่อกำหนดพื้นที่และเพิ่มกำลังการผลิตแม่สุกรทดแทน สำหรับกระทรวงพาณิชย์ มีโครงการพาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชนครั้งที่ 2 จำหน่ายหมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 150 บาท ครั้งที่ 1 6-15 ม.ค.65 ครั้งที่ 2 16-31 ม.ค. 65
6 แห่งๆละ 40 กิโลกรัมจำกัดปริมาณคนละ 1 กิโล /

ร่วมแสดงความคิดเห็น