(มีคลิป) เริ่มแล้วงานหนึ่งเดียวในโลก! ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า วัดสูงเม่น จ.แพร่ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีแพร่

เมื่อเย็นวันที่ 15 มกราคม 2565 เวลา 17.00 น. ที่วัดสูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ ได้พิธีเปิดงานนมัสการ พระครูปัญญาสารวินิฐ เจ้าอาวาสวัดสูงเม่น ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า วัดสูงเม่น จ.แพร่ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีแพร่ นำโดยพระครูวิบูลสรภัญ รองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น มีนายสมหวัง พ่วงบางโพ ผวจ.แพร่ เป็นประธานเปิดงาน

นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอสูงเม่น ในนามของ ชาวอำเภอสูงเม่น ขอต้อนรับว่า อำเภอสูงเม่น ถือเป็นชุมชนที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่หลากหลาย ทั้งด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งผลิตสินค้าและบริการ ที่มีอัตลักษณ์สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตพื้นบ้านของชุมชนต่างๆ และที่วัดสูงเม่นแห่งนี้ มีคัมภีร์ใบลาน มีสภาพสมบูรณ์และมากที่สุดในโลกเป็นเมืองแห่งธัมม์คัมภีร์โบราณ ที่ถูกเก็บรักษาไว้มากที่สุดในโลก ซึ่งมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่


หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้มีเกียรติ ที่มาร่วมงานในวันนี้ จะได้รับกุศลผลบุญ และความประทับใจ จากกิจกรรมต่างๆ ในงานประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า จังหวัดแพร่ ประจำปี 2565 กระผมในฐานะตัวแทนของคนสูงเม่น มีความยินดีต้อนรับ สิบเอกหญิงกรวรรณ สุมมาตย์ วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ กล่าวรายงานว่างานประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า จังหวัดแพร่ ประจำปี 2565 ภายใต้โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา จังหวัดแพร่ กิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีแพร่ “ตากธัมม์ เมืองคัมภีร์ วิถีคนเมือง” อำเภอสูงเม่น ในครั้งนี้


งานประเพณีตากธัมม์ ฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จากงบพัฒนาจังหวัดแพร่ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเจริญรอยตาม “ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร ปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนาไทย” อดีตเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น และเพื่อฟื้นฟู รักษาประเพณี อนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน แบบโบราณแห่งเดียวในโลก ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการนำอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา ที่โดดเด่นของท้องถิ่นต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรม สู่การพัฒนาให้จังหวัดแพร่ เป็นเมืองท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรม และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย คือเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้นำชุมชน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มเครือข่ายทางด้านวัฒนธรรม ชุมชนคุณธรรมพลังบวรจังหวัดแพร่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สื่อมวลชน ประชาชนในพื้นที่จังหวัดแพร่ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติกิจกรรมที่ดำเนินการ มีดังนี้


(1) มีขบวนแห่ “สืบสานตำนานธัมม์คัมภีร์โบราณ”
(2) การแสดงมินิแสง สี เสียง “ตำนานปอยเสือลาก สู่ปูชนียบุคคล ต๋นบุญครูบามหาเถร ปฐมสังฆบูชาแห่งล้านนาไทย”
(3) การประกวดทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการห่อคัมภีร์ หม้อห้อมทันใจ
(4) นิทรรศการเมืองคัมภีร์ธัมม์โบราณ จังหวัดแพร่สาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดตุงล้านนา การเขียนอักษรธรรมล้านนา การทำยาหม่องใบลานธัมม์ การสาธิตภูมิปัญญาอาหาร ข้าวทิพย์ ข้าวหลาม ข้าวปัน
(5) กิจกรรม “กาดมั่ว ครัวแลง” จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน สินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน


นอกจากนี้ยังมีการไลฟ์สดกิจกรรมไฮไลท์ของแต่ละวัน ผ่านเฟซบุ๊กวัดสูงเม่น และเฟซบุ๊กสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน การจัดกิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหลาย ภาคส่วน อาทิ วัดสูงเม่น มจร.วิทยาเขตแพร่ ททท.สำนักงานแพร่ เทศตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่นและหน่วยงานด้านสาธารณสุข สมควรได้รับการขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้
นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผวจ.แพร่ กล่าวเปิดงานว่า กระผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธาน ในพิธีเปิดงาน“ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า หนึ่งเดียวในโลก”ตามโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา จังหวัดแพร่ กิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีแพร่”ตากธัมม์ เมืองคัมภีร์ วิถีคนเมือง” อำเภอสูงเม่นในวันนี้ “ประเพณีตากธัมม์” เป็นประเพณีโบราณ มีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี/ มีเพียงแห่งเดียวก็คือ ที่วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยครูบากัญจนอรัญญวาสี หรือครูบามหาเถร แห่งวัดสูงเม่น มุ่งหมายเพื่อให้คนได้เข้าถึงหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยผ่านพิธีกรรม มีการจัดเก็บ ดูแล รักษาสภาพคัมภีร์ธรรมและการจัดเก็บรักษาโดยใช้ประเพณีตากธัมม์


ซึ่งถือว่าเป็นกุศโลบายสำคัญ ผลที่ตามมาก็คือทำให้วัดสูงเม่นเป็นวัดที่มีคัมภีร์ใบลาน ที่มีสภาพสมบูรณ์ถูกเก็บรักษาไว้มากที่สุดในโลก “เป็นเมืองแห่งธัมม์ คัมภีร์โบราณอย่างแท้จริง กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีแพร่/ “ตากธัมม์ เมืองคัมภีร์ วิถีคนเมือง” อำเภอสูงเม่น ได้นำอัตลักษณ์ภูมิปัญญา ที่โดดเด่นของท้องถิ่นมาดึงดูดนักท่องเที่ยว นับเป็นการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาจังหวัดแพร่ ซึ่งการจะส่งเสริมและพัฒนาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นจะต้องมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม และกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่/ มีการประชาสัมพันธ์/ มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน/ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง/ ทั้งเป็นการสร้างงาน และสร้างรายได้ / ในระดับชุมชน จังหวัด / กลุ่มจังหวัดและระดับประเทศ/ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น