(มีคลิป) น่านจัดทำแผนเผชิญเหตุหมอกควันและไฟป่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กบูรณาการระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น

น่านจัดทำแผนเผชิญเหตุหมอกควันและไฟป่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กบูรณาการระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ห้ามเผาเด็ดขาด 15 กุมภาพันธ์ – 15 เมษายน 2565  60 วันห้ามเผาเราทำได้

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 เวลา 09.30 น. ที่ ห้องประชุมพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดน่าน ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
นายกฤชเพชร  เพชระบูรณิน  รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานการประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)   โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม   โดยสาเหตุหมอกควันและไฟป่า  ฯ เกิดจากมนุษย์ 100 % ส่วนใหญ่เกิดในป่าพื้นที่สูงชัน ยากต่อการเข้าไปดับไฟ รถเข้าไม่ถึง  ในขณะที่ ระหว่างวันที่ 1-11 มกราคม ที่ผ่านมา มีจุด HOT SPOT  85 ครั้ง เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 35 ครั้ง ป่าสงวน 34 ครั้ง พื้นที่ทำการเกษตร 8 ครั้ง อื่นๆ 8 ครั้ง  ทั้งนี้ในภาพรวมปี 2564 ที่ผ่านมาจำนวน HOT SPOT  ในพื้นที่จังหวัดน่านลดลง แต่หากดูสถิติย้อนหลังไป 3 ปี ค่าเฉลี่ยยังถือว่าสูง

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่านแจ้งว่า เนื่องจากสาเหตุเกิดจากมนุษย์ 100 % ดังนั้นหน่วยงานในพื้นที่จึงเป็นกำลังหลัก ทั้งหมู่บ้าน ชุมชน รวมถึงเทศบาลก็มีความพร้อมสนับสนุนด้านอุปกรณ์ในการดับไฟป่า  ทั้งนี้จังหวัดน่านกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาเด็ดขาด ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 9 15 เมษายน 2565 ตั้งเป้าความร้อนลดลง 20 % เปรียบเทียบสถิติ 3 ปีย้อนหลัง โดยต้องต้ำกว่า 4793 ครั้ง โดยปีนี้ จะกำหนดจะที่ต้องลดแยกรายละเอียดเป็นรายอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน   ในส่วนของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตร มีแนวปฏิบัติสนับสนุนสร้างความชุ่มชื้น ลดไฟป่าหมอกควัน  เช่น ปรับพื้นที่เสี่ยงเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น  เกษตรกรในพื้นที่ สปก. 5 หมื่นคนเป็นผู้ป้องกันและดับไฟป่าในพื้นที่ตัวเอง สร้างฝายชะลอน้ำ เป็นต้น

สำหรับด้านที่ทำปกครองทุกอำเภอ จะเน้นไปที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่น เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ช่วยกันบอกกล่าวให้ลูกบ้านทราบ  ทุกหมู่บ้านจัดชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังไฟป่า มีเวรยามเฝ้าระวังช่วงประกาศห้ามเผาเด็ดขาด กำหนดกติการ่วมกันของชุมชน จัดระเบียบการเผาในพื้นที่การเกษตร จัดทำแนวกันไฟในพื้นที่เกษตรและระหว่างป่ากับหมู่บ้าน
จังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าตามกฎหมาย  คิดเป็นร้อยละ 79 ของพื้นที่จังหวัดน่าน ต้องห้ามเผาเด็ดขาด  สำหรับพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าต้นน้ำ คือเป็นพื้นที่ไหม้ซ้ำซากเป็นป่าเต็งรัง ก็ยังมีมาตรการชิงเผา เพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าหมอกควันล่วงหน้าด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น