แพทย์ทหารห่วงใย “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์”

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ส่วนใหญ่ติดต่อโดยการร่วมเพศ บางโรคอาจติดต่อกันโดยการสัมผัสทางเพศ หรือการถ่ายทอดสู่ลูกขณะอยู่ในครรภ์ แบ่งตามลักษณะอาการ ดังนี้


1) แผล ได้แก่ ซิฟิลิส แผลริมอ่อน เริมอวัยวะเพศ
2) ฝี ได้แก่ กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลืองหรือ ฝีมะม่วง
3) หนอง ได้แก่ หนองใน หนองในเทียม
4) อื่นๆ ได้แก่ หูดหงอนไก่ หูดข้าวสุก พยาธิช่องคลอด
5) เชื้อราช่องคลอด โลน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อโรคได้หลายชนิด ได้แก่
1) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รักษาหาย แต่เป็นซ้ำได้ถ้าได้รับเชื้อมาใหม่ ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน
2) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส รักษาหาย แต่เป็นซ้ำแม้ไม่ได้รับเชื้อเพิ่ม ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสเชื้อ ถูไถ่ แม้จะไม่สอดใส่ เช่น โรคเริมอวัยวะเพศ โรคหูดหงอนไก่
3) โรคที่เกิดจากเชื้อรา /โปโตซัว ไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นได้ เช่น โรคเชื้อราช่องคลอด
ความสัมพันธ์ระหว่างโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับเอดส์
– โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ ส่วนใหญ่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ เหมือนกัน
– การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์มีกลวิธีหลักและกลุ่มเป้าหมายเหมือนกัน
– อุบัติการณ์และแนวโน้มของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใช้เป็นดัชนี ชี้วัด ประสิทธิผลของการป้องกันควบคุมโรคเอดส์ได้ดีกว่าการวัดจากแนวโน้มการติดเชื้อเอดส์หรือจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์
– ผู้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ เพิ่มอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี และยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่เสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ป่วยเป็นโรคเอดส์เร็วขึ้น
การปฏิบัติตัวเมื่อป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


– ควรงดร่วมเพศ รวมทั้งการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
– ควรงดดื่มเหล้า-เบียร์ และของมึนเมาทุกชนิด
– ควรพาคู่นอนไปตรวจ และรักษาโดยเร็วที่สุด
– รักษาอวัยวะเพศ และบริเวณใกล้เคียงให้สะอาด แห้งอยู่เสมอ
– ไม่ควรซื้อยารักษาตนเอง ควรตรวจรักษากับแพทย์เท่านั้น เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อยาได้
– ไปรับการตรวจตามนัดทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
– ไม่ควรรีด/บีบอวัยวะเพศเพื่อดูหนอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น
-ให้กลั้นปัสสาวะ อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ก่อนมาตรวจทุกครั้ง
ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 3 และแพทย์ทหาร จึงมีความห่วงใยต่อข้าราชการทหาร ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3 และพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ต่อโรคภัยดังกล่าว ซึ่งหากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการบ่งชี้ หรือสงสัยว่าป่วย ดังอากการตามขั้นต้น ขอให้ได้ไปพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลทหารทั้ง 10 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือ หรือโรงพยาบาล ของกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

ร่วมแสดงความคิดเห็น