จ.เชียงราย ประชุมคณะทํางานศึกษาผลกระทบเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงลาวจีนและรถไฟรางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

วันที่ 7 ก.พ. 65 นายบัญชา เชาวรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการร่วมประชุมคณะทํางานศึกษาผลกระทบเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงลาวจีนและรถไฟรางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ณ ห้องพญาภักดีชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ถ.แม่ฟ้าหลวง ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย

จังหวัดเชียงรายได้มีคำสั่งจังหวัดเชียงรายที่ 504/2565 เรื่องแต่งตั้งประชุมคณะทำงานศึกษาผลกระทบเพื่อเตรียมรองรับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงลาว-จีน และรถไฟรางคู่สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของลงวันที่ 28 ม.ค. เป็นการพัฒนาโครงข่ายและระบบการขนส่งทางรถไฟที่ช่วยลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของประเทศ สนับสนุนการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน สปป. ลาว และประเทศจีนตอนใต้ ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยได้มีการสำรวจเบื้องต้นและปรับปรุงการศึกษาความเหมาะสมทางวิศวกรรมประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจและการเงินเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2546 เป้าหมายเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งในอนาคตเสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคมเสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจเสริมสร้างความมั่นคงความปลอดภัยและสร้างโอกาสสําหรับการแข่งขัน และให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน


มีสถานีรถไฟจำนวน 26 สถานี (13 สถานี 13 ที่หยุดรถ) มีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) จำนวน 1 แห่งที่สถานีเชียงของ และลานบรรทุกสินค้าจำนวน 4 แห่งที่สถานีแพร่ สถานีพะเยา สถานีป่าแดด และสถานีเชียงราย สะพานรถไฟข้ามถนน / คลองแม่น้ำ 380 แห่ง แก้ไขจุดตัดทางรถไฟกับถนนเดิมตามแนวเส้นทางของโครงการแบ่งเป็น 4 รูปแบบ
1. สะพานรถไฟข้ามถนน 380 แห่ง
2. สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 43 แห่ง
3. ทางลอดทางรถไฟ 102 แห่ง
4. ทางบริการขนานทางรถไฟ 43 แห่ง

มีการเวนคืนที่ดินประมาณ 9,661 ไร่ (เขตทางกว้าง 50 ม.) มูลค่าโครงการรวม 85,345 ลบ. ประกอบด้วย
-ค่าจ้าง ทป. สํารวจอสังหาริมทรัพย์ฯ 145 ลบ. -ค่าเวนคืน 10,660 ลบ
-ค่าจ้าง ทป. ควบคุมงาน 1,604 ลบ.
-ค่าก่อสร้าง 72,921 ลบ.
-ค่าจ้าง ทป. จัดการประกวดราคา 15 ลบ. การรถไฟฯ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเริ่มสำรวจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืนที่ดิน ก.ค. 2564 การรถไฟฯ จะเริ่มก่อสร้าง กพ. 65 ใช้เวลาสัญญาละ 72 เดือน โดย จ.แพร่ มีกำหนดแล้วเสร็จประมาณ กพ. 2571 จ.พะเยา แล้วเสร็จประมาณ กพ. 2571 และ จ.เชียงราย แล้วเสร็จประมาณ กพ. 2571

เศรษฐกิจโดยรวม (Regional Economy)

1. ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวเศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจของจังหวัดตามเส้นทางก่อสร้าง

2. ก่อให้เกิดการจ้างงานการซื้อขายวัสดุก่อสร้างการเข้าพักโรงแรม / ที่พักอาศัยการใช้บริการร้านอาหารและการ ซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องถิ่นระหว่างการก่อสร้าง

3. ด้านอุตสาหกรรมการผลิตจะได้รับผลดีจากเส้นทางการขนส่งขาไป (เชียงของ-เด่นชัย) ด้านการกระจายวัตถุดิบการผลิตจากจังหวัดภาคเหนือสู่อุตสาหกรรมผลิตที่มีที่ตั้งอยู่ทาคกลาง 4 ส่วนขากลับ (เด่นชัย-เชียงของ) ผู้ผลิตในภาคกลางจะได้รับประโยชน์จากการขนส่งสินค้าที่ถูก ลงในการเข้าถึงตลาดภาคเหนือและประเทศจีน

ด้านการคมนาคมขนส่ง (Transportation) เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาค เชื่อมต่อการขนส่งภายใต้นโยบายการค้าและการลงทุนของจีน Idu One Belt, One Road policy (OBOR) เชื่อมโยงเมืองหน้าด่านของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor NSEC) เชื่อมต่อเส้นทางบก R3A (ไทย-สปป. ลาว-จีน) และ R3B (ไทย-เมียนมาร์) ช่วยประหยัดพลังงานประหยัดต้นทุนการขนส่ง การลดต้นทุนการขนส่งสินค้าเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม ลดจำนวนรถบรรทุกขนาดใหญ่ลด การน่าเข้าน้ำมันดิบในปริมาณสูง ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน การค้าชายแดน (Border trade) ส่งผลต่อการเติบโตของมูลค่าการค้าชายแดนทําให้เกิดการส่งออกผ่านแดนมากขึ้น (เชียงของ) เชื่อมโยงถึงการเปลี่ยนถ่ายสินค้าลงเรือที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน

ด้านการลงทุน (Direct investment) ช่วยส่งเสริมปัจจัยดึงดูดการลงทุนเนื่องจากรถไฟท่าให้ลดต้นทุนการขนส่งการเจริญเติบโตของความเป็นเมืองอย่างรวดเร็วและกระจายความเจริญไปสู่ชนบทได้ง่ายดึงดูดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการปรึกษาหารือในการให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรถไฟที่จะเข้ามามีส่วนในการดำรงชีวิตของประชาชน ร่วมถึงนักท่องเที่ยวที่จะเขามาในพื้นที่ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น